• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

37 ปีเศรษฐกิจยุคใหม่ของจีน


โดย นายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

08 กันยายน 2558

ในโอกาสครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย- จีน  ผมในฐานะที่เป็นหนึ่งในกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติที่ได้เดินทางเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศจีนตั้งแต่ปี ค.ศ.1980 ผมมีโอกาสได้สัมผัส รับรู้ และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมจีนที่ได้พลิกผันตัวเองจากประเทศล้าหลังยากจนข้นแค้นจนสามารถผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าระหว่างประเทศอันดับหนึ่งของโลกและเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก ปรากฏการณ์เช่นนี้บังเกิดขึ้นได้สืบเนื่องจากการที่ประเทศจีนได้มีนโยบายเปิดประเทศและดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยการอาศัยเงินทุนต่างชาติในการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต เทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการสมัยใหม่ของต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนถึงวันนี้นับได้ 37 ปีเบื้องหลังความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ย่อมประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายด้านด้วยกัน ตามประสบการณ์ส่วนตัว ผมคิดว่ามีปัจจัยสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้ :- 

1. ผู้นำจีนและผู้บริหารทุกระดับมีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ 

ฃประธานเหมาเจ๋อตง ปลดแอกประชาชนทำให้ทุกคนมีสิทธิทัดเทียมและเสมอภาคกันแต่การปิดประเทศและดำเนินนโยบายการวางแผนจากส่วนกลาง ไม่สามารถนำพาประเทศสู่ความเจริญมั่งคั่งและแก้ปัญหาปากท้องประชาชนได้ 

    (1) ผู้นำรุ่น 2 ประธานเติ้งเสี่ยวผิงมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล 

        คำขวัญสำคัญที่ประธานเติ้งเคยกล่าวไว้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันกว้างไกล เช่น :- 

    - คลำหินข้ามคลอง 

    - แมวดำแมวขาว 

    - ต้องให้โอกาสคนส่วนหนึ่งรวยก่อน

    - การพัฒนาคือกฎเหล็ก

    - หวังจะรวยต้องสร้างถนนก่อน

    (2) การสืบทอดอำนาจผู้นำจีนมีระบบและการเตรียมการที่ดี 

        ผู้นำจีนที่ผ่านการคัดเลือกต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ระดับล่างเหมือนข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจทั่วไป หากมีประวัติและผลงานดี ก็จะค่อยไต่เต้าที่ละขั้นและต้องผ่านงานหลายๆด้านและหลายๆ พื้นที่เพื่อจะได้รู้ถึงปัญหาและสั่งสมประสบการเป็นเวลานานหลายสิบปี ประวัติผลงานและความประพฤติจะผ่านคณะกรรมาธิการการสรรหาคอยสอดส่อง และผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มงวดจึงจะสามารถได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐบาลกลางได้ 

2. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ

    (1) วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีระบบและมีขั้นตอน 

    - 10 ปีแรก    พื้นที่ภาคใต้ (มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนและไหหลำ) 

    - 10 ปีที่ 2     พื้นที่ภาคตะวันออก (มหานครเซี่ยงไฮ้) มณฑลเจียงซูและเจ๋อเจียง

    - 10 ปี่ที่ 3     พื้นที่ภาคเหนือ(มหานครเทียนสิน ปักกิ่ง และมณฑลเหอเป่ย) 

    - 10 ปีที่ 4     พื้นที่ภาคกลาง 6 มณฑล 

    (2) กำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจน 

    - 10 ปีแรก    พัฒนาคุณภาพสินค้าและผลิตผล โดยเน้นการนำนวัตกรรมทันสมัยมาทำการผลิตเพื่อการส่งออกเพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศจำนวนมาก 

    - 10 ปีที่ 2     เน้นตลาดภายในประเทศและพัฒนาแบรนด์ตนเอง  

    - 10 ปี่ที่ 3     เริ่มส่งออกแบรนด์ตนเอง  

    - 10 ปีที่ 4     สนับสนุนวิสาหกิจที่มีศักยภาพออกไปลงทุนในต่างประเทศ  

3. นโยบายพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของแต่ละ 5 ปี แต่ละมณฑลได้ดำเนินการก่อสร้างถนนทางหลวง มอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ และทางรถไฟตามแผนแม่บทของรัฐบาลกลางที่ได้วางแผนไว้จวบจนปัจจุบัน ถนนและทางรถไฟแต่ละช่วงของแต่ละมณฑลได้ทยอยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายคมนาคมครอบคลุมทั่วประเทศจีน จากสถิติล่าสุด ประเทศจีนมีมอเตอร์เวย์ ซุปเปอร์ไฮเวย์ ยาว 100,000กม และมีทางรถไฟความเร็วสูงถึง19,000 กม. ภายในสิ้นปีนี้ นอกเหนือจากนี้ในแต่ละมณฑลต่างมีการวางแผนก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน สถานีรถประจำทางและสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามสภาพการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละมณฑล

4. นโยบายการเชื่อมความสัมพันธ์และสร้างพันธมิตรกับนานาประเทศ

    (1) GMS (Great Mekong Summit) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชาและจีนตอนใต้ ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งการสร้างถนนและทางรางเพื่อให้เกินความเชื่อมโยงภายในอนุภาคเปลี่ยนระเบียบคมนาคมไปสู่ระเบียงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางการค้า การท่องเที่ยว และความอยู่ดี กินดีของประชาชน

    (2) เขตการค้าเสรี ASEAN -  CHINA (ACFTA)

    ACFTA เป็นการเปิดเสรีทั้งทางการค้า การลงทุน และภาคบริการ Asean – China และประเทศจีนได้สร้างศูนย์ ประชุมและแสดงสินค้า เพื่อจัดประชุมผู้นำประเทศ 10+1 และการแสดงสินค้า China – ASEAN Expo ทุกปี และปีนี้จะเป็นครั้งที่ 12 ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองกวางซี เผ่าจ้วง 

    (3) องค์กรความร่วมมือเซี่ยงไฮ้(SCO) 

    SCO มีสมาชิกอยู่ 6 ประเทศคือ จีน รัสเซีย  คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริม ความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง 

    (4) กลุ่มประเทศ บริคส์ (BRICS) 

    BRICS เป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้บรรลุข้อตกลงการจัดตั้ง “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งใหม่ ”(NDB) มีเงินทุนเริ่มต้น 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐโดยแต่ละประเทศวางเงินทุนที่ 1 หมื่นล้านเท่าๆกัน และตั้งสำนักงานใหญ่ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ประธานจะเป็นตัวแทนจาก ที่จะมีวาระ 5 ปี ประเทศอื่นก็มีตัวแทนดำรงตำแหน่งในธนาคารเช่นกัน เพื่อ เพื่อช่วยประเทศบริคส์ และประเทศตลาดเกิดใหม่ในการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับข้อตกลงเงินทุนสำรองฉุกเฉิน 1 แสนล้านเหรียญนั้น จีนมีสัดสวนบริจาคมากสุด 44 % บราซิล รัสเซีย ประเทศละ 18  % ส่วนแอฟริกาใต้เป็น 5 % จัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเดินหน้าลดวงเงินที่ใช้ในการผ่อนคลายทางการเงินเชิงปริมาณ(คิวอี)  ของเฟด วัตถุเพื่อเป็นการ “ถ่วงดุลและเข้ามามีบทบาทกับระบบการเงินโลกมากขึ้น”    

    (5) การเชิญ CEO กิจการยักษ์ใหญ่ระดับโลกมาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษา

IBLAC ( International Business Leaders' Advisory Council )  for the Mayor of Shanghai นี่คือความเฉลียวฉลาดในการบริหารงานของมหานครเซี่ยงไฮ้ ริเริ่มโดยอดีตผู้ว่า จู หยงจี ในการเรียนเชิญ CEO ของบริษัทชั้นนำของโลกมาเป็นสมาชิก IBLAC ให้กับผู้ว่ามหานครเซี่ยงไฮ้ จำนวน 50 ท่านและร่วมกันเลือก สมาชิกหนึ่งท่านดำรงตำแหน่งประธาน มีวาระ 2 ปี เพื่อเป็นประธานการประชุมปีละหนึ่งครั้งในเดือนตุลาคมของปี สมาชิกที่ขาดการประชุมโดยไม่มีเหตุผล ก็จะปลดออกและพิจารณาสมาชิกคนใหม่เข้าแทนที่ทันที 

5. นโยบายฟื้น “เส้นทางสายไหม” ยุคใหม่

“เส้นทางสายไหม” เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์สำคัญที่เชื่อมโลกตะวันออกไปยังตะวันตก จีนคาดหวังจะขยายศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนผ่านเส้นทางสายไหมทางบกเดิมสู่ เอเชียกลาง  ขณะเดียวกันจีนยังมีความคิดจะสร้าง “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21” เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกาและ ยุโรป ผ่านการขยายการลงทุนในการสร้างท่าเรือนิคมอุตสาหกรรมและยังเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จีนใช้สร้างสัมพันธ์กับชาติสมาชิกในอาเซียนด้วย 

ปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้านดังที่ได้กล่าวมาเป็นพลังขับเคลื่อนให้การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมจีนเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ในช่วงแรกเริ่ม เศรษฐกิจจีนสามารถขยายตัวได้ด้วยเลขสองหลักแต่ปัจจุบันการขยายตัวเริ่มชะลอตัวลงมาอยู่ที่ประมาณ 7 %  ส่วนตัวผมคิดว่า หากจีนสามารถรักษาอัตราการขยายตัวอยู่ที่ปีละประมาณ 5 % ก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจแล้ว

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26726

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
22053

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20694

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12983

แชร์ข่าวสาร

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณ... กุญแจสู่ความยั่งยืนของธุรกิจในประชาคมอาเซียนตามแบบฉบับ CPF...
  • CP Talk
  • คุยกับซีพี
  • ธนากร เสรีบุรี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ซีพี
  • CP Group
  • จีน
  • China
  • Economic
  • เศรษฐกิจ

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
4034

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3742

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4503

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4309

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th