• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

รายงานพิเศษ GCNT ธุรกิจกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนประเด็นร้อนปี 2020


30 ธันวาคม 2562

  • เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยประกาศ ” แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Right: NAP) ระยะที่ 1 (พ.ศ.2562 – 2565) ซึ่งถือเป็นแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วย ‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’ ฉบับแรกในเอเซีย ที่มุ่งแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลจากการประกอบธุรกิจ
  • ในระดับโลกไม่เฉพาะอุตสาหกรรมประมง เท่านั้นที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทว่าในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังเผชิญแรงกดดันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกระแสเรียกร้องจากผู้บริโภคที่รุนแรงขึ้น พร้อมๆไปกับแรงกดดันที่เกิดจากนักลงทุนทั่วโลกต่อประเด็น  Non- Financial Performance Indicator
  • รายงานพิเศษ  “ธุรกิจกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน” (Business & Human Right Impact) โดย สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) พาไปสำรวจสถานการณ์   “ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” ทั่วโลกและคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจไทย

เมื่อไม่นานมานี้ World Economic Forum  ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ “ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” โดยบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม World Economic Forum  ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งตั้งคำถามชวนคิดว่า “ทำไมบริษัทที่ไม่ได้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแข็งแกร่งจึงมีความเสี่ยง” บทความดังกล่าวที่เป็นส่วนหนึ่งของการประชุม World Economic Forum ระบุว่า ปัจจุบันแรงกดดันด้านสิทธิมนุษยชนในโลกเป็นความเสี่ยงของธุรกิจ โดยพบว่า นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา มีการบันทึกถึงการโจมตีประชาชนและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจำนวนเกือบ 1,400 ครั้ง

ทำไมเรื่องสิทธิมนุษยชนจึงสำคัญสำหรับธุรกิจในเวลานี้

ในรายงานการศึกษาดัชนีสถานการณ์ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในระดับโลก: กรณีศึกษาสถานการณ์ห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารของ Corporate Human Rights Benchmark (CHRB) ปี 2018   ยังระบุด้วยว่า คะแนนโดยภาพรวมของ 100 บริษัทที่ดีที่สุดของโลกอยู่ที่ 25.5% จาก 100% สะท้อนว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชน

โดยธุรกิจที่มีความอ่อนไหวในการละเมิดสิทธิมนุษยชนในธุรกิจในโลก ได้แก่ โกโก้ น้ำมันปาล์ม กาแฟ น้ำตาล กุ้ง จากผลสำรวจในปี 2018 พบว่า มีแรงงาน 1.3 พันล้านคนที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้พร้อมกันนี้ยังพบว่า มีแรงงานบังคับอย่างผิดกฎหมายสามารถสร้างรายได้ให้อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกจำนวน 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ 5% ของแรงงานในฟาร์มสหรัฐอเมริกายังมีการค้ามนุษย์

“ในโลกสมัยใหม่ ประเด็นสิทธิมนุษยชน และความคาดหวังต่อธุรกิจในเรื่องนี้แตกต่างออกไป” นางสาวสฤณี อาชวานันกุล กรรมการผู้จัดการด้านวิจัย บริษัท ป่าสาละ จำกัด ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ จากสายตานักวิชาการอิสระผู้ติดตามประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการงานวิจัยเรื่อง “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน” โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

นางสาวสฤณี อธิบายเพิ่มเติมว่า ในระดับสากลความคาดหวังต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ปรากฏชัดเจนเป็นครั้งแรกใน “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” (UN Guidine Principles on Business and Human Rights) หรือ “หลักการชี้แนะ UNGP” ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2554 โดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) เป็นผลมาจากแรงกดดันต่างๆ ต่อภาคเอกชนที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมายซึ่งเริ่มจากบริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายประเภทหลายระดับ  ขณะที่ในเวลานั้นกลไกนานาชาติที่มีอยู่ในเวลานั้นไม่เพียงพอต่อการจัดการการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนสำคัญ 2 ประการในการมอง “สิทธิมนุษยชน” ภายใต้หลักการชี้แนะ UNGP ได้แก่ ประการแรก ความคาดหวังให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นมากกว่าการทำตามกฎหมาย โดยต้องครอบคลุมประเด็นเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนและการเยียวยาเมื่อถูกละเมิดสิทธิ จากเดิมที่ธุรกิจส่วนใหญ่อาจจะมองว่าสิทธิมนุษยชนจะถูกครอบคลุมจากการทำตามกฎหมาย ประการที่ 2 ความคาดหวังให้ธุรกิจรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งหมดมากกว่าการแค่รับผิดชอบเฉพาะองค์กร และซัพพลายเออร์ที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น

“ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด และห่วงโซ่อุปทานในโลกสมัยใหม่ ต้องยอมรับว่า กระแสที่เคยเกิดขึ้นในโลกเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายครั้งมันเกิดในกระบวนการผลิต มันเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะเวลาต้นน้ำที่อยู่ไกลตัวมากๆจากธุรกิจที่อยู่ปลายน้ำที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยความซับซ้อนของเทคโนโลยีและลอจิสติกส์ ทำให้บางทีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น คนละประเทศ เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาที่รัฐบาลอาจไม่ได้มีกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่ข้างหลัง”

แรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

ดร. เนติธร ประดิษฐ์สาร รองเลขาธิการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) บรรยายบทเรียน Seafood Task Force ในเวทีสหประชาชาติ

ดร.เนติธร ประดิษฐสาร กรรมการและรองเลขาธิการ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand : GCNT) กล่าวว่า แนวโน้มการเรียกร้องให้ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นแรงกดดันที่มาจากทุกๆด้านโดยเฉพาะผู้บริโภค ซึ่งในวันนี้ถ้าขนม เสื้อผ้า สินค้าใดก็ตามที่มาจากการใช้แรงงานเด็ก ผู้บริโภคจะไม่ซื้อ ขณะเดียวกันแรงกดดันจากผู้ลงทุน ต่อประเด็นที่เป็น Non- Financial Performance Indicator หรือ Social Performance Indicator  ก็มีมากขึ้นด้วย ซึ่งประเด็นสิทธิมนุษยชน เป็นหนึ่งในนั้น

“ ถ้าเราดูจะเห็นสัญญาณพวกนี้ได้ชัดเจน คำถามของ Dow Jones Sustainability Index คือ ดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท หรือ DJSI ก็มีคำถามที่ใช้ประเมินองค์กรเป็นคำถามทางสังคมมากขึ้น รวมไปถึงการปล่อยเงินกู้ของธนาคาร ที่ปัจจุบันไม่สามารถปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้แล้ว เพราะจะกลายเป็นว่าในที่สุดธนาคารจะถูกฟ้องร้อง เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นกับ HSBC ที่ถูกฟ้องร้องกรณีปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน” ดร.เนติธรกล่าว

กรณีปัญหาแรงงานทาสในประเทศไทยเป็นอีกตัวอย่างของแรงกดดันที่มาจากผู้บริโภค เริ่มต้นราวปี 2554 เมื่อสื่อระดับโลกอย่าง เดอะการ์เดียน ระบุว่า มีปัญหาแรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงของไทย ในเวลานั้นผู้บริโภคทั้ง ส่งจดหมาย ส่งอีเมล์ และทวิตข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ ไปต่อว่า “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” ในสหราชอาณาจักรว่า ทำไมยังขายสินค้าจากประเทศที่มีปัญหาแรงงานทาส ในเวลาต่อมาประเทศไทยถูกขึ้นบัญชีประเทศที่ถูกจับตาจากสหรัฐอเมริกา และถูกใบเหลืองจากสหภาพยุโรปในฐานะประเทศที่มีความเสี่ยงในการทำประมง ผิดกฎหมายและไร้ความควบคุม (IUU)

“แม้บริษัทจะบอกว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่บริษัททำทั้งหมด แต่ถึงจะเล็กน้อย แต่เรื่องนี้สร้างผลกระทบทางความรู้สึกกับคนจำนวนมาก” นางสาวสฤณีให้ความเห็น

เทรนด์โลกกับการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิมนุษยชนที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ

บริษัทข้ามชาติและนักลงทุนออกมาเรียกร้องให้คุ้มครองเสรีภาพของพลเมืองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมผ่านแถลงการณ์ร่วมที่สำคัญของ The Business Network on Civic Freedoms and Human Rights Defenders

ในปี 2561 มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มถึงความเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ขององค์กรธุรกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างการที่บริษัทข้ามชาติและนักลงทุน 8 รายใหญ่ อาทิ  แองโกลอเมริกัน อาดิดาส ยูนิลีเวอร์ เอบีเอ็นแอมโร เครือข่ายนักลงทุนที่คำนึงด้านสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ออกมาเรียกร้องให้คุ้มครองเสรีภาพของพลเมืองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมผ่านแถลงการณ์ร่วมที่สำคัญของ The Business Network on Civic Freedoms and Human Rights Defenders

ขณะที่บรรดาแบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาชื่อดังอย่าง อาดิดาสและไนกี้ ยังออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชายกเลิกข้อหาทางการเมืองที่มีแรงจูงใจทางการเมืองต่อ Tola Moeun นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงานและสนับสนุนเสรีภาพในการรวมตัวกัน  นอกจากนี้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชน และพนักงาน Google กว่า 1,400 คน ที่เรียกร้องให้ Google ยกเลิกการเปิดตัวเสิร์ชเอ็นจินในประเทศจีนที่จะถูกเซ็นเซอร์ ที่รู้จักกันในชื่อ “Project Dragonfly” ซึ่งในทรรศนะพวกเขาแล้วนั่นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้งาน

ผ่ากลยุทธ์ธุรกิจและการลดความเสี่ยงด้วยกระบวนการเชิงรุก

ในยุคที่โซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆสามารถเผยแพร่ความกังวลและข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจาการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว แบรนด์ชั้นนำและบริษัทขนาดใหญ่ในโลก เริ่มกันมาใช้กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้าน ( HRDD) ภายใต้หลักการชี้แนะ UNGP  ที่ช่วยบริษัทสามารถออกแบบและปรับปรุงกลยุทธ์ด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทในลักษณะเชิงรุกมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น เนสเล่ท์ ที่ร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนเดนมาร์ก ประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ปฏิบัติการ 7 ประเทศ โคคา-โคลา จัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนห่วงโซ่อุปทานในประเทศโคลอมเบีย และกัวเตมาลา รวมไปถึง แบรนด์ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า อย่าง อาดิดาส แก็ป เอช แอนด์ เอ็ม ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมไอทีอย่าง ไมโครซอฟท์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค ยูนิลีเวอร์ และภาคการเงินการธนาคาร อย่าง UBS ING Bank ที่ต่างใช้สิ่งนี้เป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการรับมือกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผลสำรวจจาก 152 บริษัทในงานวิจัยเรื่อง Exploring Human Right Due Diligence ที่จัดทำโดย The British Institute of International and Comparative Law ( BIICL) เมื่อปี 2559  พบว่า กว่าครึ่งของบริษัทที่สำรวจทำการตรวจสอบรอบด้านด้านสิทธิมนุษยชน โดยระบุว่า เหตุผลสำคัญของบริษัทที่ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน คือ เพื่อลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของบริษัทจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถนำไปสู่ผลกระทบทางธุรกิจของบริษัทได้ เมื่อเปรียบเทียบในประเภทอุตสาหกรรมและประเทศเดียวกัน และพบว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่ 74% มาจากกระบวนการดำเนินงานของบริษัท และเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ 3   ทั้งนี้บริษัทที่มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มักเป็นบริษัทที่เคยมีกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยเรื่อง  การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence พบว่า ความท้าทายหลักของธุรกิจไทยในประเด็นสิทธิมนุษยชนมีความคล้ายกัน โดยสิ่งที่ยังเป็นประเด็นคือ การไม่สามารถมองภาพที่ชัดเจนหรือมีข้อมูลเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง เพราะบริษัทส่วนใหญ่จะมีข้อมูลแต่กับซัพพลายเออร์คู่สัญญาเท่านั้น แต่ข้อค้นพบในงานวิจัยของเราพบว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ 3 (Tier3) ซึ่งไม่ได้มีข้อผูกมัดโดยตรง ปัญหาห่วงโซ่อุปทานจึงยังเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก

“ถ้ามองในเชิงธุรกิจ การทำเรื่องนี้ไม่ได้ช่วยในแง่ของการขายสินค้าได้ แต่มันกลายเป็นบรรทัดฐาน กลายเป็นจริยธรรมสากล ว่าบริษัทต้องทุ่มเทเรื่องนี้ หมายถึงว่า ถ้าทำได้ ไม่ได้แปลว่าจะขายของได้เยอะขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าคุณทำไม่ได้จะถูกเขาต่อว่าและไม่ซื้อสินค้า เมื่อมันกลายเป็น บรรทัดฐานในการทำธุรกิจโดยเฉพาะบริษัทที่ค้าขายกับต่างประเทศ มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำ และการปรับตัวได้เร็วกว่าก็จะมีโอกาสและข้อได้เปรียบมากกว่าบริษัทที่ปรับตัวได้ช้ากว่า” นางสาวสฤณีกล่าว

ที่มา - ไทยพับลิก้า

ข่าวยอดนิยม

ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12...

09 ตุลาคม 2558
12243

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11836

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10361

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9748

แชร์ข่าวสาร

มารู้จัก “Soft Skills” ที่ต้องมีในยุค AI เพื่อให้ “คุณ” ไม่ต... เทรนด์ท่องเที่ยวมาแรงปี 2020 เที่ยวโดยไม่ใช้พาสปอร์ต-สายกรีน...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

แนวโน้ม Tech Trends 2022 ในมุมมองผู้เชี่ยวชาญ (ต่างประเทศ) จะเกิดอะไรข...

29 ธันวาคม 2564
11836

เทรนด์ Metaverse? ญี่ปุ่นเปิดตัวหน้าจอแนวใหม่ “สามารถเลียเพื่อชิมรสได้...

28 ธันวาคม 2564
10361

ผลวิจัยเผย ใกล้ชิดธรรมชาติ แก้เหงาได้ ลดความเสี่ยงเสียชีวิต 45%...

26 ธันวาคม 2564
9748

สหรัฐอเมริกา ผู้ก่อขยะพลาสติกในทะเลรายใหญ่สุดของโลก...

09 ธันวาคม 2564
2936

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th