• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

E-commerce ไม่ใช่แค่เรื่องของคนรุ่นใหม่ การค้าออนไลน์กำลังบูมในกลุ่มผู้สูงวัยทั่วโลก


21 มกราคม 2564

เมื่อพูดถึง “เศรษฐกิจดิจิทัล” เรามักคิดถึงคนรุ่นใหม่ แต่เรากำลังเข้าใจผิดครั้งใหญ่ เพราะในอนาคตผู้สูงอายุจะกลายเป็นกลุ่มลูกค้าที่มาแรงแซงคนทุกรุ่นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และโควิดก็เร่งกระแสนี้ให้แรงขึ้นไปอีก

ทำความเข้าใจใหม่เรื่องคนสูงวัยในเศรษฐกิจดิจิทัล

ความเข้าใจเดิมที่ต้องรีบทลายอย่างเร่งด่วนคือ “คนสูงวัยกับเทคโนโลยีไม่ได้เป็นของคู่กัน” เพราะปัจจุบันคนสูงวัยเป็นกลุ่มที่มียอดใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์เติบโตขึ้นมากที่สุด 

อย่างในจีน ผู้สูงอายุใช้งานแอพซื้อสินค้าออนไลน์อย่าง Taobao เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ AliResearch หน่วยวิจัยของ Alibaba บอกว่าจากเดือนกรกฎาคม-กันยายน คนอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงสุด โดยซื้อของออนไลน์เป็นประจำต่อเดือนเพิ่มขึ้นเกือบ 30%

ส่วนในอเมริกา จากการสำรวจของ Mintel บริษัทวิจัยด้านการตลาด คนสูงวัยเริ่มเข้าสู่วงการซื้อของออนไลน์หลังโควิด-19 เริ่มระบาดกว่า 40.3% แซงคนกลุ่มอื่นไปมาก  

ที่ต้องเข้าใจอีกอย่างคือ คนสูงวัยมีพฤติกรรมการบริโภคที่น่าตื่นตาตื่นใจ จากข้อมูลของ AliResearch คนอายุ 60 ขึ้นไปจะชอบช็อปปิ้งเพื่อความสุขสำราญ เช่น ซื้อสินค้าสำหรับหลาน สินค้าเสริมความงาม สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน และสินค้าเพื่อความบันเทิง พวกเขาไม่ได้มีนิสัยอดออมแบบที่เราเข้าใจ

ตลาดที่น่าสนใจในอนาคตสำหรับผู้สูงอายุจึงไม่ได้อยู่ในหมวดการแพทย์เท่านั้น

elderly old aging

สังคมสูงวัยและโควิด-19 ผลักให้คนสูงอายุเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์

แนวโน้มเรื่องสังคมสูงวัย ทำให้ผู้สูงอายุเป็นอนาคตของการค้าออนไลน์ เพราะในอนาคตผู้สูงวัยจะมีสัดส่วนมากขึ้นเรื่องของการเกิดที่น้อยลงและอายุขัยที่เพิ่มขึ้นทำให้มีประชากรสูงวัยเติบโตในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ในจีน สัดส่วนคนสูงวัยเพิ่มขึ้นจากปี 2000 เกิน 70% ส่วนส่วนในประเทศอื่นๆ ก็มีแนวโน้มแบบเดียวกัน 

ความสะดวกสบายของการซื้อของออนไลน์ เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ในอนาคต เพราะเมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาวที่แข็งแรงดี คนสูงวัยมีความเสี่ยงในการเดินทางไปไหนมาไหนมากกว่า การซื้อสินค้าออนไลน์จึงเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกว่าการช็อปปิ้งปกติ

แม้ในช่วงปกติ ผู้สูงวัยจะไม่นิยมการซื้อของออนไลน์ แต่โควิด-19 ก็เป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้ผู้สูงอายุย้ายมาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น เพราะโรคดังกล่าวอันตรายต่อผู้สูงวัยมากกว่าคนหนุ่มสาว และมีแนวโน้มว่าพฤติกรรมแบบใหม่ของผู้สูงวัยจะอยู่อย่างถาวรเพราะพวกเขารู้แล้วว่าการช็อปปิ้งออนไลน์ดีต่อพวกเขามากกว่า และคนในครอบครัวก็สนับสนุนเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัย

โอกาสเป็นของคนที่รู้ว่าผู้สูงวัยเป็นคนกลุ่มใหญ่ในตลาดออนไลน์

โอกาสในเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคตจะเป็นของคนที่ปรับตัวทันว่าผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่ต้องจับตามอง เพราะมีจำนวนมาก มีการบริโภคหวือวา และมีกำลังซื้อสูง 

ตัวอย่างการปรับตัวหาคนสูงวัยของผู้เล่นในตลาดออนไลน์ เช่น Alibaba ที่มีการสร้าง Family Account ให้ผู้สูงวัยสามารถผูกบัญชีกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว เพื่อให้คนสูงวัยเข้าถึงแพลตฟอร์มได้มากขึ้น

ส่วนทางด้าน Amazon ก็ส่ง “Amazon Senior” เข้ามาแข่งขัน เป็นการบอกกลายๆ ว่า ตลาดนี้มีความเป็นไปได้อยู่พอสมควร โดยเว็บไซต์นี้จะให้ความสำคัญกับสินค้าสุขภาพ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม การออกกำลังกาย รวมไปถึงสินค้าเพื่อความบันเทิง และยังมีระบบ Subscription สินค้าสำหรับสินค้าใช้แล้วทิ้งอย่างกระดาษชำระและผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อผู้สูงวัยจะได้ไม่ต้องสั่งสินค้าหลายครั้ง

ที่มา : brandinside

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
11048

การวัดผลกระทบจากสินค้า Product Environmental Footprint (PEF)...

02 กุมภาพันธ์ 2558
4282

10 ทักษะจำเป็นที่ต้องมีในปี 2025...

23 พฤศจิกายน 2563
4207

มุมมองต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในยุโรป...

18 มีนาคม 2558
4190

แชร์ข่าวสาร

ส่อง 19 สายงานต้อง “อัพสกิล” ข้ามสาย หากอยากไปต่อและเติบโตใน... PwC เผย ช่วงครึ่งหลังปี 63 ธุรกิจปรับตัว ดีล M&A เพิ่มขึ้น 1...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เปิด 10 เทคนิคติดสปีดความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงาน...

07 มีนาคม 2564
96

พิษ Covid-19 ทำ “ราคาอาหารโลก” ปรับตัวสูงขึ้นครั้งประวัติศาสตร์...

04 มีนาคม 2564
179

หุ่นยนต์ไม่ใช่ตัวร้าย WEF คาดระบบอัตโนมัติจะสร้างงานให้คนมากถึง 58 ล้า...

01 มีนาคม 2564
329

ถอดบทเรียนวิธีคัดเลือกคนทำงานของ CEO ระดับโลก แค่เก่งไม่ได้แปลว่าทำงาน...

28 กุมภาพันธ์ 2564
395

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th