• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

การเกษตรทันสมัยและความรับผิดชอบต่อสังคม


โดย ศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

26 มกราคม 2559

ในการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การเกษตรทันสมัยและความรับผิดชอบต่อสังคม” โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์  กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่งานสัมมนา “การเกษตรทันสมัยเพื่อความยั่งยืนในสังคม AEC”  จัดโดย คณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรและศูนย์บ่มเพาะทางธุรกิจ สำนักบริการวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2559 ได้สะท้อนภาพปัญหาหลายมิติในภาคเกษตรกรรมไว้อย่างชัดเจน พร้อมเสนอทางออกของปัญหา รวมถึงทำให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้เห็นภาพ เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

หลายมิติปัญหาเกษตรกร

“ความยากจน” ยังคงเป็นปัญหาหลักของเกษตรกรในประเทศซึ่งมีมากกว่า 40 ล้านคน คนจนส่วนใหญ่อยู่ในเขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราว กว่า 3ล้านคน หรือร้อยละ 44.5 และในภาคเหนืออีกเกือบ 2 ล้านคน หรือร้อยละ 24 ของคนจนทั้งประเทศ คิดเป็นจำนวนรวมมากกว่า 5 ล้านคน ที่มีรายได้อยู่ในเส้นของความยากจน  ซึ่งคุณศุภชัย เรียกอาชีพเกษตรกรว่าเป็น “ธุรกิจครอบครัว” เป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็กสุด ไม่ใช่แค่แรงงาน เนื่องจากต้องมีการลงทุน อีกทั้งยังต้องเผชิญความเสี่ยงสารพัด เช่น ภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม โรคระบาด ฯ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถหลุดพ้นวงจรความยากจนไปได้คือการขาดใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1.ขาดองค์ความรู้ วิทยาการ และเทคโนโลยี  2. ขาดการบริหารจัดการ และ 3.ขาดความเข้าใจ ความต้องการของตลาดรวมไปถึงการสร้าง “แบรนด์” ของสินค้า

โลกเรียกร้องทุกฝ่ายช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม

นอกจากการขาด 3 องค์ประกอบสำคัญที่กล่าวแล้ว ยังมีความซับซ้อนในมิติปัญหาด้านอื่นๆ เช่น ปัญหา “ขาดสิทธิที่ทำกิน” (Use of Land) การที่เกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือไม่มีเอกสารสิทธิ์ ในที่ดินทำกิน ทำให้ขาดหลักประกันความั่นคงการประกอบอาชีพ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ถือครองที่ดินทำกินตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ หรือการได้รับเอกสารสิทธ์จากรัฐ แต่นำที่ดินไปขายต่อ และทำการบุกรุกพื้นที่ใหม่ต่อไป ส่งผลต่อการบุกรุกป่า โดยมิติของปัญหามีที่มาจากการไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งการทำลายป่ายังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับโลกว่าด้วยปัญหาโลกร้อน ( Global warming) และความยั่งยืน (Sustainable)

“โลกกำลังก้าวไปสู่การตรวจสอบ ทุกคนทุกภาคฝ่ายต้องมีส่วนรับผิดชอบในสิ่งแวดล้อม ในระบบสังคม และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ inclusive คือพัฒนาไปด้วยกันไม่ได้พัฒนาแบบแยกจากกัน ถ้าอุตสาหกรรมไหนพัฒนาแล้วต้องดึงทั้งระบบไปด้วยกัน การพัฒนาระบบความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ ความมั่นคงชีวิต  การพัฒนามิติทางสังคม คุณค่าทางสังคม ความปลอดภัยจากการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข รวมไปถึงสิ่งแวดล้อม ทั้ง3เรื่องนี้คือคีย์เวิร์ดที่สำคัญ จำกัดความของคำว่า ความยั่งยืน”

แนวทางแก้ปัญหาจากอดีตสู่อนาคต

ปัจจุบันเกษตรกรในยุโรปและสหรัฐอเมริกาคงเหลืออยู่ประมาณ 2% แต่ทั้งยุโรป และอเมริกา ต่างมีแนวทางที่ใช้แก้ปัญหาสำหรับเกษตรกรเพื่อตอบโจทย์ 3ข้อของปัญหาเกษตรกร คือ ทำให้เกิดองค์ความรู้  การบริหารจัดการ และความเข้าใจตลาด โดยยุโรปใช้ระบบสหกรณ์ ( co-op) มาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีชุมชนเป็นจุดเริ่มต้น และประสบความสำเร็จเริ่มจากประเทศเยอรมัน ซึ่งมีผู้อธิบายว่าความสำเร็จของระบบสหกรณ์เกิดขึ้นจากคำว่า entrepreneurship เกิดจากผู้นำชุมชนที่เป็นกึ่งเถ้าแก่และนักบุกเบิก มีศักยภาพ และมีความเป็นเจ้าของ จึงทำให้สหกรณ์ เป็นองค์กรที่มีความรู้ มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการ และศักยภาพด้านการตลาด ส่งผลให้ระบบสหกรณ์เป็นที่ยอมรับและแผ่ขยายความสำเร็จไปใน สวิสเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส  และอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันตก

ขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็น Capitalist (ทุนนิยม) 100% ใช้ระบบ Contract Farming โดยหากเกษตรกรรายใดมีความเก่งก็สามารถขยายพื้นที่เกษตรออกไปได้  แต่รายใดที่ไม่มีความสามารถก็จะย้ายไปทำอย่างอื่น โดยที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของโลกสามารถรองรับการถ่ายเทเกษตรกรได้ ปัจจุบันสหรัฐอเมริกา  ก้าวไกลเป็น Mega Farming โดยเป็นการบริหารพื้นที่เกษตรที่มีขนาดใหญ่มากโดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมบังคับรถในการทำงานแทนกำลังคน เช่น การหว่านเมล็ดพันธุ์  การใส่ปุ๋ยในดิน 

เมื่อกลับมามองในประเทศไทย ระบบสหกรณ์ไม่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมดเพราะขาดความเป็นเจ้าของ และ สหกรณ์กลายเป็นเพียงแหล่งกู้เงินเท่านั้น ส่วน contract farming ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ดังนั้น social enterprise จึงเป็นทางออกอีกช่องทางหนึ่งในการแก้ปัญหาเกษตรกรโดยโครงสร้างต้องทำให้เกษตรกรร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ

Social Enterprise กับการแก้ปัญหาเกษตรกรไทย

“เราเรียกว่าเป็น “community based social enterprise” หมายความว่าเป็นองค์กรเอกชนแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อชุมชน มีฝ่ายบริหาร มีฝ่ายที่ลงทุนร่วมเป็นเจ้าของ เกษตรกรชุมชนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพื่อให้เกิด Owner Ship (ความรู้สึกเป็นเจ้าของ) และ entrepreneurship (ผู้บุกเบิกกิจการ) สามารถจ่ายเงินเดือนสูงๆให้กับผู้บริหารที่ดี และการบริหารงานต้องทำให้มีกำไร คืนผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่ง ส่วนใหญ่ ก็เป็นเกษตรกรเองด้วย คือชุมชน”

นั่นคือ social-enterprise ในความหมายที่คุณศุภชัยกล่าวถึง  ทั้งนี้ ความสำคัญของธุรกิจดังกล่าวคือการเป็นธุรกิจขนาดกลางที่สามารถทำงานร่วมกับเกษตรกรควบคู่ไปกับบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้เกิดมุมมองการสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืน และปรับตัวเองได้จากการมีองค์ความรู้ มีนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งประสิทธิภาพ คุณภาพและ สามารถมองเห็นความเปลี่ยนแปลงในตลาดยุค AEC ได้อย่างชัดเจนนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสม โดย social- enterprise จะทำให้เกษตรกรสามารถเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ กับเอกชน อันเป็นมิติสำคัญที่จะเปลี่ยนระบบโครงสร้างของภาคเกษตรของไทย

นอกจากการบริหารจัดการรูปแบบ social enterprise จะทำให้เกิดการสร้างโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนแล้ว การมีองค์ความรู้ในด้านอื่นๆ เช่น เกษตรอุตสาหกรรม  ความรู้ทางภูมิศาสตร์ เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบของพื้นที่  เงื่อนไขของน้ำ ฯ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดการวิเคราะห์และกำหนดเป็น “ภูมิยุทธศาสตร์” ในระดับมหภาค ของการทำเกษตรอุตสาหกรรม สามารถกำหนดพื้นที่ทำการเกษตรให้เหมาะสม เช่น พื้นที่ภาคเหนือที่เป็นภูเขาสูง เหมาะแก่การปลูกกาแฟ และตลาดยังมีความต้องการสูง เป็นการพลิกจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งได้ 

“เราต้องมองตลาดในประเทศและตลาดโลก และต่อยอดไปยังสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม สินค้าที่มีแบรนด์ดิ้ง มีความต้องการระดับโลกก็จะได้ราคาดี พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ต่อไปต้องรู้จักแหล่งที่มาที่ไป และเรื่องความปลอดภัยของอาหาร (Food safety) ต้องมีการบริหารจัดการเรื่องของสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลก”

เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาภาคเกษตรอย่างยั่งยืน

ในช่วงท้ายของการบรรยายพิเศษ คุณศุภชัยได้สะท้อนกับผู้เข้าร่วมการสัมมนา ว่า ต่อไป เกษตรกรอาจเรียกตนเองได้ว่าเป็น landlord (เจ้าของที่ดิน) โดยสามารถบริหารจัดการพื้นที่เกษตรได้ด้วยตนเองโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ร่วมกับองค์ความรู้ที่มี เกิดเป็น Smart Farming หรือ Cloud Farming อันเป็นเรื่องการบริหารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร  เช่น ข้อมูลของพื้นที่ดินมีค่าเท่าไร อุณหภูมิเป็นอย่างไร เงื่อนไขของน้ำ  ข้อมูลด้านตลาด ฯ ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปเก็บรวบรวมไว้ในระบบcloud เป็นข้อมูลหลากหลายที่สามารถแบ่งปันกันได้ โดยเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล และวิเคราะห์ เพื่อการบริหารจัดการในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร เกิดเป็นecosystem (ระบบนิเวศ) ที่สำคัญ 

อย่างไรก็ตาม คุณศุภชัยยังได้กล่าวทิ้งท้ายฝากเป็นข้อคิดแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า “การเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยี ยังไม่ใช่การเชื่อมโยงที่แท้จริงบางทีเราฝันไปไกลเราเก่งในเรื่องเทคโนโลยีจะสามารถทำอะไรได้มากมายให้โลกใบนี้ หากแต่การเชื่อมโยงที่แท้จริงอยู่ที่ใจ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราไม่เห็นแก่ตัว  อันเป็นมิติสำคัญในด้านสังคม”

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26647

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21966

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20583

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12704

แชร์ข่าวสาร

รัฐเร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคมระบบราง พลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการ... รุกและรับอย่างไรใน AEC
  • CP Group
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ศุภชัย เจียรวนนท์
  • เกษตร
  • Social Enterprise
  • Contract Farming
  • เกษตรกร
  • ความยากจน

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3902

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3638

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4405

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4230

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th