• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

“คุณวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์” ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการศึกษาบนเวทีระดับโลก


08 ธันวาคม 2562

 “คุณวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์” นักการศึกษาจากประเทศไทยทายาทประธานอาวุโส เครือซีพี ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านการศึกษาบนเวทีระดับโลก"2019 Forum for World Education"ที่กรุงปารีส  ยกกรณีศึกษา “สถาบันผู้นำฯ-ปัญญาภิวัฒน์” เป็นตัวอย่างระดับโลก ผลิตนักศึกษาและบุคลากรป้อนสู่ตลาดแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ


      “คุณวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์” ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน บุตรคนโตของท่านประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ก่อตั้งองค์กร Forum for World Education หรือ FEW ได้ขึ้นเวทีการประชุมเพื่อการศึกษาโลก หรือ  2019 Forum for World Education ซึ่งองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สำนักงานใหญ่ OECD ในกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ What does it take to change education? เพื่อเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งมุมมองจากภาคธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันระบบการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ โดยมีนักการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาชั้นนำระดับโลก และผู้นำรุ่นใหม่ที่สนใจในประเด็นการศึกษาร่วมประชุม ประกอบด้วย รีเบคก้า เมย์นาร์ด ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา , คริสตอฟ เมซเกอร์ โปรเฟสเซอร์ มหาวิทยาลัยเซนต์ แกลเลน สวิตเซอร์แลนด์ , คริสโตเฟอร์ พอมเมเรนนิ่ง ผู้ก่อตั้งโครงการ LearnLife ประเทศสเปน และเทียนเทียน จิน ตัวแทนผู้นำรุ่นใหม่จากองค์กร Forum for World Education (FWE) โดยมีการนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สเปน และไทย ทั้งนี้ คุณวรรณี เป็นตัวแทนจากภาคธุรกิจของไทย นำเสนอให้เห็นถึงบทบาทของภาคธุรกิจไทยในการร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาภาคการศึกษาและการสร้างคน โดยยกกรณีตัวอย่าง “สถาบันผู้นำ เครือเจริญโภคภัณฑ์” หรือ CPLI และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM

     ทั้งนี้ คุณวรรณี ได้นำเสนอกรณีศึกษาที่ภาคธุรกิจอย่างซีพีเข้ามาจัดการศึกษาให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านสถาบันผู้นำ ซึ่งเรียกกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ว่า “เถ้าแก่น้อย” ตามแนวคิดของประธานอาวุโสเครือซีพี  โดยเพาะบ่มแนวคิดและการทำงานให้กับคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษาซึ่งเปรียบคนรุ่นใหม่เหมือนต้นกล้าที่มีความสามารถจะเรียนรู้สิ่งใหม่ได้รวดเร็ว โดยสถาบันผู้นำฯได้เข้ามาพัฒนาจัดอบรมและให้กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ได้ลงมือปฏิบัติจริงในการวางแผนธุรกิจและแก้ปัญหา ให้เกิดการลองผิดลองถูกเพื่อเป็นบทเรียน โดยคนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้กลับมารายงานสรุปว่ามีสิ่งไหนที่ทำถูกต้องหรือส่วนไหนที่ผิดพลาด และได้แก้ปัญหาอะไรไปบ้าง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกฝนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีผู้บริหารของเครือซีพีฯทำหน้าที่เหมือนพี่เลี้ยงแลกเปลี่ยนและให้ไอเดียคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ เมื่อเขาพบอุปสรรคและต้องตัดสินใจแก้ปัญหาต่างๆ หลังการอบรมเสร็จสิ้นคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ส่วนหนึ่งก็จะกลับไปทำงานในหน่วยงานต่างๆของเครือฯต่อไป ซึ่งเครือซีพีฯเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ลูกวัวไม่กลัวเสือ” เปรียบคนรุ่นใหม่เป็นลูกวัวที่มีพลังมากพอที่จะทำและเรียนรู้ทุกอย่าง เพราะยังเด็กไม่มีอะไรต้องกังวล จึงกล้าที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้อย่างไม่กังวลเช่นผู้ใหญ่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพราะเครือซีพีฯมองว่าสอดคล้องกับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คนที่มีประสบการณ์หรือเป็นผู้ใหญ่แล้วสามารถสอนและเรียนรู้ได้จากคนรุ่นใหม่เช่นเดียวกัน และถ้าได้คนรุ่นใหม่ทำเรื่องใหม่ก็จะได้ธุรกิจใหม่ ซึ่งเมื่อคนกลุ่มนี้ผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ให้คำแนะนำเขาก็จะมีศักยภาพนำสิ่งใหม่ๆพัฒนาสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมและองค์กร

     นอกจากนี้ คุณวรรณี ยังนำเสนอรูปแบบของการจัดการศึกษาของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์  ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากแนวคิดของคุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เพราะต้องการช่วยเหลือพนักงานให้มีอนาคตที่ยังยืนควบคู่ไปกับการก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่สามารถทำงานและเรียนไปด้วยพร้อมกันได้  ส่งเสริมให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จำเป็นต้องออกมาทำงานตั้งแต่อายุ 17-18 ปี หรือบางคนที่จบการศึกษาระดับอาชีวะ และมัธยมปลาย  บางคนก็ยังไม่จบการศึกษา ได้มีโอกาสเรียนหนังสือและทำงานเป็นพนักงานในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นได้  จะเห็นว่าภาคธุรกิจไม่ได้มอบให้แค่การสร้างอาชีพให้คนกลุ่มนี้ แต่ยังมองถึงอนาคตที่ก้าวหน้ามั่นคงของนักศึกษาและพนักงาน โมเดลนี้ถือเป็นหนึ่งในปรัชญาสำคัญของเครือซีพี คือ ไม่ว่าเราจะทำธุรกิจอะไร ประโยชน์จะต้องให้กับประเทศชาติก่อน ตามมาด้วยประชาชน และถึงจะเป็นบริษัท ในการนี้ คุณวรรณี ยังได้ย้ำให้เห็นถึงคุณค่าของการให้และเมตตาต่อสังคม โดยขอให้ช่วยกันปลูกฝังการให้และการแบ่งปันเพื่อสังคม

    นอกเหนือจากนี้ ยังมีตัวแทนจากสวิตเซอร์แลนด์ได้นำเสนอรูปแบบการจัดการหลักสูตรการศึกษา ที่เรียกว่า VET คือการจัดการเรียนการสอนคู่ขนานระหว่างการเรียนอาชีวศึกษาผสมผสานกับการเรียนหลักสูตรสามัญ เป็นการดึงจุดแข็งของสายวิชาการและสายอาชีพเข้าด้วยกัน เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นสูง ฝึกฝนทักษะและมีประสบการณ์ตรงในการทำงานในอนาคต โดยการเรียนรูปแบบนี้จะได้ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติจริงกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัท ซึ่งจากการทดลองใช้และสำรวจความเห็นพบว่าผู้มีมีความพึงพอใจ มีความหวังในอนาคตของอาชีพและรายได้ที่ดีขึ้น ขณะที่ฝั่งบริษัทได้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ตรงเป้าหมายและรองรับอนาคตของการเปลี่ยนแปลงในโลก ทั้งยังช่วยลดจำนวนคนรุ่นใหม่ที่ว่างงานด้วย ทั้งหมดนี้ต้องเกิดจากความร่วมมือทั้งในระบบการศึกษา และภาคธุรกิจ

     ส่วนประเทศสเปนได้เสนอแนวคิด โปรเจ็กต์ Learning Hub ที่เป็นศูนย์การจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคคล หรือ Personal Learning เพราะจากผลสำรวจพบว่าเด็กมัธยมปลายกว่า 76% ไม่รู้ว่ามีเป้าหมายอะไรในชีวิต และยิ่งในอนาคต 10 ปี ข้างหน้าพวกเขาจะต้องเติบโตเข้าสู่สังคมยุคหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแนวทาง Learning Hub นี้ เป็นการเปิดให้ผู้เรียนได้ออกแบบการเรียนและเรียนรู้ด้วยตัวเอง และตระหนักได้ถึงเป้าหมายแรงบันดาลใจของตัวเอง ซึ่งจะได้ผลิตบุคลากรที่เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งโมเดลนี้รัฐบาลเยอรมันกำลังให้ความสนใจและจะเริ่มทดสอบในอนาคต

     ขณะที่ประเทศไทย คุณวรรณีเห็นอย่างสอดคล้องว่ารูปแบบการจัดการศึกษาของสถาบันปัญญาภิวัฒน์มีความคล้ายคลึงกับการผสมผสานการเรียนอาชีวศึกษากับระดับมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน เพราะผู้เรียนจะได้มีโอกาสฝึกฝนประสบการณ์ระหว่างเรียนกับภาคธุรกิจต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญของการจัดการศึกษาคือการสร้างให้คนมีแรงบันดาลใจที่จะเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26573

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

ประธานอาวุโสซีพี “ธนินท์ เจียรวนนท์” ขึ้นเวทีพร้อม “แจ็ค หม่... อีกก้าวหนึ่งของความสำเร็จ China International Import Expo (1...
  • การศึกษา
  • วรรณี รอสส์ เจียรวนนท์
  • ซีพี
  • ปัญญาภิวัฒน์
  • สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th