ขอบคุณคลิปจาก THE STANDARD
ตอนที่ 1 http://www.cp-enews.com/news/details/cptalk/4716
ต่อตอนที่ 2
The Standard: บทบาทของครูเนี่ยแต่ก่อน เด็กนักเรียนอาจจะ 40-50 คนในห้องยุคผมประมาณ 40-50 คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับครูน้อยมาก เด็กนักเรียนบางคนหายไปจากห้องก็ไม่มีใครรู้ เราไม่ได้เป็นศูนย์กลาง ไม่มีใครเห็นศักยภาพของเรา อันนี้โดนใจผมนะครับ เพราะเมื่อก่อนผมก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครมาปลดล็อกศักยภาพของเรา เราเป็นคนเจอด้วยตัวเองมากกว่า คุณศุภชัยมองว่าหลังจากนี้คุณครูต้อง
คุณศุภชัย : เคนอาจจะโชคดีว่าอย่างคุณพ่อคุณแม่ หรือว่าในญาติมิตรที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีมีผู้ที่สนับสนุนเรา โดยที่เราเราได้เรียนรู้เราก็เกิดความมั่นใจมาเรื่อยๆ แต่ว่าคุณครูสำคัญเพราะว่าระบบที่มาจากครอบครัวมันเล็ก ระบบของความเป็นสังคมที่เป็นหมวดหมู่ขนาดใหญ่ขึ้นจะถูกสอนที่โรงเรียนซึ่งคุณครูก็เลยกลายเป็นพ่อแม่คนที่สอง คำพูดนี้ยังเป็นคำพูดที่จริงอยู่ เพียงแต่ว่า ความเป็นพ่อแม่ที่สอง skill ต้องเปลี่ยนตัวชี้วัด ถ้าวันนี้เรายังวัดความสามารถของคุณครูว่าโอเน็ตในภาควิชานั้นสอบได้สูงไหม ถ้าวัดแค่นี้เนี่ยมันไม่พอ แล้วมันไม่ใช่ Child-centric ครับ เขาเรียกว่า Center อยู่บนการสอบนะครับ Center อยู่บนองค์ความรู้อย่างเดียวแต่ว่าไม่ได้เกิดขึ้นจากเด็ก ฉะนั้นวิธีการสอนเนี่ย อย่างลูกชายผมคนเล็กได้ไปเรียนที่อเมริกาเป็น Top School แต่ผมจะไม่พูดชื่อนะ เขามีระบบหนึ่งที่เขาเรียกว่าเป็นระบบโต๊ะกลม นั่นหมายความว่าทุกคนอ่านหมดแล้ว คุณครูก็บอกอ้าวไหนเธอคิดยังไง เธอแลกเปลี่ยนกันเองอันนี้คุณครูกลายเป็น facilitator แต่อย่างไรก็ตามนะครับโรงเรียนนี้ก็ยังเป็น 2.0 อยู่ 2.5 แล้วกันนะ เพราะอะไรครับให้การบ้านทำวันละ 5 ชั่วโมง เด็กไม่ได้คิดเองต้องไปฝึกตามการบ้านที่คุณครูให้ แต่ว่าในยุค 4.0 เนี่ยบอกว่าเด็กเป็น Center ในบทเรียนนี้ก็จริง แต่ทำไมเด็กไม่แบ่งเป็นทีมเสร็จแล้วให้คิดว่าในหัวข้อนี้ สิ่งที่เขาจะนำไปสู่การแก้ปัญหาของสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งครอบครัว คืออะไร ให้เขาคิดเองและทำรายงาน เพราะฉะนั้นเขาจะไม่ได้ไปทำการบ้านที่คุณครูให้ทำเป็นการบ้านเหมือนกัน แต่เขาจะไปทำในสิ่งที่เจอแล้ว เอาไปแก้ปัญหาอย่างไร แล้วไปเริ่มทดลองเริ่ม survey ทดลองแล้วก็ดีเบตกัน แล้วคุณครูก็ดีเบตกันด้วยอะไรด้วยเหตุผล ที่สุดเนี่ยก็ต้องใช้เหตุผล เหตุผลก็คือปัญญา ปัญญาคือเหตุผลอันนี้คือตัวเดียวกันครับเป็นกระบวนการในรูปแบบใหม่ ที่คุณครูเปลี่ยนบทบาท เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดของคุณครูถ้าไม่เปลี่ยน
ข้อที่ 5 สำคัญมาก เราบอกว่าเรามี ความโปร่งใส มีเป้าหมาย KPI ที่เป็น 4.0 เป็น smart School ทุกอย่างแล้วนะครับ ตอบโจทย์ทั้งวิชาการและคุณค่า คุณธรรมต่างๆ เหล่านี้ เรามีกลไกลตลาดโปร่งใส และนี่ตลาดก็สามารถเข้าถึงเปรียบเทียบ
พอเข้าถึงเปรียบเทียบนะครับ ก็มาที่ผู้นำผู้นำก็เรียนรู้เร็วขึ้นเพราะว่าไม่มีใครยอมว่าทำไมคนนั้นทำได้แต่ฉันทำไม่ได้ อันนี้เป็น Nature ของคนนะครับ Nature อย่างหนึ่งเรียกว่า Equality อยู่ในใจเราทุกคน คือความเท่าเทียมครับ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเมตตา มีพื้นฐานมาจาก Compassion แต่ว่าคำว่า Equality ถ้าเป็นในทางที่ดีก็คือหวังดี และยินดี ต่อผู้อื่นที่สำเร็จ และมองตัวเองว่าจะปรับปรุงในทางที่ดี แต่อีกทางที่ไม่ดี คือ ไม่ยินดีไม่หวังดีในความสำเร็จ ของผู้อื่นที่ดีกว่า ไม่พัฒนาตนและอยากจะไม่ให้คนอื่น ไม่ได้ดีไปกว่าตน ดึงลงมา แบบนี้เรียกว่าอิจฉา แต่มันมาจากพื้นฐานเดียวกัน มาจาก Equality ความเท่าเทียม ที่อยู่ในสามัญสำนึกของเรา มาจากพื้นฐานเดียวกัน อันนี้ก็เป็นเป็นกลไกตลาดนะครับความไม่ยอมกัน ว่าเธอทำได้ฉันก็ทำได้ อันนี้เป็นกลไกตลาด ผู้นำก็เหมือนกัน พอมีกลไกตลาด ผู้นำก็บอกไม่ได้และฉันก็ต้องคิดว่าเธอเปลี่ยนได้ ฉันก็เปลี่ยนได้แล้วก็จะขยายเป็นวงกลมวงหนึ่งเป็นศูนย์กลางก็เปลี่ยน KPI ของคุณครู บอกว่านี่คือไม่ถูกวัดในแบบเดิมแล้ว วันนี้คุณครูถูกวัดในอีกมิติหนึ่งเพิ่มขึ้นมาสำคัญ ไม่แพ้กับวิชาการ กลับสำคัญกว่าเดิมอีกนะครับแล้วมาดูผลลัพธ์ที่ว่าเด็กมีการพัฒนาการในเรื่องของเขา เรียกว่าความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกที่ฉันมีความเข้าใจ มีความมั่นคงชีวิต
ผมอยากจะเน้นตรงนี้อีกนิดนึงนะครับก่อนที่จะไปข้อ 5 เวลาพูดถึงความมั่นคงชีวิต ผมเคยไปเจอ นักเคลื่อนไหว เขาไปพรีเซนต์ที่ World Economic Forum แล้วก็ใช้คำ 1 แล้วสะดุดใจผมมากเลย เขาบอกว่าต้องเอาเด็กทุกคนเข้าโรงเรียน แต่ก็ไม่ได้คิดถึงการปฏิรูปการศึกษา เขาทำเรื่องสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ทำไมต้องเอาเด็กทุกคนเข้าโรงเรียน คนนี้เป็นคนที่ educate เรื่องของเขาเรียกว่า Modern slavery สังคมที่ใช้เด็กหรือผู้ที่ด้อยกว่าเป็นเหมือนทาสคือเด็กเนี่ยเขาไร้เดียงสา ผู้ใหญ่เนี่ยเอาเข้าไปหาประโยชน์ครับเพราะฉะนั้นเขาจึงบอกว่าต้องเอาเด็กทุกคนเข้าโรงเรียนเพราะโรงเรียนคือที่ที่ปกป้องเด็ก โอ้โหฟังแล้วเนี่ยทั้งคุณครูใหญ่ทั้งคุณครูในโรงเรียนจริงๆ แล้วเขาคือ green angel เขาคือผู้ที่เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องเด็ก โดยเฉพาะที่เด็กเหล่านั้นมาจากครอบครัวที่มีความยากจน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่มี ไม่มีเวลาหรืออาจจะกำพร้า
The Standard: อันนี้มันยิ่งเป็นคำตอบของคุณศุภชัยหรือเปล่าครับว่าโรงเรียน หลายคนพูดเรื่องนี้เยอะครับโรงเรียนในการเป็นอยู่ไหม มหาวิทยาลัยที่แบบที่เป็นตึกเนี่ยยังจำเป็นอยู่ไหม ในเมื่อตอนนี้ก็ใครก็เรียนออนไลน์ อันนี้ก็เป็นคำตอบของคุณศุภชัยว่าจำเป็นอยู่ ที่จะไปอยู่ในบทบาทในการปกป้องความเป็นมั่นคงของเด็ก
คุณศุภชัย : ใช่ยังจำเป็นอยู่ ในยุคสมัยที่พ่อแม่เองก็ต้องทำงานจะคอยสอน คอยดูแลลูก ทั้งวันไม่ได้ ก็แบ่งเบาภาระกัน มันก็เป็นระบบสังคมเศรษฐกิจ ที่เราเป็นอยู่ ที่แบ่งหน้าที่กัน ครับยังจำเป็นอยู่ครับ แต่แน่นอนพ่อแม่ควรจะมีบทบาทมากขึ้นในเรื่องการสอน หนึ่งของระบบหมุนเวียนในการที่จะสอนลูก แต่พ่อแม่อาจจะไม่มีศักยภาพทั้งหมด ผมจะบอกว่ามันจำเป็นขนาดนี้นะครับว่าในชุมชนหรือพื้นที่ที่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังไม่พร้อม โรงเรียนไม่ได้สอนลูกเท่านั้นนะครับ สอนผู้ปกครองด้วยบอกว่า Child-centric คืออะไร อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำกับเด็ก
ยกตัวอย่างนี้เกิดขึ้นกับตัวผมเองครับผมเนี่ยลูกชายคนโตเหมือนกัน ขอเรียกว่าผู้ปกครองอ่อนหัดก็แล้วกัน ผู้ปกครองแบบใหม่ ลูกผมมักจะมีความดื้อ
ทำไมต้องให้ทำอย่างนั้น ทำไมต้องให้ทำอย่างนี้อย่างนี้ เขาก็ต้องมีมีความคิดของเขา ผมก็ในหลายๆ ครั้งในหลายๆ โอกาสก็รู้สึกตัดรำคาญในเมื่อพูดแล้วไม่เชื่อ ก็บอกว่าเธอไม่ต้องถามเหตุผลทำตามพ่อ พ่อรู้พ่อรู้ดีกว่าเธอ เชื่อพ่อ
ซึ่งผิดอันนี้คือไม่ควรทำ ภรรยาผมเเป็นคนบอกผมว่า คุณห้ามพูดอย่างนี้ ไม่ว่าเรื่องมันจะเป็นเรื่องที่ง่ายแค่ไหนและเป็นเรื่องที่คุณก็รู้ว่ามันควรจะเป็นยังไง คุณจะต้องเสียเวลาอธิบายเหตุผลให้ลูกฟัง อันนี้คุณครูใหญ่ตัวจริงที่บ้าน ผมเนี่ยถึงจะรู้ว่า เราไม่ได้ว่าจบสูงจากอเมริกาเราอะไรมาแล้วเราจะรู้เรื่องหมดมันไม่ใช่บางทีเราต้องการสอนที่จะเป็นผู้ปกครองที่ดี ผู้ปกครองเขาต้องการการสอน คืออะไรถึงโรงเรียนมีบทบาท อย่างถ้าเกิดว่าไม่ฟังเหตุผลลูก ทำโทษลูก โดยที่ไม่มีเหตุผล ใช้อารมณ์ครับหรืออะไรก็แล้วแต่สิ่งต่างๆ ในหลายอย่างนี้ไม่ควรทำ บางทีไม่รู้ตัว เราก็คิดว่าเด็กยังไงก็คิดไม่ได้เท่าเรา ซึ่งถ้าคิดอย่างนั้นเนี่ยข้อ 2 ก็ไม่เกิด เด็กไม่มีความมั่นใจในตัวเอง
ผมเคยไปเจอท่านหนึ่งท่านอยู่ในการศึกษามาจนทุกวันนี้อายุ 70 กว่า ถามท่านคำถามเดียวกัน ดร.เฉินครับ ในเรื่องการศึกษาอะไรสำคัญที่สุด ซึ่งมันมาตอบสิ่งที่ผมเชื่อนะ แกก็บอกว่าอย่างนี้ ศุภชัยเธอถามยากจังถามว่าฉันตอบในหนึ่งประโยคเนี่ยมันจะบอกว่าในโลกของภาคตะวันตกเนี่ยโดยเฉพาะอเมริกา พ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกเสมือนเพื่อน ในโลกตะวันออกลูกจะต้องปฏิบัติตาม ต้องเชื่อฟัง เขาบอกว่าทั้งสอง culture เนี่ย ทั้ง 2 วัฒนธรรม มีทั้งดีและไม่ดีครับ ถ้าเอาสองอย่างนี้มารวมกันได้จะดีเลิศที่สุด คือเป็นทั้งเพื่อนด้วย บางครั้งก็เป็นผู้ปกครองด้วย คือเราไม่ได้บอกว่าลูกจะต้องเชื่อฟังอย่างเดียว แต่ว่าความหมายของ Culture ตะวันออกเนี่ยคือ กตัญญู ส่วนทางด้านตะวันตกอย่าง เช่นกรณีของอเมริกา คือเป็นเพื่อนและ independence คือเป็นตัวของตัวเอง มันจะขัดกันอยู่ แต่ถ้าผสมผสานทั้งสองอย่าง เข้าด้วยกันคือ เราเอาเรื่องความกตัญญูแต่ว่าในขณะเดียวกัน ก็เอาเรื่องความเคารพต่อเด็กเหมือนเพื่อนเรียนรู้ซึ่งกันและกันมาผสมผสานกันเ ราจะได้ที่ดีที่สุดของทั้ง 2 วัฒนธรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษามากในการสร้างมูลค่าคุณค่าต่อไป
มาถึงข้อ 5 เทคโนโลยี สมมุติว่าเรามีครบหมดข้อ 1 ถึงข้อ 4 ครบหมดละครับ แต่เด็กก็ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี ไม่ได้เป็น smart School เคยได้ยินสมุดพก Digital ไหม สมุดพกสมัยก่อนเราต้องเขียนเอาใช่ไหมครับ แล้วก็รายงาน คุณครูก็มีเขียนรายงาน พ่อแม่ต้องมาเซ็นรับรู้ แล้วก็เกิดขึ้นเทอมละ 1 ครั้ง แต่ว่าสมุดพก Digital เนี่ยพ่อแม่เข้าไปรู้ไปเห็นได้ทุกวันคุณครูส่งข้อความถึงพ่อแม่เลยทุกวัน อย่างเช่น ต่อไปเนี่ยคุณครูบอกว่าเด็กคนนี้ คุณครูมีความเห็นว่ายังไงในทางใดทางสังคมกับเพื่อนๆ ในทางวิชาการของวิชานั้นๆ ควรจะปรับปรุงยังไง คุณครูมีความเข้าใจได้แค่ไหน ถ้าท่านจะเป็นผู้ที่จะไปเป็นโค้ชให้เด็ก เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนเด็กท่านเข้าใจเด็กถูกไหม มันจะรู้ไปถึงขั้นนั้นเลย เขาใช้เวลาเขียนถึงเด็กคนนั้นเพื่อให้ผู้ปกครองอ่านก็รู้เหมือนกันเนี่ยใช้เวลากี่นาที แล้วก็รู้ว่าไปรับวันไหน เวลาไหน เราก็รู้หมดเลย แล้วต่อไปแล้วก็ใช้ AI เข้ามาช่วยได้แต่ระบบของการการเรียนการศึกษา อันนี้เป็นตัวอย่างนะครับผมยกตัวอย่างมา หนึ่งโรงเรียนมี 4 ข้อแรกครบเลยน ไปอีกโรงเรียนหนึ่งมีข้อที่ 5 เด็กทุกคนมีคอมพิวเตอร์ คุณคิดว่าโรงเรียนคุณเคน กับโรงเรียนที่ 2 เนี่ยเด็กคนไหนจะออกมาแล้วมีความรู้มากกว่ากัน ก็ต้องเป็นคนที่มีคอมพิวเตอร์และใช้มันได้หาข้อมูลได้ เพราะว่าเขาเข้าถึง และมียุทธวิธีและวิเคราะห์มันแล้วว่าข้อมูลจริงหรือเท็จประมาณไหน ถึงเรียกว่า Digital literacy ศักยภาพในการที่จะบริโภคข้อมูลและการใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูล เขามีตัวนี้แล้วไวด้วยข่าวสารทุกอย่างไวหมดเข้าใจทุกอย่างรวดเร็วหมดสามารถหยิบจับนะครับ Software of the shelf ต่างๆ มาใช้ได้หมดทุก อย่างลูกชายผมคนเล็กก็ชอบดนตรีต่อผ่านระบบ Social ต่างๆ เนี่ยปรากฏว่าเขาบอกว่าเขามีวงดนตรีวงดนตรีเขาเนี่ยเพื่อนๆ ที่เป็นวงของเขาเนี่ยอยู่ในอีก 3 -4 ประเทศ อยู่คนละประเทศ แต่ทำดนตรีออกมาด้วยกันเขาก็รู้จักใช้ซอฟต์แวร์และเขาก็รู้จักบอกว่าทำใน YouTube นะครับเพราะดูยูทูปไม่ติดลิขสิทธิ์เขาจะเอาเพลงที่ Cover อะไรเข้ามา Cover หรือว่าเอามาดัดแปลงซึ่งถูกห้ามเขาก็ทำอย่างนี้เด็กก็ไม่ก็ไม่มีโอกาสที่จะสร้างสรรค์เรื่องใหม่ๆ ทำในสิ่งเดิมที่ทำในสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม นี่ก็เกิดมิติใหม่ขึ้นมาว่าถ้าอย่างนั้นต้องสร้างอีก community นึงซึ่งไม่ใช่ YouTube แล้วเป็นที่ที่ลิขสิทธิ์ คนที่มีคนที่ยอมให้ลิขสิทธิ์เพื่อการพัฒนาในทางดนตรีของเด็กเหล่านี้มันจะเกิดขึ้นค่ะเพราะว่าโลกมันกว้างขึ้นกว้างขึ้นการเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆนี้มันสูงขึ้นสูงขึ้นเร็วขึ้นเร็วขึ้นเรื่อยๆครับตามอัตภาพตรงนี้มหาศาลโรงเรียนจะต้องติดอาวุธเริ่มเทคโนโลยี คือผมไม่กล้าบอกว่าโรงเรียนในโลกนี้จะต้องทำแบบนี้แต่ว่าทำไมประเทศเราเนี่ยไม่ให้เครื่องมือเขา แล้วมันอาจจะก้าวกระโดดเลยจาก 2.0 เนี่ยไปที่ 4.0 ครับ แล้วถ้าเราบอกว่าไม่มั่นใจว่าจะเปลี่ยนคุณครูนะครับ 5-6 แสนคนได้ ถ้าเราให้เครื่องมือกับเด็ก แล้วเด็กมีองค์ความรู้และเข้าถึงความรู้ได้ เด็กจะเป็นคนผลิตคุณครู
กลไกตลาดอีกฝั่งหนึ่งจะเกิด เพราะว่าต่อไปเด็กในความสนใจของเขาจะรู้ดีกว่าคุณครู ผมใช้คำว่าความสนใจหลายครั้งนะ ความสนใจมันเป็นเรื่องของส่วนตัวนะว่าเขาสนใจเรื่องนี้ แล้วก็ค้นคว้าแล้วก็สงสารอีกแล้วนะดูดีแล้วเขาก็รู้ว่าถ้าเอาไปอัพไลน์ไปช่วยยังไงก็แล้วแต่คนดึงความสนใจแตกต่างกันนะครับ ผมกำลังบอกว่าคอมพิวเตอร์เนี่ยนะครับมันเป็นอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ เหมือนกับสมัยก่อนเนี่ยเราเวลาสอบสอบเลขคณิตศาสตร์สมัยคุณเคนไม่รู้คุณครูยอมให้เอาเครื่องคิดเลขเข้าไปไหม ไม่ยอมรับ แต่สมัยนี้ยอมไหมไม่แน่ใจ ฉันใดก็ฉันนั้น ตอนนี้เวลาสอบนะในอเมริกานะไม่ยอมให้เอามือถือเข้าไป เจอแล้วเดี๋ยวหาคำตอบมาตอบได้ ไม่ให้เอามือถือเข้าไป แต่ถ้ามันฝืนธรรมชาติไหม คุณก็ต้องออกข้อสอบให้มันให้มันแบบว่าเปิดได้ แล้วก็ยังตอบไม่ได้ต้องมีใครเขาก็สอนให้มันเฉยๆ เจะไปสนใจทำไมอันนี้คือสิ่งที่คุณต้องการให้เขามั่นใจว่าเขาไม่เข้าใจพื้นฐานของอเมริกา ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แล้วให้เขาพยายามตอบปัญหาจริงๆให้เขาแก้ดีกว่าอันนั้นน่ะแล้วเขารู้ว่ามันจะใส่ยังไงครับอันนี้คือจะเป็น Action Learning rate ไปกับเพื่อนต่อไปการสอบได้มันต้องเป็น Action Learning คุณไปปฏิบัติแล้วคุณมาสอบสอบว่าผลปฏิบัติของคุณเป็นยังไงก็ต้องเข้าใจยังไงข้อสอบชีวิตจริงมากขึ้นเท่านั้นสวยไม่ได้ไม่ได้เป็นต้นนะครับถ้ายังเหมือนเดิมใช้ความจำเอาอย่างนี้บางทีมันก็จำได้สอบได้แต่พอจบไปก็จะไม่ได้หมดแหละขับแล้วไม่รู้ไปทำอย่างไรด้วยครับ