• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ที่ 1 ในอาเซียน! โรคระบาดสร้างโอกาสให้เวียดนาม เศรษฐกิจขยายตัวดีที่สุด 2.9%


22 กุมภาพันธ์ 2564

เศรษฐกิจเวียดนามโดดเด่นเหนือใครอย่างแท้จริงเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือ แม้จะอยู่ในภาวะโรคระบาดโควิด-19 โจมตีอย่างหนักทั่วโลก แต่เวียดนามก็มีศักยภาพดีที่สุดท่ามกลางประเทศเพื่อนบ้านที่มีระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแบบติดลบ

Vietnam เวียดนาม

ปี 2020 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามอยู่ที่ 2.9% เหตุผลหลักที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจในขณะที่ทั่วโลกเศรษฐกิจตกต่ำก็คือความสามารถในการจัดการโควิด-19 ได้ในช่วงที่มีการระบาดตั้งแต่เริ่มต้นที่จีนออกมาประกาศว่ามีการติดเชื้อรายแรก เวียดนามกลับมาทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปในช่วงปลายเดือนเมษายนและมุ่งเป้าฟื้นฟูเศรษฐกิจมากขึ้น 

ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาคการบริการและการผลิตได้รับผลกระทบอย่างหนัก แต่ทั่วโลกก็มีความต้องการสินค้า IT มาก รวมถึงสินค้าที่ตอบโจทย์การอยู่บ้านมากขึ้นเนื่องจากต้องทำงานระยะไกลหรือทำงานจากบ้านเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ภาคการส่งออกของเวียดนามกลับมาสดใสอีกครั้ง นักวิเคราะห์มองว่า เวียดนามสามารถคว้าโอกาสเหล่านี้ได้เพราะสามารถจัดการโควิดระบาดได้ดี 

นอกจากนี้ ผู้นำของเวียดนามยังตั้งเป้าทางเศรษฐกิจที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพยายามขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยับสถานะให้เป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับบนและเปลี่ยนเวียดนามให้เป็นประเทศรายได้ระดับสูงในปี 2045 และทำให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งเวียดนามจำเป็นต้องทำให้วิสาหกิจของรัฐโอนถ่ายเป็นของเอกชนมากขึ้น เพื่อเพิ่มสัดส่วนบริษัทเอกชนในเศรษฐกิจจากเดิม 42% เป็น 50% เป้าหมายหลักก็เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น 

เวียดนาม Vietnam

นักวิเคราะห์มองว่าเวียดนามยังมีศักยภาพที่จะเติบโตและพัฒนาได้อีกมาก ส่วนปัญหาด้านอื่นๆ ของเวียดนาม ก็มีทั้งเรื่องขาดแคลนแรงงานทักษะสูง รวมทั้งประเทศต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นและมีรัฐวิสาหกิจที่น้อยเกินไป นอกจากนั้นก็เป็นประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น มีความขัดแย้งกับจีนในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ที่อาจจะส่งผลกระทบเชิงลบทางเศรษฐกิจได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จทางเศรษฐกิจในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้นโยบายโด่ยโหม่ยปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองตั้งแต่ปี 1987 ตลอดจนการร่วมอยู่ในเขตการค้าเสรีอาเซียนตั้งแต่ปี 1995 

ทำการค้าเสรีกับสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2000 และร่วมอยู่ในองค์การการค้าโลกตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งก็ส่งผลให้การส่งออกของเวียดนามเติบโต รวมถึงการปฏิรูปภายในประเทศ การลดการกำกับควบคุม ลดต้นทุนในการทำธุรกิจ และลงทุนอย่างหนักทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา

เวียดนาม Vietnam

นอกจากนี้ เวียดนามยังลงนามทำความตกลงทางการค้ากับอีกหลายกรอบความร่วมมือ อาทิ สหภาพยุโรป, 11 ประเทศภายใต้ CPTPP, 15 ประเทศภายใต้กรอบ RCEP  อีกทั้งบริษัทต่างประเทศหลายแห่งเริ่มมาหาแหล่งลงทุนที่ถูกกว่าจีน เวียดนามกลายเป็นฮับสำคัญในการผลิตของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังเป็นแหล่งผลิตเสื้อผ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่อีกด้วย โดยในปี 2017 เวียดนามก็กลายเป็นผู้ส่งออกเสื้อผ้ารายใหญ่ที่สุดและเป็นแหล่งผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคด้วย 

ที่มา : brandinside

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
11041

การวัดผลกระทบจากสินค้า Product Environmental Footprint (PEF)...

02 กุมภาพันธ์ 2558
4266

มุมมองต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในยุโรป...

18 มีนาคม 2558
4182

10 ทักษะจำเป็นที่ต้องมีในปี 2025...

23 พฤศจิกายน 2563
4161

แชร์ข่าวสาร

“คลังสินค้าอัจฉริยะ” หัวใจดิจิทัลซัพพลายเชนในอาเซียน... ถอดบทเรียนวิธีคัดเลือกคนทำงานของ CEO ระดับโลก แค่เก่งไม่ได้แ...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

หุ่นยนต์ไม่ใช่ตัวร้าย WEF คาดระบบอัตโนมัติจะสร้างงานให้คนมากถึง 58 ล้า...

01 มีนาคม 2564
6

ถอดบทเรียนวิธีคัดเลือกคนทำงานของ CEO ระดับโลก แค่เก่งไม่ได้แปลว่าทำงาน...

28 กุมภาพันธ์ 2564
85

“คลังสินค้าอัจฉริยะ” หัวใจดิจิทัลซัพพลายเชนในอาเซียน...

21 กุมภาพันธ์ 2564
241

ประชุมออนไลน์อย่างไรให้ได้เนื้องาน ไม่ล่องลอยหายไปกับสายลม...

18 กุมภาพันธ์ 2564
101

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th