• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

แก้วิกฤต “ยางพารา” อย่างยั่งยืนด้วยแนวคิด “ทฤษฏีสองสูง” เพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มรายได้เกษตรกร


โดย ขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์

02 กุมภาพันธ์ 2558

วิกฤตราคายางพาราตกต่ำ กลายเป็นปัญหาสำหรับชาวสวนยางมานาน เพราะราคายางตลาดโลกผันผวน เป็นปัจจัยอยู่เหนือการควบคุม ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการเฉพาะหน้าช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งแทรกแซงราคา และจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้ชาวสวนยาง แต่แนวทางนี้ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพารามากเป็นอันดับ 1 ของโลกกว่า 4 ล้านตันต่อปี รองลงมาคืออินโดนีเซียกว่า 3 ล้านตัน อันดับ 3 เวียดนามเกือบ 1 ล้านตัน ส่วนจีน อินเดีย และมาเลเซีย ผลิตได้กว่า 8 แสนตันต่อปี ทำให้ปริมาณยางพารามีมากกว่าความต้องการใช้ยางพารา ส่งผลให้ราคาตกต่ำ ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหามีหลายแนวทางที่ต้องทำควบคู่กันไปคือ รัฐบาลต้องปรับยุทธศาสตร์สนับสนุนให้นำยางพารามาใช้ภายในประเทศเพื่อแปรรูป จากนั้นต้องกำหนดนโยบายใช้ยางพาราให้ชัดเจน เช่น ใช้ทำถนน หรือทำถุงมือยาง ซึ่งมาเลเซียใช้นโยบายนี้ประสบผลสำเร็จมาแล้ว

ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 25 ปี จะต้องโค่นทิ้งแล้วปลูกทดแทนใหม่ซึ่งจะให้ผลผลิตในอีก 7 ปีถัดไป โดยต้นยางที่ถูกโค่นทิ้งสามารถนำไปขายได้ ขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 22 ล้านไร่ จะต้องโค่นทิ้งปีละ 8 แสนไร่ เพื่อให้ผลผลิตน้ำยางมีคุณภาพ ลดต้นทุนของเกษตรกร และตัดอุปสงค์ (Supply) ยางพาราลง ที่สำคัญชาวสวนยางจะต้องพัฒนาคุณภาพการผลิตตั้งแต่เพาะปลูก ไปจนถึงการกรีดยาง โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อเป้าหมายลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ จากนั้นภาครัฐและเอกชนจะต้องเข้ามาสนับสนุน จึงจะทำให้ปัญหายางพาราได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน

สำหรับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยชาวสวนยาง ถือเป็นแนวทางการทำ “เกษตรสมัยใหม่” ที่ไม่เน้นพึ่งพาแรงงาน มุ่งเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ จะช่วยเพิ่มรายได้และกระจายความเสี่ยงให้เกษตรกร ซึ่ง “เกษตรสมัยใหม่” สอดคล้องกับแนวคิด “ทฤษฏีสองสูง” คือ ต้องใช้เงินลงทุนเรื่องเทคโนโลยีก่อน เพื่อให้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มผลผลิต เมื่อสินค้ามีคุณภาพก็จะขายได้ราคา และทำให้ชาวสวนยางมีรายได้สูงตามมา แต่เรื่องนี้จะประสบผลสำเร็จได้ ต้องมีภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนด้านการจัดการ การตลาด และนำเทคโนโลยีมาช่วยเกษตรกร

โครงการ “4 ประสานว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาการผลิตและการตลาดยางก้อนถ้วยคุณภาพของเกษตรกรใน จ.เลย อย่างยั่งยืน” หรือ “Loei Model” ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์การเกษตร จำกัด หนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ถือเป็นโครงการที่จะช่วยตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำได้อย่างยั่งยืน เพราะเครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าไปตั้งโรงงานแปรรูปยางแท่งบนพื้นที่ 134 ไร่ ใน อ.วังสะพุง จ.เลย เพื่อรับซื้อยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรในรัศมี 30 กิโลเมตร และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปช่วยชาวสวนยาง ตั้งแต่วิเคราะห์ดิน เลือกพันธุ์ยาง แนะนำใช้ปุ๋ย และวิธีดูแลสวนยางอย่างถูกหลักวิชาการ จากนั้นจะแนะนำวิธีการกรีดยาง และใช้ภาชนะฝาครอบถ้วยแทนกะลา เพื่อไม่ให้สกปรก ทำให้น้ำยางมีคุณภาพ ขายได้ราคาสูง สุดท้ายประโยชน์จะตกอยู่ที่เกษตรกร และทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของไทยมีศักยภาพแข่งขันได้ในตลาดโลก

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20473

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

เทรนด์ “ซีเอสอาร์”โลกปี 2558 องค์กรธุรกิจจะเติบโตยั่งยืนได้ ... เครือเจริญโภคภัณฑ์เดินหน้าบุกตลาด “อาหารฮาลาล” ใช้มาเลเซียเป...
  • คุยกับซีพี
  • Talk CP
  • ขุนศรี ทองย้อย
  • ยาง
  • ยางพารา
  • เลย
  • 4 ประสาน
  • เกษตรสมัยใหม่
  • ทฤษฏีสองสูง

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th