• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางพาราของอาเซียนและโลก


โดย ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

29 เมษายน 2558

วันที่ 23 เมษายน 2558 คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ได้จัดสัมมนาเรื่อง “AEC : อนาคตยางพาราไทย วิกฤติหรือโอกาส” ผมเป็นหนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายร่วมกับวิทยากรอีก  2 ท่าน คือ คุณขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร บริษัทซีพี และคุณบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่สำคัญคือมีปาฐกถาจากรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตร นายอำนวย ปะติเส ด้วย ผมขอนำเรื่องยางพารามานำเสนอท่านผู้อ่าน

มาเลเซียได้ประกาศว่าจะเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราของโลก หากพิจารณาจากความเป็นจริงทั้งด้านกำลังการผลิตยางพาราของไทย และตลาดรถยนต์ที่ใหญ่กว่ามาเลเซีย เราน่าจะเป็นศูนย์กลางยางพาราได้ง่ายกว่ามาเลเซีย  เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) กลางน้ำ (Middle Stream) และปลายน้ำ (Downstream) ของอุตสาหกรรมยางพารา ประเทศมาเลเซียมีมูลค่าของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพาราเท่ากับ 4 แสนกว่าล้านบาท ในขณะที่ไทยมีมูลค่าอุตสาหกรรมยางพาราอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท มาเลเซียมีมูลค่าของอุตสาหกรรมต้นน้ำอยู่ที่ 34,933 ล้านบาท โดยมีผลผลิตส่วนใหญ่มากจากเกษตรกรรายย่อยน้อยละ 94 และที่เหลือเป็นผลผลิตจากรายใหญ่ (Estate) ในขณะที่ไทยมีมูลค่าอุตสาหกรรมต้นน้ำ 304,543 ล้านบาท โดยผลผลิตต้นน้ำร้อยละ 93 มาจากเกษตรกรรายย่อย ในอุตสาหกรรมต้นน้ำทั้งสองประเทศมีแตกต่างกันที่ผลผลิตของต้นน้ำมาเลเซียเป็นการผลิตยางก้อน (Cup Lump) ส่วนประเทศไทยเน้นการผลิตน้ำยางสดเป็นหลัก 

และเมื่อข้ามไปดูอุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของอุสาหกรรม มาเลเซียมีมูลค่าอุตสาหกรรมกลางน้ำ 275,659 ล้านบาท ไทยมีมูลค่า 438,994 ล้านบาท เนื่องจากโครงการการผลิตของต้นน้ำที่แตกต่างกันทำให้อุตสาหกรรมกลางน้ำของมาเลเซียเน้นการผลิตยางแท่ง (Block Rubber) คิดเป็นร้อยละ 83 อีกร้อยละ 7 เป็นการผลิตน้ำยางข้น (Concentrated Rubber) ส่วนไทยมีการผลิตที่หลากหลายมากกว่ามาเลเซีย โดยร้อยละ 41 เป็นการผลิตยางแท่ง ยางแผ่นร้อยละ 25 น้ำยางข้น 20 เปอร์เซ็นต์ 

สำหรับอุตสาหกรรมกลางน้ำมีประเด็นที่น่าสนใจของทั้งประเทศ คือ เปอร์เซ็นต์การส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ โดยสินค้าหลักทั้ง 3 ประเภทผลิตภัณฑ์ของไทยนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 70-80 นำผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก เช่น ผลผลิตน้ำยางข้นร้อยละ 77 นำไปส่งออก ในขณะที่ร้อยละ 90 ของยางแท่งนั้นนำไปส่งออกเช่นกัน หันไปดูฝั่งของมาเลเซียบ้าง ยางแท่งของมาเลเซียที่เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้น ร้อยละ 80 ก็นำไปส่งออกนอกประเทศ เมื่อคิดทุกประเภทของผลิตภัณฑ์กลางน้ำมาเลเซียที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลายน้ำพบว่าใน 100 เปอร์เซ็นต์มาเลเซียนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศไทยนำผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมกลางน้ำไปใช้เพียงร้อยละ 14 เท่านั้น 

ส่วนอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) ของมาเลเซียมีมูลค่า 155,918 ล้านบาท โดยเป็นผลผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ยางล้อรถยนต์ ในขณะที่ประเทศไทยมีมูลค่าของอุตสาหกรรมปลายน้ำอยู่ที่ 407,755 ล้านบาท ประเทศไทยจะต้องตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นศูนย์กลางยางพาราของอาเซียนและของโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการยกระดับรายได้ของเกษตรกรและปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบนั้นทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน การได้ปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมยางพาราแต่เกษตรกรสวนยางพารายังได้รับราคายางพาราที่ยังต่ำอยู่ ก็คือว่าไม่ใช่นโยบายที่ถูกต้อง  

อย่างไรก็ตาม การไปถึงเป้าหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้คือ ข้อที่หนึ่งต้องตั้งคณะกรรมการคำนวณต้นทุนยางพาราของประเทศใหม่ทั้งหมด ตัวเลขต้นทุนต้องมาจากทุกภูมิภาคของประเทศ เพราะแต่ละภูมิภาคจะมีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกัน แล้วจึงมาคำนวณเป็นของประเทศ เพราะการมีต้นทุนที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่จะทำให้การช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง (ข้อนี้เกษตรกรก็ควรบริหารจัดการลดต้นทุนการผลิตด้วย) ข้อที่สองต้องลดพื้นที่ปลูก ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 20 ล้านไร่ จะต้องลดพื้นที่ให้เหลือ 15 ล้านไร่ใน 10 ปีข้างหน้า นั่นคือต้องลดพี้นที่ลงปีละ 5 แสนไร่  แต่การลดพื้นที่ต้องหาพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เข้ามาแทนที่ให้กับเกษตรกร ขณะเดียวกันการลดพื้นที่ลงจะทำให้ผลผลิตลดลง ผลผลิตของไทยต้องยืนอยู่ที่ 4 ล้านตัน แต่หันไปเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น โดยต้องปรับผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นอยู่ที่มากกว่า 300 กก.ต่อไร่ ปัจจุบันอยู่ 200 กก.ต่อไร่ ซึ่งถือว่าต่ำ ข้อที่สาม ต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพื่อป้อนให้กับโรงงานแปรรูป ซึ่งตรงนี้ต้องสร้างความต้องการยางพาราจากโรงงานแปรรูปที่มีอยู่เดิม และผลักดันโรงงานใหม่เพื่อสร้างความต้องการยางพาราให้เพิ่มขึ้นอีก 

ปัจจุบันความต้องการใช้วัตถุดิบจากโรงงานมีเพียงร้อยละ 13 เราต้องสร้างความต้องการให้เพิ่มเป็นร้อยละอยู่สองช่วงคือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ ร้อยละ 40 หากเราสามารถดันให้มีการใช้วัตถุดิบให้เพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของห่วงโซ่อุปทานยางพาราของไทยเพิ่มขึ้นอีก 1.7 ล้านล้านบาท (กรณีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20) และเพิ่มเป็น 2.5 ล้านล้าน (กรณีเพิ่มเป็นร้อยละ 40) ข้อที่สี่ ผลักดันให้เกิด “Rubber City” โดยเรา ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสม ตามที่รัฐบาลตั้งใจจะให้เป็นคือตรงนิคมอุตสาหกรรมฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่มีอีกพื้นที่หนึ่งที่น่าสนเพราะอยู่ใกล้กับมาเลเซียคือ ตรงด่าน “Durian Burung” บริเวณโกตาปูตรา รัฐเคดะ แต่ตรงนี้อาจจะสร้างพื้นฐานมากหน่อยเมื่อเทียบกับตรงนิคมฯ ฉลุง หาก Rubber City เกิดขึ้นเร็วความต้องการยางพาราของไทยเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราก็จะมีมากขึ้น

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21873

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20474

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

จับตา ทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2558 แนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ตามการข... โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณ...
  • คุยกับซีพี
  • CP Talk
  • อัทธ์ พิศาลวานิช
  • ขุนศรี ทองย้อย
  • ซีพี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ยางพารา
  • หอการค้า

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th