• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ผลสำรวจพบ โควิดทำบริษัทสอดส่องการทำงานของพนักงานมากกว่าเดิม


23 พฤศจิกายน 2564

surveillance

คงไม่มีใครคิดหรอกว่าคอมพิวเตอร์ของบริษัท ที่พนักงานใช้ทำงานอยู่ จะบริสุทธิ์ โปร่งใส ไม่มีการสอดส่องจากเหล่าบรรดาบอสทั้งหลาย แต่อาจจะคาดไม่ถึงว่า เอาเข้าจริงแล้ว มีการสอดส่องจับตาดูพนักงานตลอดเวลา แน่นอนว่า บางคนอาจรู้สึกขยะแขยงกับการกระทำเช่นนี้ แต่สำหรับบางคนกลับรู้สึกธรรมดา ส่องก็ส่องไป ในเมื่อรับผิดชอบงานได้ ก็ไม่น่ามีปัญหา?

ถ้าเชื่อว่ามนุษย์ชั่วร้าย หนทางเดียวที่จะเชื่อใจได้ก็คือ สอดส่อง จับตา

หลังโควิดระบาด บังคับให้คนนับล้านต้องทำงานอยู่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อ ทำให้ผู้คนต้องหันมาทำงานจากบ้านแทน หลายบริษัทจึงใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง จับตา คอยมอนิเตอร์ดูว่าพนักงานทำอะไรบ้าง ทั้งกล้องที่สามารถจับตาดูพนักงานได้ เซ็นเซอร์คอยจับการเคลื่อนไหวของคีย์บอร์ดหรือเมาส์สามารถถูกบันทึกไว้ได้หมด แค่เมาส์กับกล้องคอยจับตายังไม่มากพอ บอสยังสามารถแคปเจอร์ภาพจากหน้าจอพนักงานได้ด้วยว่า พนักงานเบราส์ไปเว็บหน้าไหนบ้าง หรือเปิดดูคลิปวิดีโออะไรก็รู้หมด 

ในอังกฤษเคยมีการเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้เทคโนโลยีของนายจ้างแล้ว และยังมีการเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดว่าสิ่งที่นายจ้างทำกับพนักงานที่ทำงานจากบ้านเช่นนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมายด้วย อย่างไรก็ดี ผลสำรวจพบว่าบริษัทมีการสอดส่องพนักงานมากขึ้นจากเดิมอยู่ที่ 24% เป็น 32% อัตราการเฝ้าจับตาสูงขึ้นเป็น 48% สำหรับผู้คนในวัย 18-34 ปี และยังมีการรับพนักงานให้มาทำด้านเทคโนโลยีมากขึ้นและยังพบว่าคนถูกจับตาจากบ้านผ่านกล้องเพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าตัวจาก 5% เป็น 13% ผลสำรวจจากพนักงานในอังกฤษ 2,424 คน สอบถามโดย Opinium ระหว่าง 19-22 ตุลาคม 2021

surveillance

Photo by Etienne Girardet on Unsplash

Chris พูดถึงเรื่องการแอบส่องพนักงานของเหล่าบรรดาบอสว่า “มันน่าขยะแขยง” “หนึ่งในผู้จัดการของฉันกำลังมอนิเตอร์พนักงานของตัวเองผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของพวกเขา ดูว่าเขาทำอะไร ตลอดเวลา ไม่ใช่แค่เฉพาะเวลางานเท่านั้น ประหลาดมาก” เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ลาออกจากงาน หลังจากพบว่าผู้จัดการกำลังสอดส่องอยู่ เขาบอกว่า productivity เขาไม่ได้ลดลงเลยแม้ต้องทำงานจากบ้าน แต่เมื่อเขารู้ว่ามีการสอดส่อง มอนิเตอร์อยู่ มันทำให้เขากังวล 

ไม่ใช่แค่กรณีของ Chris เท่านั้นที่เคยเจอมา แต่ยังมี Lisa Rene ด้วย บริษัทของเธอติดตั้งซอฟต์แวร์ Keylogger (เป็นตัวดักจับข้อมูลโดยที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่รู้ตัวว่ามีการฝังเครื่องมือดังกล่าว มันสามารถแอบตรวจจับข้อมูลขณะคีย์ข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ได้) Rene ใช้คอมพิวเตอร์เช็คอีเมล์ส่วนตัว เช็คบัญชีเงินฝาก เมื่อเธอพบว่ามีการพยายามสอดส่อง ดักจับข้อมูลของเธอ เธอก็ถูกปลดออกจากการเป็นพนักงานโดยบริษัทอ้างเหตุผลว่ามี performance ต่ำ นี่เป็นอีกตัวอย่างของการสอดส่องการทำงานของบริษัทในอเมริกัน ที่บริษัทสามารถทำได้ถูกกฎหมายด้วย 

ข้อมูลจาก Fortune ระบุว่า มีผลวิจัยเปิดเผยว่า มีการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อจับตา สอดส่องพนักงานเพิ่มขึ้น 50% เมื่อปี  2020 ที่ผ่านมาในช่วงที่มีโควิดระบาดและยังมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่เนื่องจนถึงมีนาคมปี 2021 มีการใช้กล้องและไมค์แบบรีโมตเพื่อสอดส่อง รวมถึงการเคาะแป้นพิมพ์บนคีย์บอร์ดด้วย ส่องได้หมด ทั้งข้อความในอีเมล์ส่วนตัว ทั้งการเบราส์หาข้อมูลในคอมพิวเตอร์ การพิมพ์ข้อความ การดูคลิปวิดีโอ หรือแม้กระทั่งแชทส่วนตัวในแอปพลิเคชันต่างๆ

ที่มา : brandinside

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
12165

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11611

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10200

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9609

แชร์ข่าวสาร

ทำไม Metaverse จะเป็นอีกหนึ่งโอกาส สร้างรายได้แหล่งใหม่ให้ธุ... UN เผยภาพแรกโชว์ไอเดีย กระตุ้นแผนสร้างเมืองลอยน้ำแบบพอเพียง...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11611

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10200

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9609

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก...

09 ธันวาคม 2564
2839

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th