• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ทะเลไทย…ให้อะไรกับเราบ้าง


โดย ดร.อธิป อัศวานันท์ และ คุณวิศิษฏา วรรณรัตน์

29 สิงหาคม 2562

หากพูดถึง “ทะเล” หลายคนคงนึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดหมายของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะต้องไปเยือน เพราะเป็นสถานที่ขึ้นชื่อเรื่องน้ำทะเลใสและชายหาดสวยงาม

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ในปี 2561 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น 3.08 ล้านล้านบาท โดย 10 อันดับสถานที่ที่นักท่องเที่ยวไปเยือนมา ส่วนใหญ่ก็เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลแทบทั้งสิ้น (ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) แต่ทะเลไม่ได้เป็นเพียงแค่สถานที่พักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น 

นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย ได้กล่าวถึงความสำคัญของทะเลว่า “ทะเลคือแหล่งอาหารสำคัญของประเทศไทย ประมงชายฝั่งคืออาชีพดั้งเดิมของสังคมไทย เป็นแหล่งอาชีพที่สำคัญของผู้คนที่ทำให้มีรายได้เลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัว และยังเป็นแหล่งโปรตีนของทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิภาคใดของประเทศไทย ทะเลก็เป็นแหล่งโปรตีนเป็นปัจจัยสำคัญ เรื่องทะเลจึงเป็นเรื่องใหญ่” 

นอกจากนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ Greenworld เมื่อปี 2017 ได้นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจจาก UN Ocean Conference เกี่ยวกับเรื่อง “ทะเลให้อะไรกับเราบ้าง” 

ทะเลให้อากาศ…มหาสมุทรผลิตออกซิเจนให้โลกมากกว่า 50% และเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าชั้นบรรยากาศถึง 50 เท่า

ทะเลเป็นตัวกำหนดสภาพอากาศ…มหาสมุทรปกคลุม 70% ของพื้นผิวโลก และช่วยส่งต่อความร้อนจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลก อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบสภาพอากาศอีกด้วย

ทะเลทำให้เกิดการขนส่ง…76% ของการค้าของสหรัฐฯ ทั้งหมด ล้วนแล้วแต่เป็นการขนส่งทางทะเล

ทะเลทำให้เกิดกิจกรรมทางน้ำ…มีกิจกรรมทางน้ำที่สร้างประสบการณ์พิเศษให้มากมาย ทั้งตกปลา ล่องเรือ พายเรือแคนู ชมปลาวาฬ ฯลฯ

ทะเลทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ…ทะเลช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มาจากสินค้าและบริการจากทะเล

ทะเลให้อาหาร…นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญแล้ว ทะเลยังเป็นแหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหารอีกหลายอย่าง

 ทะเลให้ยา...ผลิตภัณฑ์ยาหลายๆ ตัวล้วนมาจากทะเล ทั้งส่วนประกอบที่ช่วยรักษามะเร็ง ข้อต่ออักเสบ อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจ

 

จะเห็นได้ว่า ทะเลมีคุณค่าและประโยชน์กับเรามากมาย แต่สิ่งที่พวกเราให้กับทะเลตามข่าวที่เราเห็นกันก็คือ

“สัตว์ทะเลหายากเกยตื้น เหตุจากขยะพลาสติก”

“ประเทศไทย ติดอันดับ 6 มีขยะพลาสติกในทะเลมากสุดในโลก พบ 1.03 ล้านตัน/ปี”

“มีการลักลอบทำประมงผิดกฎหมาย ทำให้ปริมาณสัตว์ทะเลลดลง”

“การปล่อยน้ำเสียจากทั้งภาคครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ”

เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ตระหนักถึงการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศและเป็นความรับผิดชอบที่ทุกภาคส่วนควรมีส่วนร่วม โดยที่ผ่านมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อผลักดัน ปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงประชาชนทั้งประเทศ โดยการร่วมมือกับพันธมิตร ครอบคลุมหลายภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ (อาทิ กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมทรัพยยากรทางทะเลและชายฝั่ง) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชนชาวประมง เพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม

โครงการปกป้องระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของเครือเจริญโภคภัณฑ์มีหลายโครงการ อาทิ

- โครงการซีพีเอฟ ปลูก-ปัน-ป้อง ป่าชายเลน จังหวัดชุมพร ระยอง สมุทรสาคร สงขลา และพังงา
- โครงการปูม้ายั่งยืนคู่ทะเลไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- โครงการปะการังเทียม จังหวัดสงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
- โครงการบูรณาการฐานข้อมูลและองค์ความรู้ปลาทูไทยอ่าวไทย จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี
- โครงการวิจัยห่วงโซ่อุปทานปลาป่น จังหวัดสงขลา ตรัง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสมุทรสาคร
- โครงการธนาคารสัตว์น้ำ จังหวัดตราด จันทบุรี สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง และปัตตานี
ฯลฯ

จนถึงปัจจุบัน เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังคงดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทางทะเลอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายความยั่งยืนภายใต้กรอบ SDGs (Sustainable Development Goals) ซึ่งไม่เพียงมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืนขององค์กร แต่ยังมุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศด้วย 

อย่างไรก็ดี เรื่องของการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลไม่ได้เป็นหน้าที่หรือความรับผิดชอบของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของเราทุกคนในการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อร่วมสร้างความตระหนักรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเลให้ยั่งยืนต่อไป

ที่มา : มูลนิธิโลกสีเขียว

https://www.bltbangkok.com/article/info/3/962


ABOUT THE AUTHOR
ดร.อธิป อัศวานันท์ 
ผู้บริหารสำนักความยั่งยืน ธรรมาภิบาล เครือเจริญโภคภัณฑ์
ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับโลก เช่น FAO 
และยังเป็นนักเขียนประจำในหนังสือพิมพ์ชั้นนำของประเทศ        
 
 

คุณวิศิษฏา วรรณรัตน์

สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล เครือเจริญโภคภัณฑ์ 

 

 
 
 

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

ซีพีเอฟ... ปลูกสำนึกดีให้มีในสังคม... “ส่วนตน” เพื่อผล “ส่วนรวม”...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th