สหภาพยุโรป (EU) มีแนวคิดที่จะวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าและองค์กรให้ครอบคลุมมากกว่าการวัดเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง เช่น carbon footprint และ water footprint เพื่อให้เป็น Green product อย่างแท้จริง โดยเรียกว่า Product Environmental Footprint (PEF) สำหรับการวัดผลกระทบจากสินค้า และ Organization Environmental Footprint (OEF) กรณีที่วัดผลกระทบจากองค์กร
ทั้งนี้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะทำการวัดมี 14 ชนิด เช่น ภาวะโลกร้อน (CO2), การลดลงของชั้นโอโซน (CFC), ฝุ่นละออกขนาดเล็ก (PM 2.5), ผลกระทบต่อสุขภาพจากรังสี (U 235), การเติบโตที่ผิดปกติของพืชน้ำ (P) และพืชบนพื้นดิน (N), การใช้น้ำ และภาวะฝนกรด
ขณะนี้ PEF อยู่ในขั้นตอนของโครงการนำร่อง (pilot) ซึ่งมี 2 ช่วง (wave) มีสินค้ารวม 24 ชนิดเข้าร่วมโครงการ เช่น รองเท้า, แบเตอร์รี่, ผงซักฟอก, เครื่องหนัง, เครื่องเขียน,อุกรณ์ IT, เบียร์, เนื้อสัตว์, กาแฟ, นม, อาหารสัตว์, อาหารสัตว์เลี้ยง, ปลา, น้ำมันมะกอก, pasta, ไวน์ และน้ำดื่ม
ในส่วนของประเทศไทย ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาโครงการขับเคลื่อนนโยบาย Environmental Footprint ของประเทศไทยขึ้น และได้ดำเนินโครงการนำร่องใน 2 สินค้า และ 1 องค์กรแล้ว เพื่อประเมินความพร้อมและหาปัญหาอุปสรรคเพื่อหารือกับ EU ในโอกาสต่อไป