• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เทรนด์เทคโนโลยีหุ่นยนต์กับแนวทางการดำเนินธุรกิจด้านหุ่นยนต์ของบริษัทระดับโลก


โดย คุณเจริญศักดิ์ รัตนวราห

06 สิงหาคม 2562

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในปัจจุบันเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นทุกที จากในอดีตเราจะเห็นหุ่นยนต์เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องทำการกั้นพื้นที่บริเวณที่หุ่นยนต์ทำงานไม่ให้คนเข้าไปในบริเวณที่หุ่นยนต์ทำงาน เนื่องจากหุ่นยนต์ไม่มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบ ถ้าคนไปขวางทางอาจจะทำอันตรายกับคนได้ ยุคต่อมาเริ่มมี Cobot (Collaborative Robots) หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับคนได้ เมื่อสัมผัสกับคนแล้วจะหยุดการทำงานทันที เพื่อที่จะไม่เป็นอันตรายกับคน แต่ในปัจจุบันเริ่มมีหุ่นยนต์ที่นอกเหนือไปจากการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม นั่นก็คือกลุ่มของ Service Robot หุ่นยนต์ที่ให้บริการใน ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม รวมถึงในอนาคตที่ทุกบ้านจะมีหุ่นยนต์ใช้งานไม่ต่างจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน

ปัจจุบันนี้เราเริ่มจะเห็นข่าวเกี่ยวกับหุ่นยนต์กลุ่ม Service Robot และ AI (Artificial Intelligence) บ่อยขึ้น เริ่มมีการใช้งานในสถานที่ต่างๆ ซึ่งบริษัทใหญ่ๆ ระดับโลกก็เริ่มที่จะเข้ามาในธุรกิจหุ่นยนต์ ยกตัวอย่างเช่น

  • Google : จาก Vision ของ Google สิ่งที่จะทำในส่วนของธุรกิจหุ่นยนต์ก็คือ “การสร้างระบบนิเวศน์ของระบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ ด้วย AI (Artificial Intelligence) และ ML (Machine Learning) ที่ Google สร้างขึ้นจะทำให้หุ่นยนต์อัตโนมัติทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด”
  • ส่วนของฝั่ง Amazon ก็จะมี Amazon Robotics สิ่งที่ Amazon ต้องการจะทำก็คือ “การนำหุ่นยนต์มาใช้เพื่อความสะดวก รวดเร็ว เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้าและอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเริ่มจากการใช้งานใน Warehouse ของตัวเอง รวมถึงการทดสอบการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าด้วยหุ่นยนต์และโดรน” สิ่งที่ Amazon ทำจะเริ่มจากการทดสอบและใช้งานในธุรกิจของตัวเอง แต่ในอนาคตต้องมีการให้บริการกับภาคธุรกิจภายนอกอย่างแน่นอน

มองต่อไปในฝั่ง Service Robot บริษัทที่เริ่มนำหุ่นยนต์ Service Robot มาให้บริการในเชิงพานิชก็คือ Softbank Robotics โดย Softbank เริ่มจากการซื้อบริษัท Aldebaran จากฝรั่งเศส ปัจจุบันมีหุ่นยนต์ 3 Model หลัก คือ Nao, Pepper และ Romeo หุ่นยนต์ที่มีรูปร่างคล้ายคน นอกจากนี้ Softbank ยังซื้อ Boston Dynamics น่าจะมาเสริมทัพในเรื่องของการทรงตัวของหุ่นยนต์ ลงทุนในบริษัท Brain Corp บริษัทที่ทำเกี่ยวกับ AI รวมถึงการลงทุนในบริษัท NURO ที่เน้นเรื่องของ Logistics รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ส่วนของแนวทางการดำเนินธุรกิจหุ่นยนต์ของ Softbank Robotics ก็คือ “การเป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นหุ่นยนต์ Softbank ต้องการที่จะสร้างหุ่นยนต์และบริการมาเพื่ออยู่ในชีวิตประจำวันของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต”

ส่วนของบริษัทหุ่นยนต์ที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อบริษัทมาก่อน เริ่มต้นธุรกิจด้วยการสร้างหุ่นยนต์จากฟากฝั่งของประเทศจีนอย่างบริษัท UBTech Startup ที่เป็น Unicon ไปเรียบร้อยแล้ว ทาง UBtech มีหุ่นยนต์ออกมาหลาย Model มีตั้งแต่หุ่นยนต์เพื่อการศึกษาพร้อมหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ Service Robot ตัวใหญ่ที่ให้บริการตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น โดยทาง UBTech มีความตั้งใจว่า “อยากจะเป็นผู้นำในด้านหุ่นยนต์อัจฉริยะ นำหุ่นยนต์เข้าไปอยู่ในบ้านทุกบ้าน นำหุ่นยนต์ที่ชาญฉลาดเข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา และสร้างวิถีชิวิตที่ชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น” โดยทางฝั่งของจีนเองยังมีบริษัทหุ่นยนต์อีกหลายบริษัท แต่ยังไม่ได้บุกตลาดต่างประเทศและเป็นที่รู้จักทั่วไปสักเท่าไหร่

อีกหนึ่งบริษัทที่หน้าสนใจก็คือ บริษัท Cloud Minds ซึ่งเป็น Startup เหมือนกับ UBTech แต่ยังไม่เป็น Unicon ส่วนของ Cloud Minds มีความตั้งใจที่จะทำ Cloud Robots ซึ่งเป็นเหมือนกับสมองของหุ่นยนต์จากบริษัทต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ของตัวเองที่มีชื่อว่า XR-1 ที่เพิ่งเปิดตัวไป หุ่นยนต์ XR-1 มีความน่าสนใจในเรื่องของการเคลื่อนที่ ที่มีความนุ่มนวล พลิ้วไหว

จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เริ่มให้ความสำคัญกับหุ่นยนต์ รวมไปถึงเริ่มมาการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในภาคธุรกิจต่างๆ และมีแผนที่จะนำหุ่นยนต์เข้าไปอยู่ในบ้านทุกบ้าน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้นเราก็ควรเริ่มที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีหุ่และนยนต์ ตั้งแต่ระดับการศึกษาที่หลายประเทศเริ่มนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นหลักสูตรพื้นฐาน รวมถึงภาคธุรกิจที่ต้องเริ่มทำการศึกษาการนำหุ่นยนต์มาใช้งาน ก่อนที่เราจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน


ABOUT THE AUTHOR
คุณเจริญศักดิ์ รัตนวราห
IT Specialist (หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา True Robotics / True Innovation)
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

ฟาร์มสุกรไทย ใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบ... พลังเล็กๆ ... สู่ความเป็นองค์กรยั่งยืน...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th