• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

“ศุภชัย เจียรวนนท์” สร้าง New Economy วาง 6 ยุทธศาสตร์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจไทยหลังยุคโควิด-19 ดิสรัปชั่น


21 เมษายน 2563

 เปิดแนวคิดประธานสภาดิจิทัลฯ “ศุภชัย เจียรวนนท์” สร้าง New Economy วาง 6 ยุทธศาสตร์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจไทยหลังยุคโควิด-19 ดิสรัปชั่น

 "ศุภชัย เจียรวนนท์" ให้สัมภาษณ์พิเศษ Cover Story นิตยสารฟอร์บสไทยแลนด์ ฉบับเดือนเมษายนถึงการสร้าง New Economy

สถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบทุกระดับทั่วโลกในวงกว้าง ภาคธุรกิจเอกชนต่างร่วมมือกันเสนอมาตรการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย หนึ่งในคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เข้าร่วมประชุมหารือกับ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกลุ่มตัวแทนองค์กรเอกชนของประเทศ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบ รวมทั้งมาตรการเพื่อการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ได้จัดระดมสมองผนึกกำลังรัฐและเอกชนตามนโยบายรัฐบาล โดยนายศุภชัยได้กล่าวว่า โควิด-19 ได้เข้ามาดิสรัปต์ธุรกิจ ส่งผลกระทบให้มูลค่าภาคธุรกิจในทั่วโลกลดลงอย่างมาก โดยเฉลี่ยที่ 20-30% ทำให้ต้องมีมาตรการที่ “พิเศษ” และ “รวดเร็ว” ตามความหนักเบาของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนต่อไปได้ทั้งในยามนี้และหลังวิกฤตโควิด-19 ในส่วนของสภาดิจิทัลฯ ได้เสนอ 6 ยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยดิจิทัล หรือ Digital Solution ซึ่งจะนำไปสู่ New Economy ในที่สุด
 
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : ควบคุม ป้องกัน และรักษา ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลดิจิทัลขนาดใหญ่ของประชากรทุกคน และทุกนิติบุคคลในประเทศให้สำเร็จ รวมถึงการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของประชากรและผู้ติดเชื้อ ตลอดไปจนถึงการจัดทำระบบแสดงผลตามพื้นที่ Heatmap รวมไปถึง Digital Donation Platform เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริจาคสนับสนุนทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งรวบรวมสิ่งที่โรงพยาบาลต่าง ๆ  ต้องการความช่วยเหลือไว้ในที่เดียว
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ความต่อเนื่องของธุรกิจ ได้แก่ การแก้กฎหมายเพื่อรองรับ การจัด E-GOV , Digital ID , Online KYC , E-Signature , Smart Contract ให้ทดแทนกระดาษได้ เพราะปัจจุบันกฎระเบียบและกฎหมายหลายเรื่องยังไม่สามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้ ในจังหวะที่เกิดวิกฤตนี้ควรใช้เป็นโอกาสทำให้เกิดขึ้น รวมไปถึงระบบสื่อสารและโซลูชั่น ที่รองรับการทำงาน WORK AT HOME  ตลอดไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลรองรับ New Normal ของการทำธุรกิจและการกลับมาเปิดตัวใหม่
 
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การจ้างงานและพัฒนาคน  ถือเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีมาตรการสนับสนุนผู้จบการศึกษาใหม่ปีละกว่า 1 ล้านคนทั่วประเทศ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 คาดว่า 80-90 % อาจจะไม่มีงานทำ ทางออกคือการสร้าง ICT Talent หรือ นำกลุ่มเด็กจบใหม่ที่มีความสามารถด้าน ICT ไปช่วยพัฒนาการศึกษาออนไลน์ได้  รวมไปถึงการให้ทุนแก่มหาวิทยาลัย และอาชีวะทั่วประเทศ ในการสร้าง New Skill ด้านดิจิทัล ด้านข้อมูล(Data) และด้าน Automation  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังวิกฤตโควิด-19 ที่เชื่อว่าเศรษฐกิจและสังคมจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค 4.0 เร็วขึ้น
 
ในส่วนของคนว่างงาน หรือ Unemployed เสนอรัฐให้เงินเลี้ยงชีพในช่วงว่างงาน และให้เงินสนับสนุนเพื่อการเรียนรู้งานแห่งอนาคต รวมไปถึงการจัดทำ Platform ในการหางาน และบริษัทที่ต้องการจ้างงานที่ใช้ Skill ใหม่ ด้านการจ้างงาน เสนอให้รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่าย 80% เพื่อรักษาสถานภาพพนักงาน พร้อมกับการ Re-Skill พนักงาน ไม่ปลดออก และสร้างทักษะใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
 
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : ความมั่นใจในตลาดทุน คือการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุน ตลาดการค้า และการลงทุน เพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ โดยการให้ความช่วยเหลือแก่ ผู้ประกอบการ Startup ด้าน Digital  ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีด้านดิจิทัล  มีการจัดตั้งและ reactivate กองทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนรายได้ที่ขาดช่วง การขาดกระแสเงินสด การลดต้นทุน และการรักษาพนักงาน เนื่องจากในภาวะวิกฤตเช่นปัจจุบันการระดมทุนเต็มไปด้วยความยากลำบาก  
 
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : เศรษฐกิจใหม่ หรือ Economic Reform เตรียมรองรับเศรษฐกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤต  ได้แก่ Smart Farming  และ E-commerce รวมไปถึงการวางแผนพื้นที่การเพาะปลูก (Agrimap/Zoning) การพัฒนาระบบชลประทาน Digital Irrigation การป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมี Smart City การออกแบบเมืองที่มีความปลอดภัยปลอดเชื้อ การป้องกันด้านสาธารณสุข หรือ Preventive Healthcare  การท่องเที่ยวแนวใหม่ ไปจนถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล
 
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : โครงสร้างขับเคลื่อนยามวิกฤต (Intelligence Center / Unlock Regulation)  ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างขับเคลื่อนพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉินภายใต้วิกฤตโควิด-19 ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงโครงสร้างการขับเคลื่อนพิเศษในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยให้สภาฯ ต่าง ๆ เป็นตัวแทนภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19  2.การแก้ไขกฎระเบียบด้านดิจิทัลเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ อาทิ การผลักดัน Digital ID ที่เกี่ยวข้องกับ E-signature, E-Voting, Smart Contract และ Digital KYC รวมถึงการทำให้ E-Document สามารถทดแทนกระดาษได้  3.พิจารณาเพิ่มความยืดหยุ่นการบังคับใช้พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจสร้างภาระแก่เอกชนบางส่วนที่ยังไม่พร้อม นอกจากนี้เสนอให้ใช้สภาดิจิทัลฯเป็น Certification Training Center สำหรับ Data Protection Officer เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เป็น 6 ยุทธศาสตร์ Digital Solution สำคัญที่จะเข้ามาเป็นโครงสร้างสำคัญขับเคลื่อนยามวิกฤตและเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคตที่จะเข้าสู่ยุค New Normal ในไม่ช้า 

หมายเหตุ : สรุปและเรียบเรียงบางส่วนในการประชุม คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จัดโดย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วันที่ 20 เมษายน 2563 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20471

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

คุณนพปฎล เดชอุดม แบ่งปัน 5 เคล็ดลับ WFH ให้มีความสุขและมีประ... ‘We Grow… ปลูกเพื่อความยั่งยืน’...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th