• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

7 หลักคิดสำคัญ ทำธุรกิจสไตล์ “ธนินท์ เจียรวนนท์”


โดย CP E-News

11 ตุลาคม 2562

หนังสือ “ความสำเร็จ...ดีใจได้วันเดียว” ขึ้นอันดับ 1 หนังสือขายดีของสำนักพิมพ์มติชนในมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24 หลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักอ่าน และผู้สนใจทั่วไป ที่ต้องการเรียนรู้กลยุทธ์และแนวคิดในการทำงานของคุณ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซีพี

โดย CP E-News ขอสรุป 7 หลักคิดสำคัญในการทำธุรกิจ ตลอดระยะเวลาเกือบ6ทศวรรษของคุณ “ธนินท์” จากหนังสือ ความสำเร็จ...ดีใจได้วันเดียว” มาเล่าให้ฟังเป็น 7 หลักคิดสำคัญ ที่ทั้งน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต การทำธุรกิจ กิจการงานต่างๆให้ประสบความสำเร็จทั้งกายและจิตใจ

1.นักเรียนรู้ ผู้ไม่กลัวงานหนัก

ประธานอาวุโสเครือ ซีพี เล่าไว้ในหนังสือว่า ใช้เวลา 10 ปี แรกของชีวิตการทำงาน ทุ่มเทสร้างรากฐานสำคัญให้ธุรกิจการเกษตรและอาหาร ด้วยการ "คิด หา ทดลอง" เทคโนโลยีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยหลักคิด “เรื่องใดไม่รู้ยิ่งต้องเจาะลึก” ศึกษาไปให้ถึงที่สุด กระทั่งลงพื้นที่พบปะเกษตรกรเพื่อถ่ายทอดวิธีการที่ค้นคว้ามาเป็นประโยชน์ให้กับทั้งเกษตรกรและองค์กรบริษัท ซึ่ง คุณธนินท์ ย้ำเสมอว่า จะทำธุรกิจต้องเป็นนักเรียนรู้ ไม่กลัวงานหนัก

 

2.สร้างการเปลี่ยนแปลง กล้าเริ่มต้นใหม่

การเป็นนักธุรกิจต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จะเริ่มต้นใหม่ และรักที่จะท้าทายเรื่องยาก นำมาสู่ "ความกล้า" ที่จะบุกเบิกพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ให้ประเทศ อาทิ ระบบการเลี้ยงไก่รูปแบบใหม่ที่ต้อง "กล้า" ทั้งการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อมุ่งสู่คุณภาพ และ "กล้า" ที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เกษตรกรไทยมีอาชีพและรายได้ที่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีระบบ "ครบวงจร" "การไม่หยุดนิ่ง" คือจุดสำคัญของธุรกิจที่จะเติบใหญ่

 

3.เลือกทำธุรกิจ ตัวชี้ขาดคือ “ตลาด”

"วิธีเลือกทำธุรกิจ" จุดที่จะตัดสินใจว่าจะไปลงทุนที่ไหน ตัวชี้ขาดอยู่ที่ "ตลาด" ที่ต้องพิจารณาว่า ตลาดนั้นมีโอกาสให้เราขยายหรือไม่ จำนวนประชากรมากพอที่จะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ถ้าตลาดเล็กเกินไป การลงทุนจะไม่คุ้ม ยกเว้นกรณีที่ตลาดนั้นเป็นตลาดที่ติดกับตลาดใหญ่ที่เราลงทุน ก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ เช่น ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน

 

"ในธุรกิจอื่น ๆ ก็เช่นกัน มีผู้เล่นอยู่มากมาย สำหรับธุรกิจอื่น ๆ เราจะทำหรือไม่ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาส ถ้าศึกษาแล้วคิดว่า เราทำได้ เราถึงจะทำ แต่ถ้าธุรกิจนั้นมีผู้ลงทุนอยู่แล้ว และเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แปลว่าเขามีคนเก่งอยู่แล้ว ไม่ควรจะไปแข่งกับเขา...เพราะว่าในโลกนี้มีธุรกิจอีกมากมายที่ยังไม่มีใครลงทุน และมีช่องว่างสำหรับการลงทุนเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผมจะทำเบียร์ ทำไมผมต้องทำที่เมืองไทย ในเมื่อเบียร์สิงห์และเบียร์ช้างเขาทำได้ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว ตลาดมีอยู่ทั่วโลก ฉะนั้นถ้าประเทศไหนยังไม่มีคู่แข่งที่แข็งแกร่ง และมีตลาดใหญ่พอ มีโอกาสที่จะเข้าไปได้ เราก็ไปที่นั่น"

 

4.ต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

แม้จะประสบความสำเร็จในประเทศ แต่ต้องรู้จักที่จะ "กระจายความเสี่ยงในการลงทุน" ไม่ลงทุนในประเทศเดียว แต่ต้องกระจายการลงทุนในหลายประเทศ ไม่คิดแต่จะคุมตลาด เนื่องจากไทยเป็นประเทศเสรีใครก็มีสิทธิ์แข่งกับเราได้

 

"อย่าคิดว่าเราทำได้แต่ผู้เดียว คนเก่ง ๆ ในโลกมีมาก ฉะนั้น ที่หลายคนเข้าใจว่า ซี.พี.จะผูกขาดตลาดประเทศไทยได้ ไม่ใช่เลย อย่างมากที่สุดที่เราสามารถทำได้ คือ เป็นผู้นำตลาดเท่านั้น แต่ก็มีคู่แข่งอยู่ดี มีเบอร์ 2 เบอร์ 3 และเบอร์อื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ใช่ว่าผูกขาดตลาดอยู่คนเดียว บริษัทใหญ่ ๆ ในต่างประเทศทุกวันนี้ก็เข้ามาลงทุนในไทย เรื่องผูกขาดตลาดนี่ ทำไม่ได้อยู่แล้ว" คุณธนินท์เล่าไว้ในหนังสือ

 

5.เมื่อคิดจะลงทุนแล้ว อย่าคิดทำธุรกิจด้อยพัฒนา

อีกหลักใหญ่สำคัญของผู้จะลงมือทำธุรกิจ "เมื่อคิดจะลงทุนแล้ว อย่าคิดทำธุรกิจด้อยพัฒนา" เพราะเมื่อตัดสินใจลงทุนแล้วจะต้องทำให้ดีที่สุดเอาเทคโนโลยีทันสมัยเข้าไปใช้และลงทุนให้ครบทุกขั้นตอนการผลิต คนมักจะคิดว่าเราอยู่ประเทศกำลังพัฒนา คนก็ไม่พร้อม เงินก็ไม่มี เราจะไปสู้เขาได้อย่างไร คิดแบบนี้แพ้ตั้งแต่ตอนคิด

 

"อย่าไปคิดว่าเราความรู้ไม่ถึง ลองสังเกตดู ทำไมคนใช้คอมพิวเตอร์เป็น คนใช้โทรศัพท์มือถือเป็น นั่นเพราะยิ่งไฮเทค ยิ่งใช้ง่าย ดังนั้นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยถึงจะสู้เขาได้...นักธุรกิจไทยอย่าจำกัดตัวเอง"

 

6.เมื่อเผชิญวิกฤต ต้องตัดสินใจทิ้งของบางส่วนเพื่อไม่ให้เรือล่ม

"ความสำเร็จ...ดีใจได้วันเดียว" เป็นปรัชญาอันลุ่มลึกและแยบคายของนักธุรกิจผู้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจนประสบความสำเร็จในระดับโลก กระนั้นทั้งความสำเร็จ และวิกฤติมักอยู่คู่กัน หนึ่งในเรื่องราวสำคัญที่คุณธนินท์ เล่าไว้ในหนังสือเล่มนี้ถึง ความสำเร็จและวิกฤติ ในเรื่องเดียวกัน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ ว่า วันนี้สำเร็จ พรุ่งนี้ก็อาจล้มเหลว ความสำเร็จ จึงดีใจได้วันเดียว ซึ่งในประเด็นนี้ได้ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวของ "สยามแม็คโคร"

 

"เมื่อปี 2531 ซี.พี.ได้ร่วมทุนกับบริษัท เอสเอชวี ที่เป็นเจ้าของห้างแมคโคร ก่อตั้งบริษัท สยามแมคโคร จำกัด (มหาชน) ขึ้นมาทำธุรกิจค้าส่งในประเทศไทย สยามแม็คโคร ไม่ใช่ได้มาง่ายๆ ตอนนั้นผมต้องใช้ความพยายามพอสมควร เพราะผู้จัดการใหญ่เขามาบอกว่า รายได้คนไทยยังน้อยเกินไป เขาจะไปทำที่ไต้หวัน ผมจึงต้องบินไปหาประธานบริษัท เอสเอชวี ไปอธิบายให้ท่านเข้าใจว่า ประเทศไทยเหมาะกว่าไต้หวันเสียอีก เพราะรายได้ต่อหัวน้อยกว่าก็จริง แต่คนเรามากกว่าตั้ง 4-5 เท่า ที่ดินก็ถูกกว่า ในที่สุดประธานบริษัท เอสเอชวี ก็เชื่อผม เราจึงได้ร่วมทุนกันเปิดสยามแม็คโครที่ประเทศไทยขึ้นมา ซึ่งกิจการก็ไปได้ดี จนกระทั่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2540 ที่ทำให้ เครือซี.พี. ต้องเจอกับปัญหาหนัก"

 

คุณธนินท์ เล่าในหนังสือถึงวิธีรับมือวิกฤติใหญ่ครั้งนี้ว่า ต้องตัดสินใจ "ทิ้งของบางส่วนเพื่อไม่ให้เรือล่ม" ด้วยการขายกิจการหลาย ๆ อย่างไป ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "สยามแม็คโคร"

 

"วันนี้ขายได้ วันหน้าก็ซื้อกลับมาได้" นี่คือ สิ่งที่ผมคิดในวันที่ตัดใจขาย "สยามแม็คโคร"

 

เขาเล่าว่า แม้จะเคยเจอมรสุมมาหลายลูกแล้ว เคยเจอภาวะค่าเงินบาทลดมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี 2527 แต่ต้องยอมรับว่าวิกฤติปี 2540 ซี.พี.ไม่ได้ตั้งตัว

 

"ไม่ได้เฉลียวใจเลยจริง ๆ ถึงขนาดที่ผมขอวางมือจากธุรกิจหลักที่อยู่ตัวแล้ว และจะดูแค่ธุรกิจที่เราเพิ่งเริ่มได้ไม่กี่ปี ยังไม่เข้ารูปเข้ารอยเท่านั้น คือ โทรศัพท์และค้าส่งปลีก แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นมา แผนที่จะวางมือของผมก็เป็นอันต้องพับไป"

 

ยังมีกรณีศึกษาเล่าไว้ให้ได้ซึมซับประสบการณ์อีกหลายเรื่อง ว่าช่วงวิกฤติเขาตัดสินใจ "ขายทิ้ง" ธุรกิจใดบ้าง เรื่อยไปถึงวิกฤติที่ลุกลามจนทำให้เกิดหนี้ก้อนโตจากบริษัท เทเลคอมเอเชีย
(ทรู คอร์ปอร์เรชั่น ในปัจจุบัน) ที่ต้องขายกิจการอื่น ๆ บางส่วนเพื่อนำเงินมาใช้หนี้

 

7.เครียดขนาดไหน...แต่ต้องนอนให้หลับ ใช้หลักการ 8-8-8-8

ช่วงเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540ธนินท์ ยอมรับว่า เครียดมาก

 

"ช่วงนั้นเครียดมาก ที่ต้องตัดใจขายกิจการที่สร้างมากับมือ แต่เครียดขนาดไหนก็ต้องนอนให้หลับ ให้สมองปลอดโปร่ง ร่างกายมีแรงตื่นขึ้นมาสู้กับปัญหาในเช้าวันรุ่งขึ้น"

 

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพของคุณธนินท์ เป็นทีเด็ดง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปทำตามได้ เจ้าสัวเรียกเคล็ดลับนี้ว่า “หลักการ 8-8-8-8 (สี่แปด)”แปดที่ 1 : กิน 80% แปดที่ 2 : นอน 8 ชั่วโมง แปดที่ 3 : เดิน 8,000 ก้าว แปดที่ 4 : ดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้ว

 

ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว ถ้ามีใจจะก้าวต่อไป ต้องดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของตัวเองเพื่อให้มีแรงทำพรุ่งนี้ของเราให้ดีกว่าวันนี้

         

ยังมีเนื้อหาที่น่าติดตามอีกมากมายไล่เรียงให้เห็นภาพตั้งแต่การบุกเบิกสร้างธุรกิจ จนธุรกิจเติบใหญ่ ผ่านวิกฤต และจะไปข้างหน้าต่อไปอย่างไร

   

...ติดตามอ่านกันได้ต่อในหนังสือ "ความสำเร็จ...ดีใจได้วันเดียว" หนังสือทรงคุณค่าที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงของนักธุรกิจในตำนาน วางจำหน่ายแล้ววันนี้ รายได้ทั้งหมดจะนำบริจาคในโครงการสาธารณกุศล

 

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

ที่นี่ที่เดียว! รวมทุกโมเมนต์สะกดใจต้นจนจบ งาน Exclusive Tal... MULTIPOLAR SKILLS การมีความสามารถที่หลากหลาย...
  • หนังสือความสำเร็จดีใจได้วันเดียว
  • ความสำเร็จดีใจได้วันเดียว
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • ประธานอาวุโสซีพี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th