• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

มลพิษทางอากาศทำให้กระดูกมนุษย์อ่อนแอลง


12 มกราคม 2563

กระดูก

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ว่า มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพหัวใจ, ปอด, ดวงตา, ทารกในครรภ์ หรือแม้แต่สุขภาพจิต ล่าสุดยังพบว่าสามารถทำให้กระดูกเสื่อมจนเปราะหักง่ายก่อนวัยได้อีกด้วย

ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดยสถาบันเพื่อสุขภาพโลกแห่งบาร์เซโลนา (ISGlobal) ของสเปน ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดลงในวารสารการแพทย์ JAMA Network Open โดยระบุว่าประชากรวัยผู้ใหญ่ตอนต้นของเมืองที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับสูง มีแนวโน้มที่สัดส่วนแร่ธาตุในกระดูกจะลดน้อยถอยลงกว่าปกติ

มีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของฝุ่น PM2.5 จากสถานที่ 23 แห่งโดยรอบเมืองไฮเดอราบัดของอินเดีย กับความหนาแน่นของแร่ธาตุในมวลกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังของชาวอินเดีย 3,700 คน ที่อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว ซึ่งคนเหล่านี้มีอายุโดยเฉลี่ย 35.7 ปี

  • มลพิษทางอากาศทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง-อาชญากรรมพุ่งสูง
  • ผลวิจัยเผย มลพิษอากาศทำให้เสี่ยงแท้งพอ ๆ กับสูบบุหรี่
  • ผลวิจัยเผยอยู่ใกล้ถนนจราจรคับคั่งเสี่ยงสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น

ผลปรากฏว่าพื้นที่ที่ทำการศึกษามีค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ในอากาศตลอดทั้งปีที่ 32.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยที่องค์การอนามัยกำหนดไว้ถึง 3 เท่า

ทีมผู้วิจัยพบว่า เมื่อฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้นทุก 3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของประชากรทั้งหญิงและชายจะลดลง 0.011 กรัมต่อตารางเซนติเมตรในกระดูกสันหลัง และลดลง 0.004 กรัมต่อตารางเซนติเมตรสำหรับกระดูกสะโพก ทั้งยังพบว่า ผงฝุ่นเขม่าดำ (Black Carbon) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฝุ่น PM2.5 มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับมวลกระดูกที่ลดลงด้วย

แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่มลภาวะทางอากาศทำให้สุขภาพของกระดูกอ่อนแอลง แต่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการอักเสบภายในร่างกาย และภาวะไม่สมดุลระหว่างอนุมูลอิสระกับสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากฝุ่น PM2.5 อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะกระดูกเสื่อมและโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้

หมอกควัน Image copyright Reuters

คำบรรยายภาพ มลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานครเข้าขั้นวิกฤตหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้เคยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่เผยแพร่เมื่อปี 2017 ชี้ว่ามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 ในเมืองบอสตันของสหรัฐฯ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนถึงกว่า 86,000 รายต่อปี

ทีมวิจัยชุดดังกล่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า คนหนุ่มสาววัย 20-30 ปี ซึ่งอยู่ในช่วงที่มวลกระดูกสะสมตัวจนมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งสูงสุดในชีวิต อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจนสะสมมวลกระดูกได้น้อยลง และมีความเสี่ยงจะเป็นโรคกระดูกพรุนสูงกว่าเดิมเมื่อมีอายุมากขึ้น

ที่มา - บีบีซี

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
11000

การวัดผลกระทบจากสินค้า Product Environmental Footprint (PEF)...

02 กุมภาพันธ์ 2558
4215

มุมมองต่อบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในยุโรป...

18 มีนาคม 2558
4131

รู้จักเทคโนโลยี “สวนแนวตั้ง” ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ปิด แก้ปัญหาเผ...

15 พฤศจิกายน 2563
3652

แชร์ข่าวสาร

นักวิจัย Google Health พัฒนา AI ที่สามารถวินิจฉัยโรคมะเร็งเต... ความสำเร็จของโมเดล “ประเทศนอร์ดิก” การค้าเสรี ความรักชาติ แล...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

3 เทคนิคซื้อสินค้ารักษ์โลก: จะช่วยโลกทั้งที ต้องคิดให้ดี มองให้ไกลกว่า...

12 มกราคม 2564
257

ตกลงต้องโหลดไหม ? ไขข้อข้องใจ ‘หมอชนะ’ แอปนี้จะพาเราชนะ COVID-19 ได้หร...

07 มกราคม 2564
445

รู้จัก "วัคซีนโควิด-19" ที่ผ่านการทดลอง 3 กลุ่ม เหมือนหรือแตกต่างกันอย...

06 มกราคม 2564
175

4 เทคนิคเพิ่ม Productivity สร้างสภาพแวดล้อมดีๆ พร้อมทำงานที่บ้านฉบับ M...

05 มกราคม 2564
577

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th