• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

“คน” คือทุนที่ดีที่สุด ในทัศนะ “ศุภชัย เจียรวนนท์” กับข้อเสนอ 5 การเปลี่ยนแปลงสำคัญเพื่อ ‘ปฏิรูปการศึกษา’ ตอนที่ 1


18 กันยายน 2563

 ขอบคุณคลิปจาก THE STANDARD

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว THE STANDARD ถึงประเด็นการปฏิรูประบบการศึกษาไทย และการยกระดับแรงงานในอนาคตให้มีทักษะพร้อมรองรับความต้องการของตลาด โดยได้เสนอ 5 มาตรวัดที่จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการพลิกโฉมการศึกษาไทย ประกอบด้วย 1. ความโปร่งใสในการเปิดเผยประสิทธิภาพของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง 2. ความเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 3. การให้เด็กเป็นศูนย์กลางของระบบการศึกษา 4. ความเท่าเทียมในระบบการศึกษา 5. เทคโนโลยี 

นอกจากนี้ยังได้นำเสนอแนวคิดสนับสนุน ‘กองทุน Angel Fund’ แบบให้เปล่ากับนักเรียนและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อฝึกฝนให้เด็กๆ เกิดไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา Pain Point ต่างๆ นำเงินทุนที่ได้รับไปปลุกปั้นสตาร์ทอัพหรือธุรกิจของตัวเองขึ้นมา เป็นการปลูกฝัง ‘วิธีคิด’ การเป็นเจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือนวัตกรให้กับเด็กๆ โดยสิ่งเหล่านี้เป็นกลไกสำคัญในการผลิต ‘แรงงานแห่งอนาคต’ (Future Workforce) หรือบุคลากรของประเทศในยุคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) 

CP E-News ได้นำบทสัมภาษณ์ Q&A ฉบับเต็มทั้งหมดมานำเสนอเพื่อให้เห็นถึงทัศนะและวิสัยทัศน์ภาพใหญ่ในการปฏิรูปการศึกษา ของคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะฉายให้เห็นถึงมิติของการวางรากฐานการศึกษาที่ยั่งยืน

 

The Standard : ทำไมคุณศุภชัยถึงสนใจเรื่องการศึกษา และมี passion เรื่องนี้มาก

คุณศุภชัย : ผมสนใจประเด็นการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากสนับสนุนให้ทุนการสร้างคอนเทนท์เรื่องการเรียนการสอน โดยผมตั้งเป้าหมายเมื่อนานมาแล้วว่า 20 ปีแรกเรียน 20 ปีที่สองทำงานสร้างประสบการณ์ และหลังจากนั้น เราต้องทำเรื่องที่ทำให้ส่วนรวม โดยเลือกทำเรื่องคน เพราะตั้งเป้าการเป็นสังคมที่เข้มแข็ง เป็นสังคมอุดมปัญญา เป็นสังคมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน มีเศรษฐกิจที่ดี เมื่อคิดว่าเราจะเปลี่ยนประเทศนี้ใช้เวลาถึง 15 ปี – 20 ปี ต้องเริ่มที่ไหน คำตอบทุกทางกลับมาบอกว่าเริ่มที่คน เพราะคนคือคนที่สร้างประเทศ เพราะการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุด คือการลงทุนในคน แม้กระทั่งรถไฟความเร็วสูง คนก็ยังคุ้มกว่า เพราะถ้าเราใช้คำว่า human capital คนคือทุนที่ดีที่สุด คนคือการสร้างมูลค่าที่สร้างสรรค์ไปถึงสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ อันนั้นคือความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การไม่ทำให้เกิดความสูญเสีย หรือว่าเกิดมลพิษ เกิดขยะ ล้วนแล้วต้องใช้ปัญญาของคนทั้งนั้น ถ้าถามว่า วันนี้ถ้าเราจะเลือกว่าเราจะต้องลงทุนกับอะไร สำคัญที่สุดต้องลงทุนเรื่องคน 

คุณแม่ผมตั้งแต่เด็กๆ ท่านบอกว่าให้ตั้งใจเรียนนะ บอกว่าให้เรียนหนังสือ ไม่เคยบอกแม้แต่คำเดียวว่า ต่อไปมาทำงานในเครือซีพี มาทำงานแทนคุณพ่อ หรือมาทำอะไรไม่เคยบอกสักคำ มีแต่บอกว่าไม่มีทรัพย์สินอะไรติดตัวเรานอกจากความรู้ หมายความว่า ท่านไม่ได้สอนให้เรามี comfort zone จะบอกว่าไม่มีทรัพย์สินใดในตัวเลย วันนี้มีพรุ่งนี้ไม่มีก็ได้ แต่สิ่งที่อยู่กับเราตลอดคือความรู้และสติปัญญา ก็คือคุณค่าในตัวเรา 

 

The Standard : ในการปฏิรูปการศึกษาคุณศุภชัยเริ่มที่อะไร แล้วมองเห็นอะไรในปัญหามากที่สุด

คุณศุภชัย : ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าการที่จะปฏิรูปการศึกษา เราไม่ได้ไปปฏิรูปที่โรงเรียน เราต้องปฏิรูปที่ระบบนิเวศของโรงเรียน ของนักเรียน อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องปฏิรูปที่ตัวชี้วัดใหม่ ต้องรู้ว่าความสำเร็จจริงๆของโรงเรียนในยุคต่อไปและของเด็กคืออะไร ถ้าเรายังบอกว่า สอบผ่านโอเน็ต ม.3 ม.6 เรียนในห้องเรียนได้สอบผ่าน ถ้าเป็นเอกชนก็อาจจะดูคะแนน ความสำเร็จของโรงเรียนมันไม่มีการถูกวัดอย่างจริงๆ ตัวชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียนบางมาตรฐานก็เก่า ยังคล้ายกับที่ผลิตบุคลากรไปให้กับอุตสาหกรรมสมัย 2.0 หมายความว่าคุณครูคือศูนย์กลางความรู้ เหมือนกับเป็นกองร้อย มีเด็กนักเรียน คุณต้องฟังฉันอย่างเดียวนะ แล้วสมัยนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้นจริง เพราะมันไม่มีอินเตอร์เน็ต คือองค์ความรู้ไม่ถูกกระจาย ต้องไปเสาะหาอาจารย์ที่เก่ง มันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ผิดอะไรแล้วก็ถูกต้องในสมัยนั้น แต่เรามาถึงยุคอินเตอร์เน็ตเกิดขึ้น เกิดองค์ความรู้ที่เข้าถึงได้อย่างมหาศาล เกิดเรื่องของ digital connectivity เกิดเรื่องของ globalization ความเป็นหนึ่งเดียวของโลก ไม่ใช่เฉพาะการส่งสินค้าที่มีคุณภาพ การถ่ายเทของทุน การถ่ายเทของบุคลากร แต่มันเกิดการถ่ายเทขององค์ความรู้ ดังนั้นจึงมีคำว่า Digital literacy ศักยภาพในการที่จะใช้ดิจิทัล ศักยภาพในการที่จะใช้อินเตอร์เน็ต จึงเป็นตัวชี้วัดใหม่ของระบบของการเรียนรู้ การศึกษาและศักยภาพของประเทศ และเราก็มาพูดเรื่อง Digital workforce , Future workforce ต่อไปเรื่อง 4.0 ต้องการบุคลากรแบบไหนไล่มาเรื่อย แต่ทั้งนี้ทั้งหมดเราไม่ปรับโครงสร้างหรือกระบวนการเรียนการสอนการศึกษาของประเทศ เราไม่ให้อุปกรณ์ หรือว่า เราไม่ให้โซลูชั่น เราไม่ให้อะไรเลย ทุกอย่างยังเหมือนเดิม ถ้าเราเดินไปวันนี้ออกนอกกรุงเทพไปสัก 10 กิโล ทุกวันนี้เขาก็ยังใช้ช็อกกับกระดานอยู่ ลองคิดดูว่าช็อกกับกระดานใช้มานานตั้งแต่สมัยไหน ไม่ใช่ 200 ปีนะ นานกว่านั้นอีก คือทุกอย่างยังเหมือนเดิม เด็กยังใช้สมุดโน้ตอยู่ จดคัดลายมือ คือกระบวนการเหล่านี้ ถามว่ารู้ไหม รู้ ควรเปลี่ยนไหม เปลี่ยน ซึ่งผมเรียกว่าเป็น 5 ข้อของการเปลี่ยนแปลงในยุค 4.0 คือ 

1. Transparency ในการศึกษา เพราะว่ามันไม่มีการ disclose ว่า performance เป็นอย่างไรให้ผู้ปกครองได้รับทราบ มันไม่มีตัวชี้วัดที่ใหม่แล้วมองเห็นว่าทำดีหรือทำไม่ดี มีแต่โอเน็ต คุณจะบาลานซ์ความรู้ทางวิชาการกับคุณค่าทางจิตใจได้อย่างไร ตลอดจนไปถึงเรื่องศักยภาพในการใช้เทคโนโลยี ในกรณีนี้คือดิจิทัล เทคโนโลยี digital connectivity คือการที่ภาษามันเปลี่ยนจาก ก ข เป็น 01 ซึ่งศักยภาพตรงนี้มันไม่ได้ถูกนำมาประยุกต์ ฉะนั้นต้องมีความโปร่งใส กลไกตลาด ที่ต้องปฏิรูป

 

The Standard : กลไกตลาดที่คุณศุภชัยหมายถึงคือ เขาต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้องแข่งขันกับโรงเรียนอื่น แบบนี้ใช่ไหม

คุณศุภชัย : ถูกต้อง และ เขาต้องตอบโจทย์ผู้ปกครอง ต้องตอบโจทย์เป้าหมายว่า ผู้ปกครองอยากจะให้ลูกและตอบโจทย์เป้าหมายประเทศ ตอบโจทย์ว่าทำไมเราถึงจะให้เด็กเหล่านี้ออกมาแล้วมีงานทำ เด็กเหล่านี้ออกมาแล้วเป็นผู้ที่สร้างศักยภาพให้เศรษฐกิจและสังคม อันนี้คือไม่มีตัวชี้วัดจริงๆ มันก็จะไปตามวิชาต่างๆ 40 50 ปี เป็นอย่างไรก็จะเป็นแบบนั้น 

 

The Standard : เขาไม่จำเป็นต้องยกระดับตัวเองเพื่อแข่งขันกับโรงเรียนที่อยู่ข้างๆ อะไรแบบนั้น

คุณศุภชัย : ถูกต้อง ไม่ต้องเพราะไม่มีกลไกตลาด กลไกตลาดจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากข้อ 1 ก่อน ความโปร่งใสของข้อมูล เพราะว่าพอมีความโปร่งใสของข้อมูล สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ engagement หมายความว่า พ่อแม่เริ่มเห็นว่า ทำไมโรงเรียนตำบลเราสู้ตำบลอื่นไม่ได้ เราย้ายดีไหม ทำไมเพื่อนบ้านเริ่มย้ายลูกไปอีกโรงเรียนหนึ่ง เพราะโรงเรียนนั้นดีกว่า โรงเรียนเดิมที่บอกว่านักเรียนเริ่มย้ายเพราะว่า Budget subsidy มันเป็นต่อหัวเด็กนะ ก็เสียเด็กนักเรียนไป ตัว subsidy ก็ลดลง ตัว Budget ที่จะส่งมาให้โรงเรียนก็ลดลง ก็ขวนขวายว่าทำไมฉันสู้เขาไม่ได้ กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงต้องมีการเปรียบเทียบ เปรียบเทียบจะเกิดขึ้นได้ต้องโปร่งใส เมื่อเปรียบเทียบได้ก็เกิด engagement กลไกตลาด เพราะผู้บริโภคกลไกตลาดต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเขาให้กับลูกเขา อันนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ผมถึงบอกว่าไม่ได้ไปแก้ที่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว ต้องแก้ที่ ecosystem กระบวนการในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือกระบวนการการเปรียบเทียบ ไม่ใช่ว่าทุกคนอยู่ดีๆจะกลายเป็นโรงเรียนที่ คือ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ตัวผอ.ก็ดี จะเป็นรัฐ เอกชน ก็ดี สามารถทำงานได้ต่อเนื่องยาวพอก็ขับเคลื่อน ใน 100 คน อาจจะมีสัก 1 – 2 คน แต่ 1 – 2 คน นั้นแหละ ที่เขามีความเชื่อความศรัทธาว่าเปลี่ยนได้ คนอื่นอาจจะบอกว่าเปลี่ยนยาก แต่สองคนนี้บอกเปลี่ยนได้ พอคนอื่นอีก 90% เห็นว่าทำไมสองคนนี้เปลี่ยนได้ ตัวเขาเองเริ่มเกิดอะไรขึ้น จากเดิมที่ไม่เชื่อว่าเปลี่ยนได้ เริ่มบอกว่าถ้าเขาทำได้ ทำไมฉันทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นพอถัดจากสองคนนี้ อีก 15 คน ก็ว่าเราน่าจะทำได้เหมือนกัน พอ 15 คนนี้ทำได้ อีก 50 คนก็บอก 15 คนนั้นก็ไม่ได้ดีกว่าเรา ที่เราคิดว่าทำไม่ได้ ทำไมเขาทำได้ มันก็กระทบเป็นลูกโซ่ การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยศรัทธาและความเชื่อ ศรัทธาและความเชื่อที่ดีที่สุดเกิดจากตัวอย่างที่ดี และการเปรียบเทียบ และแน่นอนคือ reward กับ intensive ก็หมายความว่าคุณได้รับรางวัล ได้รับการยกย่องจากชุมชน จากตำบลจากอำเภอ จากจังหวัด 

 

The Standard : ที่ฟังก็คือกลไกการตลาด ก็จะส่งเสริมการแข่งขัน ภาพคล้ายๆกับการทำธุรกิจ คนก็จะแข่งขันกันมากขึ้น คุณทำได้ ก็จะพัฒนา กรณีการศึกษาที่กังวลเรื่องความเหลื่อมล้ำ โรงเรียนดีๆจะไปกระจุกตัวอยู่ แล้วก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น เด็กฝากบ้าง พยายามให้ลูกได้เข้าเรียนบ้าง ถ้าเกิดว่าเราทำให้มันเป็นกลไกตลาดเข้ามาอยู่ในการทำโรงเรียนรัฐบาล จะเกิดผลกระทบแบบนั้นไหม

คุณศุภชัย : เราเอาภาพใหญ่ก่อน ถ้าเราคิดว่ามันจะต้องไม่มีเด็กฝาก หรือคอร์รัปชั่นเลย อันนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เหมือนกับร่างกายเราที่บอกว่า เราไม่มีไวรัสเลย พอถึงเวลาไวรัสมา ตายเหมือนกันนะ แต่เราต้องไม่ให้ไวรัสมันมีเกินปริมาณ ความหมายของผมคือว่า ความโปร่งใส government การเปรียบเทียบแข่งขันเป็นที่มาของการทำให้เกิดเชื้อโรคตาย คอร์รัปชั่นมันจะลดลง แต่จะถึงศูนย์ไหมอาจจะไม่ถึงศูนย์ แต่มันจะลดลงโดยปริยายอยู่แล้ว แต่ต้องเริ่มต้นจากจุดนั้นก่อน เหมือนกับต้นไม้ ผมก็เรียนรู้มา ถ้าเกิดเราปลูกต้นไม้หรือต้นมะม่วง แต่แสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงโคนต้น โคนต้นมันจะอับชื้นและขึ้นรา แล้วในที่สุดจะเป็นโรคแล้วก็ตาย เพราะฉะนั้นเกษตรกรที่เป็นผู้รู้ เขาจะตัดข้างบนให้แสงส่องถึงลำต้นได้ อันนี้เราถึงจะลดเชื้อรา แต่ถามว่าเชื้อราจะเป็นศูนย์ไหม ไม่เป็นศูนย์ อันนี้เป็นหลักธรรมชาติ เริ่มต้นจากความโปร่งใสก่อน แล้วถ้าเกิดว่าโรงเรียนนั้นเขาคอร์รัปชั่นมาก เขาอาจจะเอาเด็กเส้นมากยังไงก็แล้วแต่ ในที่สุด performance ของเขาก็จะดรอป เพราะเขาไม่ได้คัดเด็ก ยังไงก็ตาม ผมมองข้ามเด็กเส้น หรือเด็กอะไรพวกนั้น ผมมองว่าแล้วคุณผลิตเด็กได้ดีไหม เขาจะเส้นหรือไม่เส้นก็แล้วแต่ ขอให้คุณผลิตเด็กได้ดีแล้วกัน ขอให้ว่าเด็กเหล่านั้นออกมาแล้วเป็นคนดี คนที่มีคุณภาพ สร้างประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 

 

The Standard : คืออยากให้มันเกิดขึ้นก่อน เรียงลำดับความสำคัญก่อน อาจจะมีช่องโหว่บ้างเล็กน้อย ก็ไปแก้ไขไปจัดการเอา

คุณศุภชัย : ก็ใช้ความโปร่งใสช่วยเพราะว่าเราต้องมองเป็นระบบนิเวศ เราไม่สามารถมองว่าแต่ละโรงเรียนต้องเป็นยังไง อันนี้คือหลักธรรมชาติ ต้นไม้แต่ละต้นต้องเป็นยังไง แต่ว่าปุ๋ย น้ำ แสงอาทิตย์ การดูแล ให้แสงส่องถึงโคนต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ เพื่อให้ต้นไม้นั้นแข็งแรง แล้วหลังจากนั้นเราค่อยๆเปลี่ยน เมล็ดพันธุ์ก็ต้องดี 

ข้อ 3 ก็คือ ผู้นำ เราเรียกว่าเป็น leader หรือ leadership ในที่นี้เราพูดถึง ผอ. ผมมีโอกาสเจอ founder ของ teach for all รวมทั้ง teach for Thailand ก็อยู่กับ teach for all ชื่อ แวนดี้ ผมก็ถามเขาว่า ผมชอบถามทุกคนแบบนี้เวลาผมเจอนะ ใครที่แบบมีประสบการณ์เยอะๆ ผมถามว่า ช่วยบอกผมหน่อยเถอะ ความสำเร็จ in one sentence ของการเปลี่ยนแปลงโรงเรียน คืออะไร เขาก็บอกผม คำนี้เลยนะครับ “ผู้นำ” แต่ใส่วงเล็บ ไม่ได้ใส่เฉพาะผู้นำนะ ผู้นำที่มีอายุยังไม่มากเขาบอกตัวเลขมาหมดเลยนะ ส่วนใหญ่แล้วในประสบการณ์เขา คนที่สามารถเปลี่ยนแปลงโรงเรียนได้จะอยู่อายุประมาณ 28 – 32 ปี หลักการคือ ไม่ใช่เพราะว่าผู้นำรุ่นใหม่เก่งกว่าผู้นำรุ่นเก่า แต่ผู้นำรุ่นใหม่ยินดีที่จะทุ่ม 5 ปี 10 ปี ลงไป เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง โดยที่เขารู้ว่า แม้ว่าเขาจะล้มสักกี่ครั้งในระหว่างทาง เขาก็ลุกขึ้นยืนมาใหม่ได้ 

The Standard: แสดงว่ามันใช้พลังเยอะนะครับ การศึกษา

คุณศุภชัย : ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นผู้นำกว่าจะไต่เต้าถึงระดับสูง อายุใกล้เกษียณแล้ว เขาจะไม่ได้มองความเปลี่ยนแปลงหรือความล้มเหลวไม่ได้ เขาจะมองว่าเขาจะค่อยๆเกษียณอย่างสวยงามยังไง ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร มันก็เป็นวิวัฒนาการเป็นปกติของมนุษย์อยู่แล้ว แต่คนที่เข้ามาใหม่ อย่างน้อยคือเขาเป็นเจเนเรชั่นที่อยู่ระหว่างกลางพอดี เขาเห็นทั้งรุ่นที่ใกล้เคียงกับเขาคือรุ่นใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เขาเห็นทั้งรุ่นเก่าที่เป็นรุ่นพ่อ เขาเป็นคนที่เป็น change agent ที่เหมาะที่สุด อันนี้เป็นข้อที่ 2 ทีนี้เราก็ไม่ได้บอกว่า ทุกคนเกินอายุเท่านี้ก็ไม่เหมาะเป็น ผอ. ไม่ใช่ ผมกำลังเปรียบเทียบว่า ทุกอย่างมันเป็นเรื่องทัศนคติ เคยได้ยินคำว่า young at heart หัวใจยังหนุ่มสาวอยู่ คือยังเปิดกว้าง ยังพร้อมที่จะลุย ยังพร้อมที่จะล้มเหลว เรียนรู้ เริ่มใหม่ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมได้รับรู้มา เช่นเดียวกันผมไปเจออีกท่านหนึ่ง ท่านบริหารมูลนิธิที่ไปแก้ปัญหาที่ newyork state school คือเป็นโรงเรียน 2000 กว่าโรงเรียนในนิวยอร์กของรัฐเหมือนกัน ท่านชื่อ Bob Knowling ผมก็ถามคำถามเดียวกันเหมือนกัน เขาบอกว่า ศุภชัย ผู้นำต้องเป็นรุ่นใหม่ แล้วเขาบอกว่าเปลี่ยนแปลงได้แน่ เพราะว่า เขาเห็นมาตั้งแต่โรงเรียนที่ใช้ตั้งแต่ประตูสนามแม่เหล็กก่อนเข้าโรงเรียน นึกออกไหมเหมือนกับเราไปสนามบิน คือเช็คอาวุธว่าเด็กเอาอาวุธมาโรงเรียนหรือเปล่า เพราะว่ามันมีอาชญากรรมเกิดขึ้นตลอด เพราะเด็กมันวัยรุ่น มันใจร้อน ในบริเวณในแถบที่ยากจน แถบที่คอนข้างจะมียาเสพติดเยอะ แต่เขาเห็นมาแล้วว่าจากโรงเรียนแบบนี้ยังเปลี่ยนให้กลายเป็นโรงเรียนที่ดีได้ ปรากฏว่าอาจารย์ใหญ่ หรือครูใหญ่คนนี้ เขาเริ่มต้นจากอะไรรู้ไหมครับ เขาเริ่มต้นจากการที่เขา รู้แล้วว่าเด็กเหล่านี้เฮี้ยวหมดเลย คนที่จะเอาเด็กเหล่านี้อยู่คือ พ่อแม่ของเขา เขาเริ่มต้นจากการเคาะประตูทีละบ้าน แล้วก็ขอให้พ่อแม่ให้ความร่วมมือ แล้วก็ขอให้พ่อแม่มาเป็นอาสาสมัครด้วย แล้วพ่อแม่ก็จับกลุ่มเป็นเพื่อน เป็นชุมชนร่วมกัน บอกลูกเธอวันนี้ทำอะไร ก็ผลัดกันเข้ามาช่วยโรงเรียน จนกระทั่งทุกวันนี้โรงเรียนไม่มีประตูสนามแม่เหล็กเอาไว้จับอาวุธแล้ว แล้วเป็นโรงเรียนที่ทุกคนอยากจะสมัครเข้าไป แต่ว่ามันเริ่มต้นจากการไปเคาะประตูทีละบ้าน อันนี้เป็น commitment ของผู้นำโรงเรียน และมีจิตใจที่จะเห็นว่านักเรียนเหล่านี้ต่อไปมีความเจริญ และเจริญกว่าตัวเขาเอง จิตใจอันนี้เป็นจิตใจของอาจารย์อย่างแท้จริง 

 

The Standard : ตั้งแต่ผมดูมา ผมไม่แน่ใจว่าในประเทศไทยมีกี่โรงเรียนที่มีอาจารย์ใหญ่ หรือ ผู้อำนวยการที่มีอายุประมาณนี้ มีไหมครับ

คุณศุภชัย : เริ่มมี ในโครงการประชารัฐ หรือ คอนเน็กซ์อีดี อันนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยของท่านรัฐมนตรี ธีระเกียรติ ท่านก็เริ่ม เราก็บอกหนึ่งใน eco system หรือระบบนิเวศที่สำคัญ คือว่า คนที่ qualify อย่าไปจำกัดอายุ คือคนที่เหมาะสม ศักยภาพถึง ใจมีความต้องการ ภาษาอังกฤษเราเรียก passion มีความตั้งใจจริง และความมุ่งมั่น และมีศักยภาพถึง อย่าไปจำกัดอายุ อย่าไปจำกัดซี ว่าอยู่ซีอะไร ก็ปรากฏว่าก็เกิดการทดลองขึ้นมา เพราะฉะนั้นตอนนี้ ผอ.ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยน่าจะอายุ 29 

 

The Standard : แล้วเป็นอย่างที่กูรูทั้งสองท่านแนะนำไหมครับ ว่าผู้นำรุ่นใหม่

คุณศุภชัย : ตอนนี้ยังมอนิเตอร์อยู่ แต่จริงแล้วมันก็คือ ในที่สุดมันก็ไม่ได้บอกว่าแล้วคนรุ่นเก่าจะไปไหน มันไม่ใช่ แล้วคนรุ่นเก่าก็เรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ก็เรียนรู้จากคนรุ่นเก่า พราะคนรุ่นใหม่ที่ทำสำเร็จและเปิดกว้างก็คือ เขา young at heart เขายังเป็นคนที่เปิด น้ำไม่ได้เต็มแก้ว เขายอมรับความเปลี่ยนแปลง ผอ.แบบนี้ก็มี แต่ไม่ได้มีเยอะ แต่มี แต่ว่า to see to belief ให้ได้เห็นของจริงคือความเชื่อที่ดีที่สุด ได้สัมผัสได้เห็นของจริงคือความเชื่อที่ดีที่สุด อย่างที่ผมกล่าวตอนแรกเมื่อมีตัวอย่าง ทำไมท่านนี้ทำได้ อีก 10 คนก็บอกถ้าอย่างนั้นฉันน่าจะทำได้ อีก 100 คนก็บอกฉันก็น่าจะทำได้เหมือนกัน นี่คือสิ่งที่ต้องมีการขยายผล เพราะนั้น ผอ. ต้องให้เราเรียกว่า ความยกย่องให้รางวัล และให้ถ่ายทอด และให้เป็นตัวอย่าง เด็กคือผู้นำ แล้วท่านทำอย่างไรถึงสำเร็จด้วยอะไร ทั้งอุดมการณ์ ทั้งทุกอย่างเลยนะ ทั้งเทคนิค มันต้องมีครบหมด มันไม่มีอย่างเดียว 

ที่นี่ข้อที่ 4 คือ  Child centric เด็กเป็นศูนย์กลาง ข้อนี้สำคัญมากคือ ศูนย์กลางทำอย่างไร

 

The Standard : ผมได้ยินคำนี้มานานมากเหมือนกัน ยุคผมใช้คำว่า Child center จำได้แม่นเลยครับ ผมก็งงๆเหมือนกัน ตอนเป็นนักเรียนอยู่ จู่ๆเขาจะเอาเราเป็นศูนย์กลางหรือ แล้วปกติเราต้องนั่งฟังคุณครูเป็นศูนย์กลาง ก็แอบๆงงเหมือนกัน ตอนนี้เท่าที่ผมทราบก็คือว่า ให้ดูความต้องการของเด็กด้วยว่า ความต้องการไม่เหมือนกันด้วย อันนี้คือที่ผมทราบมา แล้วคุณครูก็เปลี่ยนบทบาทตัวเองเป็นครูหลังห้อง ไม่แน่ใจว่าใช่อย่างนั้นไหมครับ 

คุณศุภชัย : ถูกต้อง  คือเปลี่ยนจากการที่เป็น instructor เป็นผู้ออกคำสั่ง เป็นผู้สนับสนุน เป็นผู้ดึงเอาศักยภาพ ดึงเอาความสนใจของเด็กแต่ละคน สมมุติว่าเราไม่หวังดีกับเด็ก จะทำลายเด็กทั้งชีวิตเลย ทำอย่างไร ทำแค่ 2 เรื่อง คือ 1. ไม่ให้ความรัก ไม่ให้ความเอาใจใส่ ไม่ให้ความมั่นคง พูดง่ายๆ คือไม่ให้ความอบอุ่น ทำให้เด็กไม่มีความมั่นคงในชีวิต รู้สึกไม่มีความรัก 2. ไม่ให้ความมั่นใจ เธอทำอะไรก็ผิดหมดฟังฉันอย่างเดียวก็พอแล้ว ไอ้ที่เธอคิดเหตุผลของเธอมันไม่มีความหมาย เพราะเธอยังเด็กหรอก 

ผมยังจำได้เลยนะตอนเด็กๆ ตอนอายุ 8 ขวบ ผมไปเรียน American School ที่ไต้หวัน แล้ววันหนึ่งมีแฟร์ครอบครัว ก็มีครอบครัวผู้ปกครองมาแล้วเด็กนักเรียนก็ทำของมาขายตั้งแต่ ป.1 ไปจนถึง ปี 12 เลย แล้วก็เป็นแฟร์ เหมือนแบกับดินถนนคนเดิน ทุกคนก็เตรียมขนมมาบ้าง น้ำมาบ้างบางคนก็เอาเครื่องปั้นมา บางคนทำสิ่งที่เป็นประดิษฐ์ด้วยตัวเองได้เอามาขาย ในงานซึ่งเป็นเหมือนกันซึ่งเป็นตลาด เนื่องจากที่ผมไปในตอนนั้นคุณพ่อคุณแม่ส่งอยู่ไปอยู่กับโรงเรียนประจำไปอยู่กับพี่เลี้ยง ส่วนคุณพ่อคุณแม่อยู่เมืองไทย ก็บอกว่าครูว่าพ่อคุณแม่เรามาไม่ได้ เราก็รู้อยู่แล้วล่ะพ่อแม่เราไม่ได้ เพื่อนๆ คนอื่นก็มีพ่อแม่มาเต็มไปหมดเลยนะครับ มาก็มาช่วยกันซื้อของ พ่อแม่เธอพ่อแม่ฉันนะเรารู้จักกันมาซื้อของ 

ส่วนผมในวันนั้นก็ไม่รู้จะขายอะไรก็เลยรู้สึกว่าเราเนี่ยวาดการ์ตูนยังจำได้เลยว่าวาดบักบันนี่ วาดมิกกี้เมาส์บ้าง ระบายสีแล้วก็มีสัก 3-4 รูปแล้วเอามาแบกับดินขาย ก็ปรากฏว่าก็รออยู่ตั้งนานไม่มีใครซื้อของผมเลย ราก็เริ่มเศร้าแล้ว ก็ปรากฏว่าคุณครูคุณครูประจำชั้นก็เดินเข้ามา ทำไมรูปของเธอเนี่ยมันสวยจังเลย ฉันชอบรูปนี้ฉันอยากจะซื้อเธอขายเท่าไหร่ ผมก็บอกว่าแล้วแต่ครับ ผมไม่ได้ตั้งราคา ยังตั้งไม่เป็น ตอนนั้นได้มา 10 เซ็นต์ ภูมิใจมากหลังจากวันนั้นเป็นต้นมา ผมมีความมั่นใจว่าผมวาดรูปเก่ง อันนี้สำคัญนะครับทุกวันนี้ก็ยังวาดอยู่ 

ลูกชายผมคนโตเป็นนักว่ายน้ำตอน 8 ขวบ ไปแข่งว่ายน้ำ ก็ปรากฏว่าไปแข่งที่สโมสรแห่งหนึ่งว่ายเป็นงูเลื้อยเลย ปกติเวลาว่ายน้ำมันจะมีเลนใช่ไหมครับที่เป็นทุ่นลอยน้ำว่ายชนเลนฝั่งหนึ่ง ชนไปชนมา เป็นงูเลื้อยเลย ปรากฏว่าได้เหรียญได้เหรียญที่ 3 ได้เหรียญทองแดงแต่ว่ามันเป็นกุศโลบายที่ดีคือในการแข่งขัน 1 ครั้งเนี่ยมีแต่แค่ 3 คน เด็ก 8 ขวบได้ห้อยเหรียญ คือทุกคนก็จะได้ เหรียญทองแดงตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาเนี่ยแต่เขาคิดว่าเขาว่ายน้ำเก่ง ตัวเองก็แล้วก็รู้ว่ามีชนะมีแพ้มีชนะหรือแพ้ ผมกำลังบอกว่า facilitator เนี่ยคือคนที่คอยสังเกต คือคุณครูที่คอย facilitated จะต้องมองออกว่าเด็กคนนี้ เขามีความสนใจเรื่องอะไร 

 

The Standard : เขาเป็นเป็นคุณศุภชัยตอน 8 ขวบที่วาดรูปเก่งหรือป่าว เขาเป็นลูกคุณศุภชัยที่ว่ายน้ำได้หรือป่าวต้องสังเกตให้เห็น

คุณศุภชัย : ต้องสังเกตให้เห็นและดึงศักยภาพนั้นออกมา แล้วทำให้ในหมู่เพื่อนๆ เองก็มีความยอมรับว่าเธอเก่งเรื่องอะไร แต่เราไม่ได้ซี้ซั้วนะ เขาต้องสังเกตตั้งแต่เด็ก ศักยภาพของเขาไม่เหมือนกัน เหมือนเรามีลูก 3 คน ไม่เหมือนกันสักคน แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีเราจะเห็นความสนใจ เขาจะโชว์ออกมาอันนี้เป็นสิ่งที่คุณครูในยุคต่อไป Child-centric จะต้องรู้เรื่องนี้ แต่ในทางกลับกันถ้าอยากให้เด็กเนี่ยไปในทางที่ดี ก็ทำ 2 เรื่อง 1. การให้ความรักหนึ่งให้ความรักกับ 2.ให้ความมั่นใจ

ให้ความรู้นั้นต้องให้ด้วยนะ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณครูต้องให้อยู่แล้ว แต่ว่า ให้ความรัก ให้ความมั่นใจ ให้ความรู้ ให้การเข้าถึงความรู้ คือไม่ใช่ให้ความรู้อย่างเดียวแล้ว คุณครูต่อไปไม่ได้เป็น Center ของความรู้  Google รู้ดีกว่าคุณครูอีก อย่างลูกชายผมป่วยไม่สบายท้องเสีย ก็ Search ไปหมด พอพาไปหาหมอไปเถียงกับหมอนะครับ หมอก็อายุมากแล้วยะ ลูกชายผมก็อายุแค่ 17-18 ก็ไปเถียงกับหมอ เถียงไปเถียงมา หมอบอกว่าเธอพูดมีเหตุผล คือมันก็ไม่ได้บอกว่าเขารู้ดีกว่า คือการเข้าถึงมันง่ายขึ้น ยิ่งถ้าเขามีความสนใจเนี่ย เขาจะไปได้ลึกได้เร็วๆ นะครับอันนี้เป็นปัจจัยข้อที่ 4 

 

อ่านต่อได้ตอนที่ 2

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21873

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20474

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

ซีอีโอเครือซีพี ขึ้นปาฐกถาพิเศษสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลังให้... “คน” คือทุนที่ดีที่สุด ในทัศนะ “ศุภชัย เจียรวนนท์” กับข้อเสน...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th