• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%


26 ธันวาคม 2564

nature

Photo by Sergei A on Unsplash

ผลวิจัยจากทีมนักวิทยาศาสตร์ชิ้นล่าสุดพบว่า การอยู่ใกล้ธรรมชาติหรือสัมผัสแหล่งธรรมชาติท่ามกลางเมืองใหญ่ ช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวได้อย่างมีนัยสำคัญ ความเหงาหรือความโดดเดี่ยวนี้ถือเป็นสิ่งที่น่ากังวลด้านสุขภาพ มันสามารถสร้างความเสี่ยงให้เกิดการเสียชีวิตได้ 45% ความเหงาดังกล่าวสร้างความเสี่ยงให้แก่ชีวิตมากกว่าคนที่ต้องเผชิญอากาศเป็นพิษ หรือผู้ที่ชอบดื่มเหล้าหนักๆ เสียอีก

การศึกษาดังกล่าวได้มีการเอาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่สามารถส่งผลกระทบต่อความเหงามาประเมินเป็นครั้งแรก เป็นการนำข้อมูลแบบเรียลไทม์มาใช้ เก็บข้อมูลผ่านแอปพลิเคชั่นสมาร์ทโฟนมากกว่าจะใช้ความทรงจำของผู้คนว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร งานวิจัยพบว่า ความรู้สึกท่ามกลางผู้คนแออัดยัดเยียด ทำให้คนเหงาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยราว 39% แต่คนที่เห็นต้นไม้ ท้องฟ้าหรือได้ฟังเสียงนกร้องจะช่วยลดความเหงาลง 21%

นักวิจัยระบุว่า หากผู้คนโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีความแออัดเหล่านี้ต้องการลดความเหงา อาจต้องหันมารวมกลุ่มในสังคมมากขึ้นและใกล้ชิดกับธรรมชาติ ช่วยทำให้คลายความโดดเดี่ยวลงบ้าง การใช้เวลากับธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสุขได้ มีการประเมินว่าการเดินป่าช่วยทำให้อังกฤษลดงบต้นทุนในการรักษาสุขภาพจิตได้มากถึง 185 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 8.27 พันล้านบาท ซึ่งพื้นที่ธรรมชาติในเมืองใหญ่นั้นช่วยลดความโดดเดี่ยวของผู้คนและยังทำให้คนรู้สึกผูกพันกับสถานที่และยังเพิ่มโอกาสในการเข้าสังคมมากขึ้นด้วย

ด้าน Michael Smythe ศิลปินผู้ทำงานเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทางสังคมและภูมิทัศน์เมือง เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยที่ศึกษาประเด็นดังกล่าว เขาเล่าว่าคนที่ทำงานกับพื้นที่สาธารณะแบบเขาต่างก็รู้ดีว่า ความรู้ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากพื้นที่มีคุณค่าและพวกเขาก็พบว่าสุขภาพของสิ่งแวดล้อมกับสาธารณสุขเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเรื่องเดียวกัน

งานวิจัยดังกล่าวเผยแพร่ใน the Scientific Reports journal และเก็บข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันที่คนทั่วโลกสามารถโหลดไปใช้งานได้ ชื่อแอป Urban Mind แอปดังกล่าวเปิดมาครั้งแรกจะให้เลือกว่าจะตอบข้อมูลแบบส่วนตัวหรือร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นสาธารณะ ถ้าเป็นแบบส่วนตัวจะต้องมีรหัสในการเข้าไปใช้งานด้วย

จากนั้น แอปดังกล่าวจะวัดประสบการณ์ของผู้ใช้แอปเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ทั้งในเมืองและในชนบท จะให้ตอบคำถามถึงความรู้สึกเกี่ยวสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้งานกำลังอยู่ ณ ที่นั้น ถามคำถาม 3 ครั้งต่อวันในรอบ 2 สัปดาห์ ช่วงเวลาที่ตอบคำถามจะมีทั้งตอนตื่น ตอนเหงา และตอนที่อยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย การใช้แอปดังกล่าวเพื่อสำรวจความรู้สึกผู้คนในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ก็เพื่อช่วยให้มีการออกแบบเมืองให้น่าอยู่ อยู่แล้วผู้คนมีความสุขมากขึ้น

Under Mind

ตัวอย่างคำถามจากแอป Under Mind

ด้าน Christopher Gidlow ศาสตราจารย์ด้านงานวิจัยสุขภาพประยุกต์จากมหาวิทยาลัย Staffordshire แห่งอังกฤษผู้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยชิ้นนี้ พูดถึงงานวิจัยว่า มันมีการยอมรับมานานแล้วว่า การเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติสามารถทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและเกิดความเชื่อมโยงกันได้ งานศึกษาชิ้นนี้จะเป็นหลักฐานชั้นดีในการช่วยเพิ่มน้ำหนักประเด็นดังกล่าวว่าการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาตินั้นส่งผลดีต่อความสุขในสังคม

มีคนตอบคำถามราว 756 คนแบ่งเป็นเพศหญิง 526 คน เพศชาย 225 คน ไม่ระบุเพศ 5 คน อายุระหว่าง 16-80 ปี ส่วนใหญ่อายุราว 33 ปี มีหลายเชื้อชาติอาทิ แอฟริกัน แคริบเบียน เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ ฮิสปานิก ฯลฯประเมินไปแล้ว 16,600 ครั้ง มีทั้งนักเรียน นักศึกษา 30.0% พนักงาน  53.8% นายจ้าง 9.8% คนที่เกษียณแล้ว 2.7% และคนว่างงาน 3.7%

ตัวอย่างผลสำรวจ อาทิ มีความใกล้ชิด สัมผัสธรรมชาติ 77.3% ไม่ใกล้ชิดธรรมชาติ 22.7% อยู่ในที่หนาแน่น 8.4% ไม่อยู่ในที่หนาแน่น 91.6% ตัวอย่างคำถาม เช่น คุณรู้สึกยินดีแค่ไหนเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางผู้คน ตอนนี้คุณเห็นต้นไม้ไหม เป็นต้น ผู้ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตอบคำถามด้วยตัวเอง ผลสรุปของงานวิจัยสรุปว่า การคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติส่งผลดี เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิต ทำให้คนมีความสุขและลดความโดดเดี่ยวได้ดีขึ้น

ที่มา Brand Inside

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
12077

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11467

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10108

การวัดผลกระทบจากสินค้า Product Environmental Footprint (PEF)...

02 กุมภาพันธ์ 2558
6082

แชร์ข่าวสาร

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก... เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11467

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10108

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก...

09 ธันวาคม 2564
2741

ส่องพฤติกรรมคนไทยหลังเปิดประเทศ ฮาคูโฮโด เผยความสุขคนไทยเพิ่มขึ้น 9% จ...

08 ธันวาคม 2564
2225

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th