• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ตกลงต้องโหลดไหม ? ไขข้อข้องใจ ‘หมอชนะ’ แอปนี้จะพาเราชนะ COVID-19 ได้หรือเปล่า


07 มกราคม 2564

ทุกคนคงคุ้นหูและชินกับ ไทยชนะ มาพักใหญ่แล้ว เพราะไม่ว่าจะไปห้าง ร้าน ตลาด หรือเข้าตึกอาคารที่ไหน เป็นต้องให้สแกน QR Code ไทยชนะ เพื่อเข้า – ออก ทุกครั้งที่เข้าใช้พื้นที่ แต่ในช่วงที่เราเริ่มชินกับการยกมือถือ เปิดกล้อง รอสแกนไทยชนะ กลับมี ‘หมอชนะ’ ขึ้นมาให้คุ้นหูอีกชื่อ โดยเฉพาะการแนะนำจาก ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ที่แจ้งให้ประชาชนทุกคนดาวน์โหลดแอปหมอชนะเอาไว้ เพราะหากเกิดติด COVID-19 แล้วไม่มีแอปนี้อยู่ในมือถือ อาจมีความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 17 และถึงกับมีบทลงโทษด้วย!

ถ้าคุณสงสัยว่าตกลงต้องสแกนไทยชนะ หรือโหลดแอปหมอชนะ แบบไหนถึงจะเอาชนะ COVID-19 ได้ ก็อยากชวนให้ลองทำความรู้จัก หมอชนะ จากข้อมูลด้านล่างเพื่อประกอบการตัดสินใจ…

 

เคลียร์คำถามแรก หมอชนะ คืออะไร…?

ตามข้อมูลของ DGA (สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ สพร.) อธิบายไว้ว่า หมอชนะเป็นแอปพลิเคชันที่บันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้ด้วยเทคโนโลยี GPS และ Bluetooth ร่วมกับการสแกน QR Code ไทยชนะ ที่เช็คอินตามสถานที่ต่าง ๆ  เพื่อทำให้บันทึกการเดินทางของผู้ใช้แม่นยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ใช่แค่ช่วยบันทึกการเดินทางของพวกเรา แอปนี้ยังเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กรมควบคุมโรคและบุคลากรทางการแพทย์สามารถสอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็วด้วย

แอปหมอชนะ

ใครเป็นผู้พัฒนา – เก็บข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ?

หมอชนะ ได้ชื่อว่าเป็นผลงานของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ โดยกรมควบคุมโรคทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และ DGA เป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษา เครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรธุรกิจอีกมาก

ส่วนประเด็นจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ทางแอปฯ ระบุว่า “เป็นไปเท่าที่จำเป็น” ตามความเกี่ยวข้องและวัตถุประสงค์ ที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับวิธีการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง โดยจะเชื่อมโยงไปยังมือถือและบันทึกการเดินทางของผู้ใช้เพื่อส่งแจ้งเตือนและคำแนะนำไปยังแอปฯ กรณีมีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย COVID-19 การขอสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของแอปหมอชนะจึงไม่ถามชื่อ ไม่ถามเบอร์โทร หรือเลขประจำตัวประชาชน แต่มีแค่คำขอเข้าถึง “ตำแหน่งของคุณ” ที่จับจาก GPS, “การเคลื่อนที่แบบ Motion” และ “ใช้ Bluetooth” เพื่อสแกนคนรอบตัวและแจ้งเตือนเมื่อคุณอยู่ใกล้คนที่มีความเสี่ยง

แตกต่างกับ ไทยชนะ ที่ใช้เบอร์มือถือเพื่อลงทะเบียน และใช้วิธีสแกน QR Code ด้วยตนเองเพื่อบันทึกว่าเราไปสถานที่ใดมาบ้าง

 

หมอชนะ ใช้งานอย่างไร ?

อย่างที่บอกว่า หมอชนะ จะคอยส่งบันทึกการเดินทางโดยอัตโนมัติด้วยการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งาน เมื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ พร้อมกับส่งแจ้งเตือนเมื่อผู้ใช้ไปยังสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดกับผู้ที่มีความเสี่ยง

 

หลังจากดูวิดีโอจบ ลองโหลดแอปหมอชนะมาใช้ พบว่า…

– ดาวน์โหลดฟรี มีทั้ง iOS และ Android

– ลงทะเบียนง่าย แค่อ่านและกดไปตามที่แอปแนะนำเรื่อย ๆ

– เลือกภาษาได้ มีเวอร์ชันไทย และอังกฤษ

– มีขั้นตอนให้ประเมินอาการ เพื่อตรวจสอบระดับความเสี่ยงของคุณ

– ระดับความเสี่ยงแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ต่ำมาก (สีเขียว), ต่ำ (สีเหลือง), ปานกลาง (สีส้ม) และ สูงมาก (สีแดง)

– เมื่อทำการประเมินความเสี่ยงเสร็จแล้ว แอปจะทำ QR Code ประจำตัวให้คุณเพื่อเอาไว้ให้คนอื่นสแกนเช็คความเสี่ยงได้ง่าย ๆ

– สรุปฟีเจอร์หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ “ข้อมูล” ของผู้ใช้งานที่จะอยู่ในรูปแบบ QR Code แจ้งระดับความเสี่ยง, “สแกน QR” เพื่อให้เราได้เช็คความเสี่ยงของผู้อื่นที่มี QR Code ระดับความเสี่ยงเช่นกัน และ “ตั้งค่า” ให้สามารถเปิด – ปิด Bluetooth เพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงสูงซึ่งอยู่ใกล้ ๆ และแจ้งเตือนคุณ ทั้งยังให้ทำแบบประเมินตนเองได้อีกครั้ง หรือเลือกเปลี่ยนภาษา

 

ใช้ ‘ไทยชนะ’ หรือ ‘หมอชนะ’ ดีกว่า ?

บอกเลยว่าคำตอบ คือ “ควรใช้ทั้ง 2 รูปแบบ” เพราะชัดเจนแล้วว่า ไทยชนะ จะทำให้ตรวจสอบได้ว่าเราเข้าใช้หรือกลับออกจากห้าง ร้าน แห่งไหน ช่วงเวลาใด ง่ายต่อการแจ้งและติดตามผู้ที่มีความเสี่ยงซึ่งอยู่ในสถานที่และช่วงเวลาเดียวกัน ส่วน หมอชนะ จะเป็นตัวช่วยบันทึกการเดินทางที่เห็นตำแหน่งได้แม่นยำ


ดาวน์โหลดแอป “หมอชนะ”


iOS https://apple.co/3mTo6en

Android https://bit.ly/3mWguaS

HUAWEI AppGallery https://bit.ly/2WQ9HFa

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
11011

การวัดผลกระทบจากสินค้า Product Environmental Footprint (PEF)...

02 กุมภาพันธ์ 2558
4223

มุมมองต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในยุโรป...

18 มีนาคม 2558
4140

รู้จักเทคโนโลยี “สวนแนวตั้ง” ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปิด แก้ปัญหาเผ...

15 พฤศจิกายน 2563
3733

แชร์ข่าวสาร

รู้จัก "วัคซีนโควิด-19" ที่ผ่านการทดลอง 3 กลุ่ม เหมือนหรือแต... 3 เทคนิคซื้อสินค้ารักษ์โลก: จะช่วยโลกทั้งที ต้องคิดให้ดี มอง...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

ภัยพิบัติทางธรรมชาติคร่าชีวิตพลเมืองโลกไปเกือบครึ่งล้านราย ในช่วง 20 ป...

27 มกราคม 2564
31

UNESCO เผยผลกระทบโควิด-19 ทำทั่วโลกสูญเสียปีการศึกษาไปเฉลี่ย 2 ใน 3...

26 มกราคม 2564
83

ส่อง 100 เทรนด์ยอดฮิต ที่จะกำหนดอนาคตของปี 2021...

26 มกราคม 2564
91

จีนโค่นอเมริกา ขึ้นแท่นประเทศที่มีเงินลงทุนจากต่างชาติสูงที่สุดในโลกปร...

25 มกราคม 2564
114

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th