สิงคโปร์ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย Carbon Pricing Bill แล้ว และจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในปี 2018 ซึ่งเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (carbon Tax) อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศให้ได้ตามเป้าหมายที่เสนอในความตกลงปารีส (Paris Agreement) คือ ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 36% จากปี 2005 ภายในปี 2030
ร่างกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญ ดังนี้
- อัตราภาษีคาร์บอนที่จะจัดเก็บจะอยู่ในช่วง 10-20 ดอลล่าร์สิงคโปร์/ตันคาร์บอน โดยครอบคลุม ก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิด ได้แก่ CO2, CH4, N2O, HFCs, PFCs และ SF6
- จะจัดเก็บจากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ (ตั้งแต่ 25,000 ตัน/ปี) จากโรงไฟฟ้า โรงกลั่นน้ำมัน โรงงานเซมิคอนดักเตอร์ และโรงงานปิโตรเคมี และคาดว่าจะมีกระทบต่อผู้ประกอบการราว 30-40 ราย ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมเกือบ 80% ของประเทศ
- สำหรับผู้ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิน 2,000 ตัน/ปี แต่ไม่เกิน 25,000 ตัน/ปี ยังไม่ต้องเสียภาษีคาร์บอน แต่ต้องจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นรายปีต่อภาครัฐ
- ภาษีจะอยู่เป็น "Fixed-price credit-based Mechanism" โดยจะให้ผู้ประกอบการซื้อ carbon credit จากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม (NEA) ในราคาคงที่ (ยังไม่ระบุว่าเท่าใด) เพื่อมาจ่ายภาษีคาร์บอนแทนการเป็นเงินสด
- สำนักงานเลขานุการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NCCS) ประเมินว่า ภาคครัวเรือนจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น (จากค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น) ราว 72 ดอลล่าร์สิงคโปร์/ปี
- ขั้นตอนการจ่ายภาษีคาร์บอน : ผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีคาร์