• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

“สมาคมเกษตรกร” พัฒนาภาคการเกษตรไทยสู่เวทีโลกอย่างยั่งยืน ยึดไต้หวันโมเดลเป็นต้นแบบการจัดการสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบ ยกระดับเกษตรครัวเรือน สร้างอนาคตเกษตรกรไทยเข้มแข็ง


โดย นายมนตรี คงตระกูลเทียน รองประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ / คณบดีคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

15 กันยายน 2558

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรติดอันดับโลก แต่ปัจจุบันระบบการจัดการด้านการเกษตรของไทยมีปัญหา เกษตรกรไทยยากจน ในขณะที่ไต้หวันซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่าไทยถึง 14 เท่ากลับได้ชื่อว่าเป็นประเทศต้นแบบและผู้นำเทคโนโลยีการเกษตรอันดับต้นของโลก เกษตรกรมีรายได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากไต้หวันมีระบบการบริหารจัดการด้านการเกษตรที่ดี ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไต้หวันประสบความสำเร็จในด้านการเกษตรก็คือ การพัฒนาสมาคมเกษตรกร หรือ Farmers’s associations ซึ่งภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และถือเป็นองค์กรในชนบทที่สำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ทำให้ไต้หวันไม่มีปัญหาเรื่องสินค้าเกษตรล้นตลาด เกษตรกรเข้มแข็ง มีรายได้มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งประเทศไทยควรนำมามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาภาคเกษตรกรไทย เพราะเป็นโมเดลต้นแบบที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทยอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน 

จากการศึกษาการพัฒนาภาคเกษตรของไต้หวันในช่วงที่ผ่านมาพบว่า ไต้หวันให้ความสำคัญต่อการพัฒนาภาคการเกษตรตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติ โดยมีการวางแผนอย่างครบวงจร ทำให้เกิดการบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาคเกษตรกรรมที่เชื่อมโยงตั้งแต่ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศในรูปแบบสมาคมเกษตรกร ซึ่งเป็นลักษณะรวมกลุ่มของเกษตรกรคล้ายสหกรณ์ในประเทศไทย แต่ภาระหน้าที่ต่างกัน  ทั้งนี้เพราะสหกรณ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเน้นการให้สินเชื่อเป็นหลักมากกว่าการดูแลเกษตรกรอย่างครบวงจร

ในขณะที่ Farmers’s associations ของไต้หวันเป็นสมาคมเกษตรกรองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (Non-benefit organization) รับนโยบายโดยตรงจากรัฐบาลแต่มีการบริหารจัดการเหมือนเอกชน จ้างผู้บริหารมืออาชีพมาบริหาร ดูแลสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบชลประทาน เงินทุน การให้สินเชื่อ การหาปัจจัยการผลิต จัดหาเทคโนโลยีใหม่ให้กับเกษตรกร รวมถึงการประกันราคาพืชผล การกระจายสินค้าเกษตร การให้บริการข้อมูลข่าวสาร และจัดหางานในภาคอุตสาหกรรมให้แก่เกษตรกรในช่วงนอกฤดูกาลเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ และเรียนรู้ภาคอุตสาหกรรม จนสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มีมูลค่าสูงขึ้น และที่มากกว่านั้นยังมีการจูงใจให้คนรุ่นใหม่สนใจเข้ามาทำงานในธุรกิจเกษตร

รัฐบาลไต้หวันมองถึงความต้องการของตลาด และมีความเข้าใจธรรมชาติของภาคเกษตรกรรมในแต่ละช่วงเวลา จึงได้มีการวางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในระดับอุตสาหกรรม เช่น เมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้า สินค้าเกษตรบางชนิดแข่งขันในตลาดโลกสูง รัฐบาลจะมีนโยบายให้ลดการปลูกพืชเกษตรชนิดนั้นและให้เงินชดเชย พร้อมส่งเสริมให้ปลูกพืชทางเลือกอื่นแทน แนวทางนี้หากนำมาใช้กับประเทศไทยก็จะช่วยเกษตรกรได้มาก เศรษฐกิจและสังคมไทยก็จะดีตามไปด้วย

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21873

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20474

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12443

แชร์ข่าวสาร

กุญแจสู่ความยั่งยืนของธุรกิจในประชาคมอาเซียนตามแบบฉบับ CPF... เศรษฐกิจโลก ปี 58 มีแนวโน้มขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 3.1 ส่วน...
  • คุยกับซีพี
  • CP Talk
  • เกษตร
  • เกษตรกร
  • Agriculture
  • Farmers
  • มนตรี คงตระกูลเทียน

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th