• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ซีอีโอเครือซีพี ขึ้นปาฐกถาพิเศษสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลังให้ผู้นำธุรกิจทุกภาคส่วนต้องเพิ่มความท้าทายในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน


12 กันยายน 2563

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปลุกพลังผู้นำธุรกิจทุกระดับสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กร มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจควบคู่ใช้พลังนวัตกรรมสร้างวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ยั่งยืน สู่ Circular Economy โดยปาฐกถาพิเศษของซีอีโอเครือซีพีได้สร้างแรงบันดาลใจ และปลุกพลังให้ผู้นำธุรกิจทุกภาคส่วนต้องเพิ่มความท้าทายในเรื่องการดำเนินธุรกิจที่ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการถ่ายทอดความตระหนักรู้ในเรื่องนี้ไปสร้างความเชื่อให้เป็นศรัทธาต่อไปในองค์กร 

ทั้งยังเสนอให้องค์กรธุรกิจต่างๆดึงโจทย์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบนโลกนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจควบคู่กับเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยใช้พลังของนวัตกรรมมาสร้างวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ที่ยั่งยืนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สิ่งนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานแห่งการพัฒนาใหม่ที่ทำให้มนุษยชาติจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมในต้นทุนที่น้อยกว่าเดิม แต่มีความสมดุลเกิดขึ้น CP E-News ได้นำเนื้อหาทั้งหมดของปาฐกถามาถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน

วันนี้เรามารวมตัวกัน เรามาคุยกันเรื่องของมิติของความยั่งยืน แล้วหัวข้อในวันนี้เรื่องของ Circular Economy

ถ้าเราลองหลับตา โดยใช้ความตระหนักรู้ หรือใช้จิตสำนึกที่บริสุทธิ์ของเรา เราก็จะเห็นว่าอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น วิถีในการบริโภคของเรา จริงๆแล้วไม่ยั่งยืน การบริโภคของเราไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อาหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์ของใช้  การผลิต  การสร้างยานพาหนะ การคมนาคมทุกอย่างของเรา  เราสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะให้ผสมผสานกับความฝันในการดำเนินชีวิตของเรา  ให้เราทุกคนมีอนาคตที่ดีขึ้น  แต่ในข้อเท็จจริง  วิธีการสร้างของเรา วิถีการใช้ทรัพยากรในการสร้างของเรา วิถีการบริโภคของเรา ไม่ได้ทำให้ความฝันที่เราคิดว่าชีวิตที่กำลังจะดีขึ้นของเราเป็นไปได้จริง

สิ่งที่เราเผชิญอยู่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างชั่วคราว  ถ้าเราคิดว่า...เรามีขยะเท่าไรที่เกิดขึ้นในโลก  เราเป็นผู้หนึ่งที่สร้างภาวะเรือนกระจก  ซึ่งเราก็รู้ดีว่าจริงๆแล้วโลกของเราก็เปราะบางมากๆ  ชีวิตของเราก็เปราะบางมากๆ ภาวะเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จากคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นภาวะที่ทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้สายพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ จำนวนมากกำลังหายไป ซึ่งเราก็ยังคงอาจจะไม่ได้ตระหนักรู้ หรือว่าอาจจะมองข้าม  หรือพยายามที่จะไม่มองว่าวันหนึ่งนั้นสายพันธุ์อย่างพวกเรา สายพันธุ์มนุษย์ก็อาจจะหายไปได้ 

ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นทำให้สัตว์หลายๆชนิดก็อาจจะอยู่ไม่ได้  ทั้งในทะเลและบนบก การทำลายทรัพยากรธรรมชาติหรือว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างที่ไม่มีการทดแทน  เช่น การบุกรุกป่า การที่เรารุกคืบไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนกระทั่งหลายๆอย่างที่มันควรอยู่ในป่า ป่าที่เป็นทรัพยากรที่จะทำให้โลกของเรามีความสมดุล มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลง  แม้กระทั่งเชื้อโรคที่เราได้ค้นพบใหม่ๆหลายๆตัวก็มาจากป่า ซึ่งเราได้บุกรุกเข้าป่า อาจจะหมายรวมถึงโรคที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ขณะนี้ 

ดังนั้นการดำเนินกิจการต่างๆของผู้ประกอบการทุกๆบริษัท เราจะทำอย่างไร ถึงจะมองว่าในการดำเนินกิจการของเราไม่ได้คำนึงถึง Productivity หรือว่าประสิทธิผลมวลรวมแต่เพียงอย่างเดียว แต่เราต้องคำนึงถึงว่า ทุกการทำการกระทำของเรา ทำแล้วสามารถที่จะทำให้เกิดความสมดุลคู่ขนานกันไป  บางคนก็คิดว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องไกลตัวมาก  การที่เราพูดถึงเป้าหมาย เช่น ที่บอกว่า  net zero carbon footprint ในการดำเนินกิจการหรือในการดำเนินชีวิตของเรา  การที่เราพูดว่า zero waste การที่เราพูดถึงเรื่อง  circular economy  การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด แล้วก็นำมาใช้ได้อีก เป็นเรื่องไกลตัว แล้วที่สำคัญหลายๆครั้งเราคิดว่า มันเป็นเรื่องที่มีต้นทุนมหาศาล  ตราบใดที่เรายังคิดเช่นนี้ มันก็เหมือนกับเราถามตัวเองว่า ทำไมเราต้องทำด้วย แต่ในทางกลับกัน เราก็สามารถที่จะถามตัวเองได้ว่า แล้วทำไมไม่ทำ 

ในวิถีของคนไทย ซึ่งเราเป็นชาวพุทธ หลายๆครั้งเราพูดถึง ว่าทำกรรมดี  กรรมไม่ดี  ทำไว้เถอะ เดี๋ยวชาติหน้าจะได้เกิดมาดี  แต่หลายคนก็บอกว่า  ชาติหน้ามีจริงหรอ และถ้าชาติหน้าไม่มีจริง แล้วเราควรจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่เรารู้ภายใต้จิตสำนึกที่บริสุทธิ์ของเราว่ามันถูกต้อง มันไม่ดีกว่าหรือ เราทำมันตั้งแต่วันนี้ในชาตินี้ ไม่ดีหรือ เพราะมันทำให้เราสามารถอยู่ในชาตินี้ได้ด้วยความภาคภูมิใจ  แล้วก็จะรู้สึกว่า  คำถามที่เราตั้งไว้เสมอว่า  เราเกิดมาทำไม มันก็จะมีคำตอบ  ก็คือเกิดมา  เพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า  แล้วการเกิดมาแล้วใช้ชีวิตให้คุ้มค่าคืออะไร ก็คือ การที่เราสามารถที่จะเชื่อมโยงกับผู้คน  เชื่อมโยงกับสัตว์ต่างๆ  เชื่อมโยงกับโลก  และสามารถดำเนินวิถีชีวิตของเราได้อย่างมีความสมดุล กับการเชื่อมโยงเหล่านี้ แทนที่เราจะแยกตัวเราเป็นส่วนต่างหากออกจากที่เหลือ ซึ่งอันนี้ก็หมายถึง องค์กรและผู้ประกอบการทั้งหมดด้วย 

องค์กรและผู้ประกอบการทั้งหมด คือผู้ที่มีบทบาทสูงมาก  ถ้าพวกเรามาที่มาร่วมเสวนากันในวันนี้ ท่านมองตัวท่านคือ ผู้ประกอบการ ท่านคือผู้นำ  ผู้นำคืออะไร? โดยทั่วไปแล้ว ผู้นำคือ  ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ผู้นำที่ดี  คือ ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงแล้วมีผลต่อคนส่วนใหญ่  นั่นคือผู้นำที่ดี  ผู้นำที่ดีคือ ผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลง และสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อคนหมู่มาก ซึ่งในชาวพุทธเราบอกว่าคือ Passion หรือ ความเมตตา  ความเชื่อมโยง  ถ้าในยุคนี้ในภาษาของความยั่งยืนและเศรษฐกิจยุคใหม่ เราเรียก Inclusive คือ ทุกอย่างเดินไปด้วยกัน เติบโตไปด้วยกัน มีความสมดุลไปด้วยกัน ถ้าเราเปรียบเทียบแล้ว ผู้นำหรือผู้ประกอบการอย่างพวกเรา ถ้าจะวัดไปแล้วก็เหมือนกับคุณครู เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดี 

ผู้นำอาจจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ประเภทหนึ่งคือประเภทตระหนักรู้และเราเข้าใจในตัวเองและลงมือทำ อีกประเภทหนึ่ง เป็นประเภทที่ว่า อยากจะเห็นตัวอย่างคือสร้างความเชื่อจากตัวอย่างที่สัมฤทธิ์ผล ผมก็อยากจะพูดพวกเราซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ไม่ว่าใหญ่ กลาง หรือ เล็ก  ถ้าเราวางวิสัยทัศน์   แล้วก็วางความเชื่อของเรา บางทีความเชื่อจะเรียกว่าความศรัทธาก็ได้  อันเกิดจากความตระหนักรู้ของเรา  และเราสามารถที่จะปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีได้  เราก็สามารถถ่ายทอดความตระหนักรู้และการกระทำเหล่านี้ ไปสร้างความเชื่อต่อๆไป

ความเชื่อเหล่านี้  หรือที่เราเรียกว่าศรัทธา เกิดจากความตระหนักรู้ ถ้าเราถ่ายทอดลงไปในองค์กรของเรา ไม่ว่า ใหญ่ กลาง หรือ เล็ก  เพราะว่าเล็กวันนี้ก็คือใหญ่ของวันหน้า ซึ่งก็เป็น Circle ของมัน แต่ถ้าเราถ่ายทอดลงไปอยู่ในเป้าหมาย เป้าประสงค์ขององค์กรของเรา แม้ว่ามันจะท้าทายธุรกิจ ซึ่งก็ท้าทายอยู่แล้ว การดำเนินกิจการทางธุรกิจเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และอยู่เหนือความคาดหมาย ของสิ่งที่ตลาดต้องการตลอดเวลา ศักยภาพในการแข่งขัน มันก็ท้าทายเราอยู่แล้ว การแข่งขันในระดับท้องที่ ในระดับประเทศ  ระดับนานาประเทศ  ก็มีความท้าทายในตัวอยู่แล้ว  ทำไมเราไม่เพิ่มเติมเข้าไปอีกข้อหนึ่งในความท้าทายเหล่านั้น  คือความสามารถในการดำเนินธุรกิจกิจการควบคู่ไปกับความยั่งยืน  แน่นอนว่าทุกอย่างมันมีจุดเริ่มต้น และมันก็ไม่ได้สำเร็จทีเดียว  แต่ถ้าเราวางวิสัยทัศน์  เราวางเป้าหมายเหมือนกับที่เราวางเป้าหมายธุรกิจ  เราวางเรื่องของ governance  คือส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการดูแลรักษาผู้ลงทุน  แต่ว่า governance เหล่านั้น หรือธรรมาภิบาลเหล่านั้น มันสามารถที่จะขยายตัวออกไปได้ในหัวข้อของความยั่งยืนหรือเปล่า จริงๆแล้ว governance น่าจะเป็นแค่หัวข้อหนึ่ง  ในเรื่องของความยั่งยืน

ถ้าถามว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์  เราทำอย่างไร เราเป็นองค์กรที่ใหญ่ขนาดนี้  เริ่มต้นมันท้าทายมาก  ผู้บริหารทุกคนที่ดำเนินกิจการมา 20 ปี 30 ปี 40 ปี หรือแม้กระทั่ง 50 ปี  ทุกคนก็มองว่าฉันจะอยู่รอดได้อย่างไร แล้ววันนี้เธอเอาเรื่องของความยั่งยืนมาพูด  มันเป็นไปได้หรือ ที่จะทำควบคู่ไปกับธุรกิจ  มันอาจจะเพิ่มต้นทุน  ต้องเสียเวลาฝ่ายบริหาร  ฝ่ายจัดการ  พนักงานทุกอย่าง  แต่ก็โชคดี การที่เราแชร์วิสัยทัศน์หรือการที่เรารวบรวมเอาผู้บริหารระดับสูงทั้งหมดมาถกกัน  มาตั้งคำถามร่วมกัน  แล้วก็บอกว่า  เราทำได้ไหม เราทำอะไรได้บ้าง  เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ  คือการสร้างความตระหนักรู้ในเบื้องต้น  เรามีปัญหาทุกคนยอมรับว่าเรามีปัญหา  เราทำให้ดีกว่าเดิมได้ไหม เราทำให้ดีกว่าเดิมได้ เมื่อมีการก้าวแรกของการสร้างความตระหนักรู้  นั่งถกถึงปัญหา  และการหาแนวทางที่เป็นไปได้  ก็เริ่มตามมาด้วยการวางเป้าหมาย  ซึ่งการวางเป้าหมายตรงนั้น คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางที่สำคัญมากๆ 

จากกระบวนการที่เราบอกว่า  เราเป็น good governance เรา comply ตามกฏหมาย เราทำ CSR ดี เราดำเนินธุรกิจของเราบนพื้นฐานของความยั่งยืนได้อย่างไร  และแน่นอนเราใช้เวลา  เราไม่ได้บอกว่า  จะต้องทำให้เสร็จภายในพรุ่งนี้  แต่เรามีแผน 3 ปี  5 ปี  10 ปี  เราตั้งเป้าหมาย  และก็จะมีส่วนที่มันสำเร็จ  และส่วนที่มันไม่สำเร็จ  แต่ในส่วนที่มันสำเร็จเราขยายผล  ส่วนที่ไม่สำเร็จเอามาแชร์กันว่า ทำไมไม่สำเร็จ  เราเรียนรู้  เราปรับปรุงใหม่ได้ 

เป้าหมายในเบื้องต้นขององค์กรส่วนใหญ่  จะเกิดขึ้นดังนี้ เรื่องแรกคือการตั้งคำถาม คือการสร้างความตระหนักรู้  แล้วก็แชร์ตัวอย่างที่สร้างความเชื่อด้วยว่าทำได้จริง  แล้วก็ไม่ได้ทำให้เรามีปัญหามากไปกว่าเดิม  ผมอยากจะยกตัวอย่าง  เรามีปัญหาในเรื่องของภัยธรรมชาติเกิดขึ้นแล้วก็กระทบกับ contact farmer หรือเกษตรกรที่เป็นคู่ค้าของเรา  ถ้าพายุเข้าในฟาร์มของเขา  ทำให้เขาไม่สามารถที่จะเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูได้ เป็นต้น  สิ่งที่ตามมาก็คือว่า กิจการของเขามีปัญหา  เขาเป็นหนี้  ในเรื่องของค่าอาหารสัตว์  ค่ายา  เขาไม่สามารถที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้  คำถามคือว่า  แล้วองค์กรจะทำอย่างไร  สมมมติว่าในกรณีนี้คือ CPF  ซีพีเอฟก็ในฝ่ายบริหารก็บอกส่งต่อฝ่ายบัญชีการเงิน  ฝ่ายบัญชีการเงินบอกส่งต่อให้ฝ่ายกฎหมาย   เราทำงานเป็นฝ่ายๆ  แต่ไม่ได้มองภาพรวม  ทุกคนก็บอกว่าเห็นใจเขาไหม  เห็นใจ แต่จะแก้ยังไง  ถ้าแก้ โดยเราไปรับหนี้แทน  แต่อันนี้เป็นเรื่องของพายุเข้านะ  น้ำท่วม  ทำไมไม่ใช่เรื่องของรัฐ เป็นเรื่องของเอกชนหรือเปล่า  คำตอบคือ ใช่  เป็นเรื่องของผู้ประกอบการ เป็นเรื่องของเอกชน  รัฐก็อาจจะมีส่วน แต่ว่าเป็นปัญหาของเรา  ในที่สุดเราก็เกิด innovation ง่ายๆขึ้นมา  เราก็บอกว่า  ถ้างั้นทำไมเราไม่ทำ  insurance  ให้กับผู้ค้าของเรา  แล้ว insurance  นั้นก็จะมีต้นทุนสักเท่าไร  เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ของภัยพิบัติธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นทุกปี  ในที่สุดเราก็นำเอาเรื่องของการให้ insurance กับเกษตรกรคู่ค้า ในกรณีของเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ  เหตุที่เกิดจากโรคระบาด  จากสิ่งที่มันคาดไม่ถึง ควบคุมไม่ได้  แต่เราใช้นโยบายที่มันเป็นเรื่องทางสังคมอยู่แล้ว ก็คือการแชร์ความเสี่ยง แล้วก็ต้นทุน ในที่สุดต้นทุนก็ไม่ได้เพิ่มมากขึ้น เพราะยังไงถ้าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ก็กลายเป็นหนี้สูญอยู่ดี แทนที่เราจะทำงานเป็นขั้นตอน  แต่เราคิดถึงวิธีการ  คำว่านวัตกรรมไม่ใช่จะต้องไปสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่เสมอไป  แต่ว่านวัตกรรมหมายถึง เราสามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการในการทำงานของเราได้ ถ้าเราทำได้ดีตั้งแต่ต้น  เราคิดว่าเกิดเหตุอย่างนี้เกิดความเสี่ยงอย่างนี้  เราจะจัดการกับมันได้อย่างไร  ตอนนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น  ไม่ใช่ความเสี่ยงทางการเงินต่อไป  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เป็นความเสี่ยงในระดับโลก  ว่าในกระบวนการของมนุษยชาติในการดำเนินเศรษฐกิจ  และการดำเนินธุรกิจของเรา มันเกิดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เกิดความเสี่ยงในเรื่องของตัวเศรษฐกิจเอง เกิดความเสี่ยงในเรื่องของกระบวนการทางสังคมที่เกิดความเลื่อมล้ำ การดำเนินุรกิจที่สร้างขยะ  สร้าง carbon footprint มากมาย สร้างภาวะเรือนกระจก ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดขึ้นให้เราเห็นทุกวัน

ในนี้เราพูดถึง 10 ข้อ  biodiversity loss , climate action failure , เรื่องของปัญหาวิกฤตทางน้ำ เรื่องน้ำ   หรือว่าอากาศที่มันผันผวนเปลี่ยนแปลง นอกนั้นยังมีสิ่งประดิษฐ์บางอย่างที่เรารู้ว่า ที่ก็เป็นความเสี่ยงของโลก  ความเสี่ยงของโลกเหล่านี้  เราแชร์ร่วมกัน แล้วเราจะบริหารจัดการมันอย่างไร  เมื่อกี้ก็เป็นความเสี่ยงเล็กๆอันหนึ่งที่เกิดจากภัยธรรมชาติ  ถ้าเราสามารถที่จะเชื่อมโยงแล้วก็เอาโจทย์ความเสี่ยงเหล่านี้  มาอยู่ในส่วนของการปฏิบัติงานของเราได้ในทุกอนูและทุกองค์กร  พลังของการสร้างนวัตกรรม พลังของการสร้างวิถีใหม่ที่ยั่งยืนขึ้น สมดุลขึ้น มันจะมีมากมายมหาศาลจนกระทั่งคิดไม่ถึงเลย  มันอาจจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานใหม่  ที่ทำให้มนุษยชาติเติบโตและอยู่ได้ดีกว่าเดิม  และยั่งยืนกว่าเดิม  บนต้นทุนที่น้อยกว่าเดิม นั้นคือความสมดุล

อาจมีคำถามว่า ทำไมเราต้องทำด้วย แต่อีกคำถามหนึ่งก็คือ แล้วทำไมเราไม่ทำ  เราต้องคิดบวก ผมคิดว่าเราต้องคิดบวก เราสร้างนวัตกรรม เรา apply นวัตกรรม ผสมผสานเทคโนโลยี เราสร้างจินตนาการของเราบนพื้นฐานที่มีความสมบูรณ์ มีความสมดุล ผมคิดว่า โลกมันถูกเปลี่ยน โลกมันจะเปลี่ยน

ผมก็อยากจะทิ้งท้ายไว้กับพวกเราว่า หลายอย่างมันเกิดที่ความตระหนักรู้ รู้จาก mindset มาตลอดว่า มิติความคิดของเรา หรือกรอบความคิดของเรา เรารู้จักคำว่า culture /values /governance ขององค์กร ใกล้ตัวเรา เป็นองค์กรที่มี code of conduct ที่ดี เป็นองค์กรที่มีคุณธรรม เรารู้จักคำว่า สิ่งแวดล้อม ถ้าในที่นี้ก็คือว่า เราสามารถที่จะหยิบยื่นหรือสร้างนวัตกรรม ปรับตัวในการที่จะเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างไร เรารู้จักคำว่า การสร้างผลผลิต ศักยภาพในการแข่งขัน อันนี้คือองค์กรของเรา เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามาก ถ้าองค์กรจะยั่งยืน องค์กรต้องมีสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมันก็เป็นตัวเดียวกันกับ ฐาน 3 เรื่องในเรื่องความยั่งยืน คือ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เป็นฐานเดียวกัน ไม่ได้ต่างกันเลย จากการดำเนินธุรกิจ เพียงแต่เราสามารถที่จะวางวิธีการดำเนินการของเราอย่างไรให้ครอบคลุม ให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของเรา ซึ่งเราอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์  หรือว่าไม่ได้มีความครบที่จะ สมมติว่าในกรณีของ SDGs Goal 17 ข้อ  ของยูเอ็น โกลบอลคอมแพ็ค  แต่เราอาจจะตอบโจทย์ 5 ใน 17 ข้อ ได้ดีมากๆ  อาจจะเกี่ยวข้องมากๆ  อาจจะ 7 ใน 17 ข้อ  แต่ข้อหนึ่งที่แน่นอนว่าทุกคนต้องมี ก็คือเรื่องของ Partnership  การทำงานร่วมกัน การแชร์องค์ความรู้ ไม่ว่าเราจะแข่งขันในวิธีใดๆก็ตาม แต่ปัญหาของโลกไม่ใช่เรื่องที่ต้องแข่งขัน แต่ต้องจับมือร่วมกัน และก็ทำร่วมกัน
 
มิติของความยั่งยืน จริงๆแล้วอยู่ในรากเหง้าของเรา ถ้าเราพูดถึงว่า เราคือบุคคลๆหนึ่ง อะไรคือ values ที่ติดอยู่ใน DNA ของเรา วิวัฒนาการของเราเป็นอาจมาตั้งแต่เราเป็นลิงอยู่เลย เป็นล้านปีหลายล้านปี มาถึงทุกวันนี้ อะไรที่ทำให้เราเป็นสปีชี่ที่สร้างนวัตกรรมการเติบโต สร้างเมืองอะไรมากมาย วิถีของการบริโภค ด้วยความเป็นอยู่ แต่ในเวลาเดียวกันก็มาพร้อมต้นทุนมหาศาลก็อาจจะไม่ยั่งยืน สิ่งที่คงอยู่ใน values หรือใน DNA ของเรา ก็หนีไม่พ้นเรื่องของความรัก การมีกันและกัน หนีไม่พ้นเรื่องของความฝัน เราจะบอกว่าเป็นสิ่งที่เราปรารถนาให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ หรืออยากให้ชีวิตของเราดีขึ้นเรื่อยๆ มันคงไม่สนุกเลยในชีวิตถ้าเราไม่มีความฝัน ถ้าองค์กรเราไม่มีเป้าหมายที่มันท้าทาย หรือเป้าหมายที่มันมีวัตถุประสงค์ที่ดี เป็นองค์กรที่สร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม นั้นเป็นความฝัน และแน่นอนเราต้องการ security  หรือ ความปลอดภัย ทั้ง 3 เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ไปพร้อมกัน

ผมก็อยากจะจบการบรรยายของผมตรงนี้ไว้ โดยขอนำเสนอ Quote ที่ผมเขียนไว้ขึ้นมาเอง ขออนุญาตพูดเป็นภาษาอังกฤษ  “Our lifelong journey always bases its importance on our security and our dreams. We tend to forget that the most important thing in our life that brings about true security and power to realize great dreams is true love (compassion). True love allows us to see through all the differences, connect to the truth and everything else, including our true self and truly enjoy this amazing life together.” โดยคำพูดนี้บอกว่า เราจะมีความมั่นคงทางธุรกิจ เราจะมีศักยภาพในการสร้างธุรกิจของเราอย่างไร เราต้องอยู่รอดให้ได้ ในเวลาเดียวกันเราต้องบอกว่าเรามีเป้าหมาย เรามีความฝัน เราจะเติบโตเป็นองค์กรที่ยิ่งใหญ่ แต่ทั้งสองส่วนนี้ทั้งความฝัน แล้วก็ความอยู่รอดที่มั่นคงจะเป็นไปไม่ได้อย่างยั่งยืน ถ้ามันไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน บางทีมนุษย์ค้นพบว่า ความมั่นคงที่แท้จริงของชีวิต และความฝันที่เติมเต็มมาจากความรัก มาจากความรับผิดชอบ ต่อเพื่อมนุษย์ด้วยกัน แล้วก็มาจากความรับผิดชอบต่อโลกของเราครับ

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20471

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

เปิดมุมมอง 'ศุภชัย เจียรวนนท์' ปลุกธุรกิจยั่งยืน แก้ปัญหาโลก... “คน” คือทุนที่ดีที่สุด ในทัศนะ “ศุภชัย เจียรวนนท์” กับข้อเสน...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3786

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3529

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4297

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th