• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

รุกและรับอย่างไรใน AEC


โดย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)

28 มกราคม 2559

แม้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคม AEC มาแล้วอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นมา  แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่เข้าใจว่า จะเกิดผลกระทบอย่างไร หรือเกิดอะไรขึ้นในภูมิภาคอาเซียนนี้

ในงานสัมมนา “การเกษตรทันสมัยเพื่อความยั่งยืนในสังคม AEC” จัดโดยคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรและศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจ สำนักบริการวิชาการ  สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ได้ฉายภาพรวมของ AEC ในการเสวนาหัวข้อ “รุกและรับอย่างไรใน AEC” โดยเน้นจุดเด่นของประเทศไทยอยู่ที่ความเหมาะสมของการเป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตร

AEC ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีสำคัญ 5 เรื่อง  (Five Free Flow) 

การเข้าสู่ AEC (Asean Economics Community ) อย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่ปลายปี 58   ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ นั่นหมายถึง การมีฐานการผลิต และตลาดที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น จะทำให้เกิดเสรีใน 5 เรื่องสำคัญ (Five Free Flow) ได้แก่

1. Free Trade Flow  การนำเข้า-ส่งออกเสรี  

2. Free Investment Flow  การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี 

3.  Free Service Sector Flow  เคลื่อนย้ายภาคบริการเสรี  

4.  Free Capital Flow  การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี  

5. Free Skill labour Flow การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือเสรี  โดยมี 8 สาขาที่เปิดแล้วคือ แพทย์  ทันตแพทย์  พยาบาล  วิศวกร  สถาปนิก นักบัญชี  นักสำรวจ  การท่องเที่ยว 

การเคลื่อนย้ายเสรีใน 5 เรื่องดังกล่าวนี้  ทำให้คนไทยต้องรู้ว่า จะเตรียมพร้อมอย่างไร สำหรับการรุกและรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น  หากมองในด้านเศรษฐกิจ จะพบว่าเศรษฐกิจในอาเซียนมีมูลค่า 2.5ล้านล้านเหรียญ คิดเป็น 3%  ของจีดีพีโลกที่มีจำนวน 78 ล้านล้านเหรียญ นับเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่ความสำคัญอยู่ที่อาเซียนกำลังเป็นที่สนใจของชาวโลกอย่างมาก  ไม่เฉพาะประเทศในอาเซียนด้วยกันเท่านั้น ซึ่งหากเศรษฐกิจของอาเซียนได้รับการบ่มเพาะที่ดีจะทำให้สามารถเติบโตได้อีกมาก

ไทยเหมาะเป็นศูนย์กลาง (Hub)  สินค้าเกษตร

จะเห็นว่าศักยภาพของไทยใน 5 เรื่องที่กล่าวมา ไทยมีความพร้อม ด้านภาคบริการมากที่สุด เช่น การท่องเที่ยว  โรงพยาบาล  นอกจากนี้ไทยยังเหมาะกับการเป็น hub สินค้าเกษตร โดยเป็นผลมาจากการพัฒนาประเทศตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับที่หนึ่ง ที่ทำให้สามารถไทยพัฒนาภาคเกษตรใน 3 ด้านคือ  การขยายพื้นที่การเกษตร (expansion) การกระจายชนิดของผลิตภัณฑ์ (diversification) มีสินค้าเกษตรหลากหลายมากขึ้นที่เป็นที่ยอมรับจากชาวต่างประเทศ “ในอดีตไทยเคยมีเพียง “ข้าว” อย่างเดียวที่ใช้ส่งออก จนมีคำเรียกเศรษฐกิจไทยในสมัยหนึ่งว่า “Rice Economy” จนถึงปัจจุบันเรามีสินค้าเกษตรส่งออกอีกหลายชนิด  เช่น มันสำปะหลัง อ้อย รวมถึงพืชที่มีมูลค่าเพิ่มสูง” และปัจจุบันสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรโดยผ่านกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม เกิดเป็นอาหารหลากหลาย และมีมาตรฐานสอดคล้องกับตลาดโลก 

“ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม CLMV ใช้ไทยเป็นแบบอย่างของการพัฒนา ให้เครดิตกับภาคเกษตรของเราที่สามารถพัฒนามาก่อนเค้า ถึง 3 ระดับ โดยสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมของเราสามารถส่งไปขายได้ทุกประเทศในโลกนี้ เราสามารถเข้าญี่ปุ่นได้ ยุโรปได้ สหรัฐอเมริกาได้  ประเทศเพื่อนบ้านยังไม่มีความพร้อมเท่าเรา”

โอกาสของสินค้าเกษตรไทยภายใต้ AEC

เออีซี ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนการเติบโตของเมืองที่ขยายออกรอบนอกกรุงเทพมหานครไปถึงชายแดน อันเป็นผลจากการทำมาค้าขายระหว่างประเทศที่มีมากขึ้น ทำให้ความเป็นเมืองในภูมิภาคนี้เจริญเติบโตมาก การเกลี่ยความเจริญความเป็นชุมชนเมืองออกไปยังพื้นที่ชนบท (urbanization)  ทำให้มีดีมานด์ ความต้องการต่อสินค้าเกษตรใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น สินค้าออร์แกนิค  สินค้าเพื่อสุขภาพ (Health Conscious)  ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเป็นโอกาสให้เกิด Smart Agriculture เกิดผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่สามารถผลิตสินค้าออกมาป้อนตลาดได้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภค และต่อยอดไปถึงการประกอบธุรกิจอื่นๆที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมต่อไป

ยกตัวอย่างเกษตรกรในจีนถือครองที่ดินขนาดเล็กๆ  ซึ่งในอดีตทำเกษตรเพื่อไว้ยังชีพกันเฉพาะในครอบครัว แต่ปัจจุบัน เกษตรกรจีนรายเล็กๆเหล่านั้น สามารถเปลี่ยนตัวเองไปสู่การทำมาค้าขายโดยใช้เครื่องมือสื่อสารทันอย่างสมาร์ทโฟน ในการทำเกษตร และการค้าขาย และเป็นประเทศหนึ่งที่น่าเรียนรู้ นี่คือตัวอย่างผลพวงที่จะตามมากับAEC ที่เกี่ยวพันกับเรื่องของการเกษตร

รับมือ AEC ความพร้อมข้อมูลข่าวสารสำคัญที่สุด

นอกจากการ “รุก” ด้วยศักยภาพที่มีแล้ว การ “รับมือ” AEC ด้วยความพร้อมของข้อมูลข่าวสารก็เป็นเรื่องสำคัญ ด้วยว่าเราอยู่ในยุคของเทคโนโลยี  โลกาภิวัตน์ เนื่องจากทั้งปัจจัยการผลิตและความต้องการของตลาดไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีขอบข่ายที่กว้างออกไป โดยหลังจากนี้ประเทศเพื่อนบ้านจะมีการพัฒนาภาคเกษตรอย่างรวดเร็ว มาจากปัจจัยสนับสนุนหลายอย่าง อาทิ เช่น ยังมีที่ดินสำหรับทำการเกษตรอีกมาก  มีค่าแรงในภาคเกษตรต่ำ และในไม่ช้านี้ประเทศเพื่อนบ้านจะมีการพัฒนาสินค้าทดแทนการนำเข้า ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนของไทยที่เป็นด่านหน้าการบริหารจัดการตัวแปรของเออีซีต้องร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ เช่น ความเชื่อมโยงสินค้าเกษตรระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จะเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น  โดยที่ เออีซี หรือ ภูมิภาคนิยมมาเริ่มในช่วงที่เป็นเศรษฐกิจขาลง จึงมีหลายตัวแปรที่มีความละเอียดอ่อนมาก  ทั้งนี้ตัวอย่างจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับสหภาพยุโรปที่รวมตัว เป็นฐานการผลิตเดียว และตลาดเดียวกัน โดยประเทศที่แตกต่างกันจากหลายประเทศในยุโรป และมีความพร้อมไม่เท่าเทียมกัน จึงกลายเป็นปัญหาที่ปัจจุบันนี้ยังไม่มีทางออก  เป็นบทเรียนสำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน  ที่ไทยต้องนำมาเป็นบทเรียนในการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนAECให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

การเกษตรทันสมัยและความรับผิดชอบต่อสังคม... ส่องเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย IMF ชี้เศรษฐกิจโลกปี 2559 ขยายตั...
  • สมภพ มานะรังสรรค์
  • AEC
  • เกษตร
  • PIM
  • ปัญญาภิวัฒน์
  • สินค้าเกษตร

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th