• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนา “วัตถุดิบอาหารสัตว์” ต้นทางอาหารปลอดภัย “ไร้ฮอร์โมน-ปราศจากยาปฏิชีวนะ”


โดย ภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์

16 กุมภาพันธ์ 2558

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ถูกพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทำให้การศึกษาพัฒนาด้านสายพันธุ์ อาหาร และการจัดการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตสูงสุด มีความจำเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ เพราะต้นทุนด้านอาหารมีสัดส่วนสูงถึง 60-75% ดังนั้นการจัดการอาหารให้เหมาะสม ทั้งการเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบ และเสริมสารอาหารต่างๆ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์จึงเป็นสิ่งสำคัญ

เทคโนโลยีผลิตอาหารสัตว์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามากเป็นพิเศษ โดยทุกวันนี้มีงานวิจัยในระดับโมเลกุล เพราะการผลิตอาหารสัตว์จะต้องมีคุณภาพ มีการคำนวณสารอาหารต่างๆ ทั้งพลังงาน โปรตีน กรดอะมิโน แร่ธาตุ วิตามิน และกรดไขมัน ให้เพียงพอและสมดุลกับสัตว์ รวมทั้งจะต้องเตรียมพร้อมค้นหาวัตถุดิบใหม่มาทดแทน เพราะวัตถุดิบหลักอาจขาดแคลนได้ตามช่วงฤดูกาล ขณะนี้มีการใช้กรดอะมิโนสังเคราะห์เป็นแหล่งโปรตีนในการเลี้ยงสัตว์ ส่วนแหล่งพลังงานอาจต้องใช้ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี หรือมันสำปะหลังมาใช้ทดแทนข้าวโพด งานวิจัยจึงเป็นงานที่ไม่หยุดนิ่ง และมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ตลอดเวลา

เทรนด์ของวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ในยุคนี้ นอกจากจะคำนึงถึงความปล อดภัยของผู้บริโภคแล้ว จะต้องให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วย เช่น ข้าวโพดที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบต้องเป็นข้าวโพดที่ไม่บุกรุกป่า หรือปลาป่นต้องไม่รับซื้อจากเรือประมงที่ใช้แรงงานทาส เพราะหากมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับแล้วพบเรื่องแบบนี้ จะถูกกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศทันที

มาตรฐานการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์อยู่ในระดับมาตรฐานสากล หลายคนคิดว่าสาเหตุที่ไก่และหมูโตเร็วเกิดจากการฉีดฮอร์โมนเร่งโต หรือใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ แต่ความจริงถือเป็นเรื่องเข้าใจผิดอย่างมาก  เพราะสาเหตุที่ไก่และหมูเติบโตเร็ว มาจากความก้าวหน้าด้านสายพันธุ์สัตว์ การใช้เทคโนโลยีวิจัยอาหารสัตว์ ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความสำคัญมานานกว่า 40 ปีแล้ว โดยมีการตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาอาหารสัตว์ที่หัวกุญแจ จ.ชลบุรี และเกิดขึ้นพร้อมๆ กับหน่วยงานควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ที่มีระบบห้องปฏิบัติการกลางที่ ถ.บางนา-ตราด กม.21 ล่าสุดกำลังจะเปิดตัวศูนย์วิจัยโคนมในพื้นที่ที่ราบสูง จ.เลย เพิ่มเติมจากศูนย์วิจัยสัตว์เคี้ยงเอื้อง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา ทำให้มั่นใจได้ว่า เนื้อสัตว์ที่คนไทยบริโภค มีมาตรฐานความปลอดภัยเดียวกันกับเนื้อสัตว์ที่ส่งออกขายในต่างประเทศ

เป้าหมายการเป็น “ครัวของโลก” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนา เพราะต้นทางอาหารมีคุณภาพและปลอดภัยจะเริ่มตั้งแต่วัตถุดิบอาหารสัตว์ ไปจนถึงปลายทางเมื่ออาหารถึงมือผู้บริโภค

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26726

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
22053

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20694

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12983

แชร์ข่าวสาร

เครือเจริญโภคภัณฑ์เดินหน้าบุกตลาด “อาหารฮาลาล” ใช้มาเลเซียเป... “ซื่อสัตย์ เมตตา สามัคคี จึงพลิกดินเป็นทองได้” ข้อคิด ปรัชญา...
  • คุยกับซีพี
  • CP Talk
  • ซีพี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ภัทนีย์ เล็กศรีสมพงษ์
  • อาหารสัตว์
  • อาหารปลอดภัย
  • ฮอร์โมน
  • ยาปฏิชีวนะ

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
4034

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3742

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4503

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4308

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th