• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เทรนด์ “ซีเอสอาร์”โลกปี 2558 องค์กรธุรกิจจะเติบโตยั่งยืนได้ ต้องให้ความสำคัญตลอดห่วงโซ่การผลิต


โดย วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

22 มกราคม 2558

จากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีประชากรโลกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารประมาณ 1,000 ล้านคน ฉะนั้น เราจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม เริ่มศึกษาเรื่อง demand size และ คิดค้นนวัตกรรมด้านอาหารที่เหมาะกับผู้บริโภคหลายช่วงวัย อย่างเช่น อาหารผู้สูงอายุ การเข้าถึงอาหาร การจัดการอาหารส่วนเกินและเพิ่มเติมส่วนที่ขาด สร้างการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะบริษัทจะเติบโตเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยการเดินไปบนเส้นทางเดียวกันกับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย

เทรนด์การทำซีเอสอาร์ในระดับโลกปี 2558 ในธุรกิจอาหารนอกเหนือจากเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยแล้วนั้น ยังต้องคำนึงการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทุกวันนี้สิ่งที่หลายคนเป็นกังวล คือ มีการบริโภคที่เป็นส่วนเกิน (food waste) สูง ในขณะที่ประชากรอีกจำนวนมากต้องประสบปัญหาทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหาร ในฐานะผู้นำในธุรกิจอาหาร บริษัทได้เริ่มศึกษาการผลิตอาหารที่มีความยั่งยืนมากขึ้น

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์มาโดยตลอด เพราะด้วยบริบทความยั่งยืนที่ถือเป็นกระแสโลกและความท้าทายของภาคธุรกิจ ทำให้บริษัทได้ทบทวนและพัฒนากรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์การดำเนินงานซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานซีเอสอาร์ขององค์กรตอบรับแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง  อยู่บนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ล่าสุดบริษัทฯได้นำแนวทางสากล GRI ฉบับ G4 มาประยุกต์ใช้ในรายงานความยั่งยืนของบริษัท และเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประเมิน DJSI ในปี 2558 โดยมองว่าพลังบุคลากรจะสร้างพลังซีเอสอาร์องค์กรให้แข็งแกร่ง

เป้าหมายของซีพีเอฟ คือ การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยบริษัทยังคงเดินหน้าแผนซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดินน้ำป่าคงอยู่ ผ่านการขับเคลื่อนทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยการจัดตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ อาทิ คณะทำงาน Supply Chain Management และ คณะทำงานโครงการผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และ คณะทำงานโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

บริษัทมีตัวแทน CSR Leader จากทุกหน่วยธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนแผนซีเอสอาร์ไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะ CSR Leader เหล่านี้จะเป็นผู้รายงานความคืบหน้าของ CSR Project ตั้งแต่กระบวนการคิด การวางเป้าหมาย การจัดทำแผนกิจกรรมที่มีการวัดผลมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์ ขีด-คิด-ร่วม-ข่าย คือ ใช้ขีดความสามารถของตัวเองบวกกับแนวคิดความยั่งยืน ผสานความร่วมมือระหว่างบริษัทและชุมชน ควบคู่ไปกับการจับมือกับเครือข่ายความยั่งยืน อาทิ อาหารมั่นคง นอกจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการเข้าถึงอาหารของคนทุกกลุ่มด้วย หรือ ดินน้ำป่าคงอยู่ เราได้วางยุทธศาสตร์ป่าชายเลน โดยดึงการมีส่วนร่วมของ third party โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบในพื้นที่ตั้งของฟาร์มหรือโรงงาน มีเป้าหมายที่จะตอบแทนคุณระบบนิเวศ” นายวุฒิชัย กล่าว

ธุรกิจขององค์กรจะเติบโตยั่งยืนได้นั้น บริษัทต้องให้ความสำคัญตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะธุรกิจของซีพีเอฟครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องเข้าไปช่วยพัฒนาคู่ค้า หรือ ซัพพลายเออร์ ให้เดินไปด้วยกัน เติบโตไปด้วยกัน โดยในปีหน้า ซีพีเอฟเตรียมที่จะถ่ายทอด “นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจไปยังกลุ่มคู่ค้าธุรกิจหลักของบริษัท” ตามเป้าหมายส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน (Win-Win Partnership)

นอกจากนี้การเปิดเผยผลการดำเนินงานซีเอสอาร์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญ และ บทพิสูจน์ความตั้งใจในการทำงานด้านซีเอสอาร์ของบริษัทตามแนวทางความยั่งยืน โดยได้จัดทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งในปีนี้เราได้นำแนวทางสากลของ Global Reporting Initiative (GRI) G.4 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดมาใช้ โดยเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญที่สุดของบริษัทรวมถึงในปี 2558 บริษัทเตรียมที่จะเข้าร่วมการประเมินของ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ซึ่งเป็นดัชนีจัดอันดับผลการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก จะทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัทในแต่ละมิติทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในระยะยาว

จริงๆ แล้วเรื่องของซีเอสอาร์นั้นเริ่มได้ทุกวันที่ตัวเรา เพราะซีเอสอาร์ ก็คือ Responsibility หรือ ความรับผิดชอบ สิ่งที่เรารับผิดชอบทุกวัน นั่นก็ถือว่า เราได้ทำซีเอสอาร์แล้ว ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด องค์กรอาจจะเป็นแค่วัตถุ แต่พนักงานนี่ละจะหลอมรวมองค์กรให้มีชีวิต ช่วยสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับรู้จัก หากเราทำหน้าที่ตามจิตสำนึกที่ดี ลูกค้าเราก็จะได้รับสิ่งที่มีคุณค่าด้วย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมก็จะเดินหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21873

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20474

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2558 จะขยายตัวดีขึ้น ผลพวงจากราคาน้ำมัน... แก้วิกฤต “ยางพารา” อย่างยั่งยืนด้วยแนวคิด “ทฤษฏีสองสูง” เพิ่...
  • คุยกับซีพี
  • CP Talk
  • วุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์
  • CSR
  • ซีเอสอาร์

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th