• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เรารู้อะไรแล้วบ้างเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer และ Moderna


17 พฤศจิกายน 2563

หลังผ่านไปเกือบ 7 เดือนนับจากวันที่รัฐบาลสหรัฐฯ อนุมัติโปรแกรม Operation Warp Speed เพื่อเร่งรัดการวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ กองทัพ และบริษัทยา-เทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำ ในที่สุดเราก็ได้แคนดิเดตวัคซีนจากสองบริษัทที่ได้ผลการทดลองทางคลินิกเบื้องต้น (เฟสที่ 3) เป็นที่น่าพอใจ โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสูงกว่า 90% (และหลังจากนี้อาจมีวัคซีนของบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ในระหว่างพัฒนาและทดลองตามมาอีก)

 

และนี่คือสิ่งที่เรารู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัคซีนของ Pfizer และ Moderna

 

ประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer

วัคซีน BNT162b2 ของ Pfizer เป็นวัคซีนที่พัฒนาร่วมกับ BioNTech บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพชั้นนำของเยอรมนี พวกเขาได้ประกาศผลการศึกษาเบื้องต้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน หลังมีการทดลองวัคซีนทางคลินิกในกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 44,000 คน

 

โดยอาสาสมัครกลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งได้รับยาหลอก ซึ่งหลังตรวจวิเคราะห์ผู้ที่แสดงอาการป่วยจากโควิด-19 จำนวน 94 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นคนที่อยู่กลุ่มได้รับยาหลอก และได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพสูงถึง 90%

 

ข้อมูลพบว่าผู้เข้าร่วมทดลองจะได้รับการป้องกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนโดสที่ 2 โดยวัคซีน 2 โดสฉีดให้ห่างกัน 21 วัน ซึ่งหลังจากนี้ Pfizer และ BioNTech จะทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนขั้นสุดท้ายกับผู้เข้าร่วมการทดลองจำนวน 164 คนที่มีอาการป่วย

 

ประสิทธิภาพของวัคซีน Moderna 

สำหรับวัคซีน mRNA-1273 ของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Moderna ในแมสซาชูเซตส์นั้น เป็นการพัฒนาร่วมกับสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ และเพิ่งประกาศผลการศึกษาเบื้องต้นภายหลังการทดลองวัคซีนในคนเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน โดยพบว่ามีประสิทธิในการป้องกันไวรัสสูงถึง 94.5%

 

การทดลองเฟสที่ 3 นี้มีอาสาสมัครเข้าร่วม 30,000 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งได้รับวัคซีน 2 โดส ห่างกัน 4 สัปดาห์ และอีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก โดยทีมสังเกตการณ์อิสระได้ตรวจวิเคราะห์กลุ่มผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการป่วยกลุ่มแรกจำนวน 95 ราย และพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพียง 5 รายที่อยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนจริง ขณะที่ 90 รายที่เหลือล้วนอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาหลอก

 

นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อ 11 รายที่พบว่ามีอาการป่วยรุนแรงนั้นล้วนอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาหลอกด้วย

 

สำหรับการวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายนั้น ทางบริษัทจะศึกษาจากอาสาสมัครจำนวน 151 คน ซึ่งยังต้องรอผลยืนยันอัตราการป้องกันไวรัสต่อไป ส่วนระยะเวลาในการป้องกันนั้นยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

 

วัคซีนทั้งคู่มีผลข้างเคียงหรือไม่

มีรายงานผลข้างเคียงเล็กน้อยหรือปานกลางจากการฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่จะรู้สึกเจ็บในจุดที่ฉีดวัคซีน มีอาการเมื่อยล้าและปวดกล้ามเนื้อเป็นเวลา 1-2 วัน (ณ วันที่ 17 พฤศจิกายน ยังไม่มีรายงานความน่ากังวลเกี่ยวกับอันตรายหรือความปลอดภัยของวัคซีนแต่อย่างใด)

 

สิ่งที่ทำให้วัคซีนของ Pfizer และ Moderna ต่างจากวัคซีนของบริษัทอื่น

นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากโฟกัสกับสิ่งที่เรียกว่า ‘หนามโปรตีน’ (Spike Protein) ที่พบบนผิวไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ไวรัสยึดจับกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์จนเกิดการติดเชื้อได้ 

 

วัคซีนสองตัวนี้พัฒนาขึ้นโดยนำสารพันธุกรรมของไวรัสมาเปลี่ยนเซลล์ในร่างกายคนให้กลายเป็นแหล่งผลิตผิวโปรตีน ซึ่งผิวโปรตีนที่สร้างจากร่างกายมนุษย์นั้นไม่เป็นอันตราย เพราะไม่มีเชื้อไวรัสหลงเหลืออยู่ เมื่อร่างกายมนุษย์เจอกับผิวโปรตีนของไวรัสจะมีการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรืออธิบายง่ายๆ ก็คือเป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดี้ต่อสู้กับไวรัสนั่นเอง 

 

จะได้วัคซีนเมื่อไร

ในประเทศอื่นๆ อาจต้องรอไปก่อน ส่วนที่สหรัฐฯ นั้น ก่อนที่บริษัทต่างๆ จะยื่นขอใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยา (FDA) เพื่อแจกจ่ายวัคซีนได้จะต้องผ่านอุปสรรคหลายด่าน โดยมีข้อกำหนดว่าต้องติดตามผลผู้เข้าร่วมทดลองจำนวนครึ่งหนึ่งหลังฉีดวัคซีนโดสที่ 2 เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อพิสูจน์ยืนยันว่าวัคซีนปลอดภัย เพราะหากมีใครมีปฏิกิริยาต่อวัคซีนอย่างรุนแรงก็อาจจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับวัคซีนภายใน 6 สัปดาห์ ซึ่งสำหรับ Pfizer นั้นจะผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยนี้ในสัปดาห์นี้ ส่วน Moderna อาจใช้เวลานานขึ้น

 

ด่านสุดท้ายก็คือการผลิตวัคซีน ซึ่งทั้งสองบริษัทต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาสามารถผลิตวัคซีนในปริมาณมากอย่างปลอดภัย โดย Pfizer ระบุว่าบริษัทจะให้ข้อมูลกับทาง FDA ก่อนสุดสัปดาห์นี้ แต่สำหรับ Moderna นั้นยังไม่มีข้อมูลว่าจะเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้เมื่อใด

 

ท้ายที่สุด FDA จะใช้เวลาในการตรวจสอบการยื่นขออนุมัติของวัคซีนแต่ละบริษัท ซึ่งยังไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าขั้นตอนนี้จะใช้เวลานานเท่าไร อย่างไรก็ตาม คาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจอนุมัติให้ใช้งานฉุกเฉินสำหรับวัคซีนของ Pfizer และ BioNTech ได้อย่างเร็วที่สุดก่อนสิ้นปีนี้

 

ขณะที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเริ่มแจกจ่ายวัคซีนหลังจากที่ FDA อนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง โดยคาดว่าคนกลุ่มแรกที่จะได้รับวัคซีนคือบุคลากรการแพทย์ในพื้นที่แนวหน้า

 

ส่วนวัคซีนของ Moderna นั้น ทางบริษัทประกาศเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 20 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ จากนั้นจะผลิตเพิ่มอีก 500-1,000 ล้านโดสในปีหน้า ขณะที่ Pfizer ระบุว่าบริษัทจะผลิตวัคซีนได้มากถึง 50 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ และอีก 1,300 ล้านโดสในปีหน้า

 

สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่าวัคซีนจะพร้อมใช้ในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงปี 2021

 

ที่มา THE STANDARD

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
12243

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11840

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10363

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9750

แชร์ข่าวสาร

สิงคโปร์เตรียมดึงคนเก่งสายไอทีเข้าประเทศ คัดคุณสมบัติเทพระดั... GDP ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 21.4% มากที่สุดในรอบ 40 ปี หลังทรุดหนัก...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11840

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10363

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9750

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก...

09 ธันวาคม 2564
2938

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th