• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2558 จะขยายตัวดีขึ้น ผลพวงจากราคาน้ำมันลดลง ทำให้เศรษฐกิจผู้นำเข้าน้ำมันขยายตัวสูงขึ้น


โดย สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน เครือเจริญโภคภัณฑ์

19 มกราคม 2558

ในปี 2558 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.8 ปรับดีขึ้นจากปี 2557 ที่ขยายตัว 3.3 (IMF ประมาณการ ณ ต.ค.57) นำโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซน จีน และญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอตัวลงบ้าง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ลดลงหากยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง น่าจะเพิ่มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกประมาณร้อยละ 0.3-0.7 ผ่านการลดลงของราคาน้ำมันซึ่งเสมือนเป็นการเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะจะเป็นการสร้างกำลังซื้อในประเทศผู้นำเข้าน้ำมัน  และจะมีบางส่วนกระทบรายได้ของผู้ส่งออกน้ำมันให้ลดลง   ในขณะที่ตลาดทุนมีความเสี่ยงจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐฯ โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นหลังช่วงกลางปี 58 ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีเงินทุนไหลออกจากประเทศอื่นๆ กลับสู่สหรัฐฯ และทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

หากพิจารณาเศรษฐกิจแต่ละประเทศ จะพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 58 มีแนวโน้มเติบโตดีต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานและราคาน้ำมันที่ถูกลงซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคของภาคเอกชน  ส่วนนโยบายด้านการเงิน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund rate) อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงจากราคาน้ำมันที่ถูกลง รวมทั้งความเสี่ยงด้านภาคการผลิตที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากการผลิตน้ำมัน Shale Oil ลดลง

เศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากการบริโภคของภาคเอกชนและการส่งออกที่จะปรับตัวดีขึ้นจากราคาน้ำมันที่ถูกลงและค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อต่ำและอัตราการว่างงานสูงยังคงเป็นปัญหาสำคัญของยูโรโซน คาดว่าธนาคารกลางของยุโรป (ECB) จะออกมาตรการ QE เพิ่มเติม โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศต่างๆ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อและการขยายตัวของเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย คาดว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะฟื้นตัวจากปีที่แล้ว หลังจากได้มีการประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภคครั้งที่ 2 เป็นร้อยละ 10 ในเดือน ต.ค. 58 เป็น เม.ย. 60 และการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายลูกศรดอกที่ 3 ของนายกรัฐมนตรีอาเบะ จากปัจจุบันร้อยละ 34.6 เป็น 32.1 มีผลบังคับใช้ 1 เม.ย.58 และลดเป็น 31.3 ใน 1 เม.ย.59 ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการลงทุนของญี่ปุ่นในวงกว้าง ทำให้บริษัทญี่ปุ่นมีแรงจูงใจขยายการลงทุน รวมทั้งดึงดูดบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น

ประเด็นที่น่าจับตามองอีกเรื่อง คือ หลังจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LTD) ของนายกอาเบะได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 57 นายกอาเบะได้ประกาศจะแก้รัฐธรรมนูญในมาตราที่จำกัดอำนาจทางทหารของญี่ปุ่น ซึ่งได้ห้ามญี่ปุ่นใช้กำลังทางทหารแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ ห้ามญี่ปุ่นเข้าสู่สงคราม และการเคลื่อนไหวทางทหารอย่างจำกัด ซึ่งได้ตราขึ้นหลังญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ถ้ามีการแก้ไขสำเร็จจะส่งผลให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยเฉพาะกับจีน

เศรษฐกิจจีนจะชะลอลงต่อเนื่อง คาดว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อผลักดันให้ขยายตัวได้ตามระดับเป้าหมายประมาณร้อยละ 7 เศรษฐกิจอาเซียนจะปรับตัวดีขึ้นตามเศรษฐกิจโลก แต่มีความเสี่ยงของการไหลออกของเงินทุน เศรษฐกิจหลักอย่าง ASEAN 5 เติบโตช้าลงกว่าในอดีต การขยายตัวของอาเซียนในปัจจุบันจึงต้องพึ่งพาเศรษฐกิจกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวสูง ซึ่งสามารถขยายตัวเฉลี่ยได้สูงกว่าร้อยละ 7.0 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 53-57) และคาดว่าจะเติบโตในอัตราที่สูงต่อไปในอนาคต

สำหรับประเทศไทย ในปี 2558 เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นโดยจะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.6 โดยคาดหวังว่า แรงสนับสนุนสำคัญจะมาจากการลงทุนภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนที่จะปรับตัวดีขึ้นมากในปีนี้ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ไม่เต็มที่เพราะการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกสินค้า แม้จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัดจากภาระหนี้ครัวเรือนในระดับสูง และรายได้เกษตรกรที่หดตัวต่อเนื่องจำกัดกำลังซื้อของผู้บริโภคในต่างจังหวัด ขณะที่การส่งออกจะค่อยๆ ฟื้นตัวเช่นกัน เพราะเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญอย่างจีน ญี่ปุ่น และยุโรปมีแนวโน้มขยายตัวช้า บวกกับศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าอุตสาหกรรมของไทยลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะสามารถรองรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ได้เพราะไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่ 158.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นลำดับที่ 14 ของโลก

อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาราคาน้ำมันโลก เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง OPEC ไม่ได้ปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อดึงราคาขึ้นเหมือนแต่ก่อน เพราะต้องการรักษาส่วนแบ่งตลาด โดยหวังว่าระดับราคาน้ำมันที่ต่ำจะลดแรงจูงใจในการผลิต Shale Oil และผู้มีต้นทุนสูงต้องออกจากตลาด ดังนั้นเราจะได้เห็นราคาน้ำมันที่ต่ำไปอีกระยะหนึ่ง คาดว่าจะค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 58 ตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น  IMF คาดว่า ในปี 58 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ลดลง ร้อยละ 0.3-0.7 เศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3-0.7 โดยจีนจะได้รับประโยชน์สูงสุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4-0.7 สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2-0.5, 0.1-0.4 และ 0.3-0.5 ตามลำดับขณะที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะขยายตัวลดลงร้อยละ 0.1

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26647

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21966

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20583

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12704

แชร์ข่าวสาร

“พัฒนาบุคลากรอย่างเข้มข้น” สูตรลับความสำเร็จธุรกิจเบเกอรี่ “... เทรนด์ “ซีเอสอาร์”โลกปี 2558 องค์กรธุรกิจจะเติบโตยั่งยืนได้ ...
  • ซีพี
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • CP
  • CP Group
  • สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • เศรษฐกิจไทย
  • คุยกับซีพี
  • CP Talk

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3902

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3638

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4405

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4230

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th