• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ทำไมบทบาท “ภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำ” จึงสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้ประเทศไทย


25 ธันวาคม 2562

ทำไมบทบาท “ภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำ”
จึงสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้ประเทศไทย

โดย ศาสตราจารย์ อาร์ตูโร บริส ผู้อำนวยการ IMD World Competitiveness Center


     ปี 2562 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับจากสถาบัน IMD World Competitiveness Center ว่ามี “ขีดความสามารถในการแข่งขัน” ที่อันดับ 25 ขยับขึ้นจากปี 2561 ถึง 5 อันดับ จากการสำรวจเขตเศรษฐกิจทั้งหมด 63 ประเทศทั่วโลก โดยพิจารณาจาก 4 ด้านสำคัญ คือ สมรรถนะทางเศรษฐกิจ , ประสิทธิภาพของภาครัฐ , ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน 


     ปัจจัยสำคัญของการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศหนึ่งๆได้นั้น อะไรคือปัจจัยความสำเร็จ? 


     นับตั้งแต่ปี 2540 ที่ IMD ได้วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 63 ประเทศ  พบว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเพิ่มขีดการแข่งขันได้อีก โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ “รัฐบาล” และ “ภาคธุรกิจเอกชน” ซึ่งต้องมีประสิทธิภาพที่ดีทั้งคู่ จึงจะทำให้ประเทศมีเศรษฐกิจดีขึ้น และที่สำคัญภาคธุรกิจเอกชนมีบทบาทสำคัญคู่ขนานไปกับบทบาทของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทย


     “ภาครัฐและเอกชนต้องเกื้อหนุนกัน จึงจะทำให้เกิดความสำเร็จทั้งในระดับประเทศและองค์กรได้ และการมองถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะต้องไม่มองไปที่ความสามารถแข่งขันเฉพาะในภาคเอกชนเท่านั้น แต่ต้องมองถึงความสามารถในการสร้างความมั่งคั่งของประเทศด้วย ในที่นี้ คือ ความสามารถในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนนี้ภาคธุรกิจเอกชนจะมีส่วนช่วยประเทศไทยมั่งคั่งขึ้นได้ เพราะถ้าประเทศมั่งคั่งและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ธุรกิจเอกชนก็ประสบความสำเร็จด้วยเช่นกัน  


     ทั้งนี้การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ มี 3 ปัจจัยที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จ คือ 1.รัฐบาล ที่ต้องบริหารและกำกับกิจการที่มีประสิทธิภาพ 2.ภาคเอกชนจะต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถสูง 3.ความสามารถขององค์กรธุรกิจในการสร้างนวัตกรรม


     ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทั้งรัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชนคือองคาพยพสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ  แนวโน้มในการชี้วัดเศรษฐกิจที่ตอบโจทย์เรื่องขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศทั่วโลกกำลังเปลี่ยนไป ไม่ได้เน้นที่ GDP เป็นหลักเช่นในอดีต แต่ปัจจุบันต้องคำนึงถึงการเติบโตที่ มีคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน การกระจายความมั่งคั่ง เพื่อตอบให้ได้ว่าคุณภาพชีวิตประชากรในประเทศจะดีขึ้น ดังนั้นต้องมองผลิตภาพ (Productive) และประสิทธิภาพทางธุรกิจที่จะส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งในประเทศ 


     ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพัฒนาการของประเทศไทยตลอด 20 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องความสามารถในการแข่งขัน ไทยเน้นความสามารถในการผลิตซึ่งทำได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือขีดความสามารถเหล่านี้ต้องแปรให้เป็นนโยบายสู่มวลชนได้ด้วย แต่พบว่าสถานการณ์  Capital Income รายได้บริษัท กับ Labour Income รายได้ของแรงงาน ยังมีช่องว่างกันมาก ซึ่งลักษณะนี้จะยิ่งทำให้ประเทศไม่มั่นคงมากขึ้น ซึ่งกรณีนี้เริ่มเกิดในหลายประเทศในยุโรป และอเมริกาใต้ ดังนั้นบทบาทสำคัญของภาคเอกชน คือการจ้างงานให้กลไกเศรษฐกิจหมุนเวียน พิจารณาอัตราค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม โดยข้อเท็จจริงคืออัตราค่าจ้างควรปรับขึ้นเพื่อให้แรงงานได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีรายได้พอที่จะเสียภาษีซึ่งจะกลับคืนสู่รัฐ และรัฐนำงบประมาณกลับมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ดังนั้นนอกจากเอกชนจะลงทุนในเซคเตอร์ที่ถูกต้องแล้ว ภาครัฐต้องมีการช่วยเหลือด้านภาษี ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศ ทั้งหมดนี้จะเป็นระบบที่ช่วยทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น

        "แนวทางการสร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่เหมาะสมต้องไม่ใช้วิธีกีดกันทางการค้า(Protectionism) หรือเลือกใช้วิธีอุดหนุนจากรัฐ (Subsidies) หรือใช้กรณีเพิ่มผลิตภาพ (Increase Productivity) ไปจนถึงมาตรการด้านภาษี (Taxes) เพียงอย่างเดียว แต่การสร้างประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจที่ดี ควรใช้วิธีสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ (Focus on job creation) ผสมผสานกับการที่รัฐใช้งบประมาณอัดฉีดในบางจุด รวมทั้งมีระบบประกันรายได้ขั้นต่ำร่วมด้วยบ้าง (Minimum Guaranteed Income)  พร้อมกันนั้นต้องดึงภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สังคมและประเทศ ทั้งหมดนี้จะช่วยทำให้ทรัพยากรกระจายตัวยิ่งขึ้น เพิ่มทั้งความมั่งคั่งให้ประเทศและความมั่งคั่งด้านคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนี้ประเทศไทยต้องปฏิรูปการเมืองและเพิ่มความปรองดองในประเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เท่าเทียม ทั้งรัฐบาลและเอกชนจะต้องมีเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศร่วมกัน”


     ขณะเดียวกัน  องค์กรธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ต่อไปจะให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งวันนี้ได้เห็นว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งเป็นภาคธุรกิจเอกชนของไทยมีจุดแข็งเรื่องความยั่งยืน ซึ่งประเด็นความยั่งยืนจะเป็นวาระสำคัญในระบบทางการตลาด เพราะองค์กรธุรกิจจะต้องไม่โยนภาระให้ลูกค้าเพียงเพื่อรักษาผลกำไรของตัวเองให้ขึ้นสูง แต่องค์กรธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบทางสังคม 


     ทั้งนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจชั้นนำที่จะมีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ทำได้ดีมากในประเด็นความยั่งยืน การวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ไม่ผลักภาระไปสู่ผู้บริโภคจะเป็นบริบทใหม่ของสังคม  ดังนั้นการเลือกเส้นทางความยั่งยืนจึงต้องเป็นเป้าหมายสำคัญขององค์กรเช่นนี้ต่อไป


     บทบาทขององค์กรธุรกิจภาคเอกชน โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่จึงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้กับประเทศไทย เพราะบริษัทเอกชนใหญ่ๆที่มีเสถียรภาพมากนั้น มีทั้งส่วนที่เป็น Value Company และ Growth Company ที่มีบทบาทสร้างเศรษฐกิจและมูลค่าให้ประเทศ 


     “การจะสร้างระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพได้นั้น รัฐบาลต้องสวมบทบาทผู้นำโดยมีเอกชนมาร่วมหนุนในฐานะผู้ตามสนับสนุนขับเคลื่อนของรัฐเพื่อทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่งคั่ง โดยเฉพาะเป็นความมั่งคั่งของคุณภาพชีวิตของประชากรที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญ”
     การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมจึงต้องขับเคลื่อนไปด้วยกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีบทบาทเข้ามาเป็นผู้เล่นสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
      
 

ที่มา : สรุปและเรียบเรียงจากการบรรยายของ ศาสตราจารย์ อาร์ตูโร บริส ผู้อำนวยการ IMD World Competitiveness Center ซึ่งเป็นองค์กรจัดทำดัชนีชี้วัดการแข่งขันของประเทศต่างๆทั่วโลก ในหัวข้อ "Thailand and countries in Asia competitiveness and how the countries and C.P.Group should strategically plan for the next decade" จัดโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 6 ตึก Pegasus ทรู ดิจิทัล พาร์ค 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21871

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20471

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

14 ประเด็นสำคัญ ความท้าทายของประเทศไทยและองค์กรธุรกิจในการเพ... มังกรจะเติบโตอย่างไร ในปี 2020 (1)...
  • ศาสตราจารย์อาร์ตูโร บริส
  • IMD
  • บทบาทธุรกิจเอกชนไทย
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3785

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3529

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4297

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th