• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

วิจัยชี้ 10 เทรนด์ ไทยเข้าสู่ “Digital Decade” คนนอกหัวเมืองเริ่มใช้จ่าย คาด “อีคอมเมิร์ซ” ดันเศรษฐกิจดิจิทัลแตะล้านล้านเหรียญ


28 พฤศจิกายน 2564

shutterstock_ecommerce

รายงานต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 6 แล้วสำหรับ e-Conomy SEA Report 2021 ที่จัดทำโดย Google, Temasek และ Bain & Company โดยผลสำรวจในปีนี้เผยให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเข้าสู่ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” หรือ Digital Decade และคาดว่ามูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล ของไทยมีโอกาสแตะ 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 ขณะที่มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐได้ในปี 2030

- Advertisement -ADFEST 2022

 

อย่างไรก็ดี ภายใต้ “ทศวรรษแห่งดิจิทัล” ที่เรากำลังก้าวเท้าเข้าไปนี้ ก็มีอีกหลายความเปลี่ยนแปลงรออยู่เช่นกัน โดยเราขอสรุปมาให้ใน 10 ประเด็น ดังต่อไปนี้

  1. Digital Consumers กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

e-Conomy SEA Report 2021

ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 440 ล้านคน และ 350 ล้านคน หรือประมาณ 80% เป็น “ผู้บริโภค” บนแพลตฟอร์มดิจิทัล กล่าวคือ เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เคยใช้บริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งรายการ

สิ่งที่ทีมวิจัยพบเพิ่มเติมก็คือ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของ Covid-19 มีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ถึง 60 ล้านราย โดยในปี 2020 เพิ่มเข้ามา 40 ล้านราย และในครึ่งปีแรกของปีนี้ เพิ่มเข้ามาอีก 20 ล้านราย

2. อีคอมเมิร์ซ ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

e-Conomy SEA Report 2021

รายงานชิ้นนี้ชี้ด้วยว่า อีคอมเมิร์ซคือแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล และคาดว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในทศวรรษหน้า เห็นได้จากการที่ภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นถึง 68% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีมูลค่าสูงถึง 2.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 และคาดว่าจะแตะ 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025

3. ส่งอาหาร บริการดิจิทัลสุดฮอต

e-Conomy SEA Report 2021

ในส่วนของการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์ e-Conomy พบว่าภาคธุรกิจส่งอาหารออนไลน์มีการเติบโตที่สดใส ส่งผลให้ภาคธุรกิจการขนส่งและบริการส่งอาหารออนไลน์เติบโตขึ้นถึง 37% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าสินค้ารวมอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้พบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในไทยหันมาใช้บริการส่งอาหารออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และเป็นหนึ่งในบริการดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด โดย 76% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยสั่งอาหารออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

4. ท่องเที่ยวออนไลน์ยังไม่ฟื้นตัว

e-Conomy SEA Report 2021

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวออนไลน์ยังไม่ฟื้นตัวในเร็ว ๆ นี้ แต่คาดว่าอาจจะได้เห็นการฟื้นตัวในระยะกลางถึงระยะยาว โดยได้แรงหนุนจากความต้องการที่ถูกอั้นไว้ของผู้บริโภคและความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน 

5. ไทยครองอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย

สำหรับประเทศไทย คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 โดยมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 51% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ไทยยังคงเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย ทั้งนี้คาดว่าในปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะแตะที่ 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 17% ซึ่งสูงขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ก่อนหน้านี้ได้ประมาณตัวเลขไว้ที่ 5.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ)

6. กลุ่ม Non-Metro กำลังเริ่ม “ใช้จ่าย”

e-Conomy SEA Report 2021

e-Conomy SEA Report 2021 ชี้ว่า ประเทศไทยมีผู้บริโภคบนแพลตฟอร์มดิจิทัลรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านคนนับตั้งแต่การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดในปี 2020 ถึงครึ่งแรกของปี 2021 โดยกว่า 67% ของผู้ใช้รายใหม่อาศัยอยู่นอกหัวเมืองหลัก

อัตราการใช้บริการดิจิทัลของประเทศไทยสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาค รองจากฟิลิปปินส์ โดยมีผู้ใช้บริการดิจิทัลสูงถึง 90% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต

Google เผยด้วยว่า ผู้ใช้งานเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะใช้งานต่อไปในอนาคต โดยกว่า 96% ของผู้ใช้งานในช่วงการแพร่ระบาดยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ และ 98% คาดว่าจะใช้งานต่อไปในอนาคต และระดับความพึงพอใจที่มีต่อบริการทุกประเภทอยู่ที่ 87% เลยทีเดียว

7. ยอดใช้สินเชื่อดิจิทัลไทยสูงกว่าเพื่อนบ้าน

e-Conomy SEA Report 2021

สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาในการสำรวจของปีนี้ยังมีอีกหนึ่งข้อ นั่นคือการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ค้าดิจิทัลด้วย โดย e-Conomy SEA Report 2021 เผยว่า กว่า 1 ใน 3 ของผู้ค้าดิจิทัลในประเทศไทยเชื่อว่าธุรกิจของพวกเขาจะไม่สามารถผ่านวิกฤตโรคระบาดไปได้ หากไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล แต่ถึงแม้ว่าผู้ค้าดิจิทัลใช้บริการถึง 2 แพลตฟอร์มโดยเฉลี่ย แต่กำไรของธุรกิจยังเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

นอกจากนั้น ในภาพสไลด์ด้านบนจะเห็นได้ว่า บริการด้านการเงินดิจิทัลกําลังกลายมาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักเพราะ 96% ของผู้ค้าดิจิทัลรับการชำระเงินดิจิทัลแล้ว โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทยคือ การใช้บริการ Digital lending ที่สูงถึง 73% (ขณะที่ในระดับภูมิภาคใช้บริการเพียง 58% เท่านั้น)

8. โลกยูนิคอร์นกำลังเติบโต

e-Conomy SEA Report 2021

นักลงทุนต่างมองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเป้าหมายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนงดงามในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซและบริการด้านการเงินดิจิทัลที่ยังคงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนส่วนใหญ่

การลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลไทยในปี 2021 คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกับปี 2020 บริษัทยูนิคอร์นที่ถือกําเนิดขึ้นแห่งแรกในประเทศไทยในปีนี้ เป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนในบริการดิจิทัลที่เติบโตขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอีคอมเมิร์ซ เทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และเทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech)

9. การเงินดิจิทัลเติบโต

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริการด้านการเงินดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเติบโตที่ดี โดยผู้ค้าและผู้บริโภคหันมาใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีวอลเล็ท (e-wallet) และระบบการชำระเงินแบบ A2A (account-to-account) กันมากขึ้น ทั้งนี้ การชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลคาดว่าจะมีมูลค่าธุรกรรมรวม (Gross Transaction Value: GTV) กว่า 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณการจำนวน 7.07 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 

10. คาดเศรษฐกิจดิจิทัลแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2030

สำหรับหน้าตาของเศรษฐกิจดิจิทัลในวันที่ตลาดมีมูลค่าแตะ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ จะเป็นอย่างไรนั้น อาจพิจารณาได้จากสไลด์ด้านล่าง โดยเราจะเห็นว่า อีคอมเมิร์ซจะกลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของคนในยุค 2030 และเราจะได้เห็นสินค้า Groceries ขึ้นไปให้เราซื้อขายได้บนออนไลน์ตลอด 24/7

e-Conomy SEA Report 2021

สำหรับปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโต ผู้ทำวิจัยเผยว่า มีทั้งในส่วนของผู้บริโภค ผู้ค้า แพลตฟอร์ม และหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงการให้ความสำคัญต่อความยั่งยืน การกำกับดูแลข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ รวมถึงออกแบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการไหลของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความถี่มากขึ้น – มาตรการคุ้มครองผลประโยชน์ของแรงงาน และผู้บริโภคควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม

ส่วนความท้าทายที่อาจทำให้ไปไม่ถึงเป้านั้น ก็คือปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะนั่นเอง ใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยได้ที่นี่

ที่มา Brandbuffet

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
12077

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11468

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10109

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9528

แชร์ข่าวสาร

UN เผยภาพแรกโชว์ไอเดีย กระตุ้นแผนสร้างเมืองลอยน้ำแบบพอเพียง... 5 กลยุทธ์การตลาด ช่วย SME อยู่รอดได้ในยุคดิสรัปต์ (Disrupt)...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11468

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10109

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9528

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก...

09 ธันวาคม 2564
2742

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th