• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

กระบวนการเลี้ยงสัตว์ปลอดภัยไม่มีโคลิสติน


โดย นายสัตวแพทย์ดำเนิน จตุรวิธวงศ์

30 กรกฎาคม 2562

จากกระแสเรื่อง การใช้ ยาโคลิสติน ในอาหารสัตว์และการใช้ยาเถื่อน อาจสร้างความตื่นตระหนกแก่ผู้ที่บริโภคเนื้อหมู ส่งผลให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกรมปศุสัตว์และ อย. ต่างออกมาให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ในฐานะสัตวแพทย์ที่ทำงานด้านควบคุมการใช้ยาในสัตว์ของซีพีเอฟ ซึ่งรับประทานเนื้อสัตว์ภายใต้สัญลักษณ์ CPF มาโดยตลอด จึงขอแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตเนื้อสุกรของบริษัทมาเพื่อเป็นข้อมูล

ในระบบกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย (food safety) จะคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โรงชำแหละ โรงแปรรูป กระทั่งจุดจำหน่ายที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิเนื้อสัตว์ เรียกว่าต้องติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงที่มากันเลยทีเดียว

ในส่วนของฟาร์มสุกรของซีพีเอฟ ซึ่งเป็นฟาร์มระบบปิดที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์ทั้งหมด (รวมถึงฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพของบริษัทด้วย) จะเน้นใช้วิธี "ป้องกัน" และวางระบบการบริหารจัดการฟาร์ม ในระดับไบโอซีเคียวริตี้ ตลอดจนการให้วัคซีนแก่ลูกสุกรตามระยะเวลาที่สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเป็นผู้กำหนด ปัญหาสัตว์ป่วยจึงเกิดขึ้นน้อยมาก การใช้ยาจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุในกรณีที่ลูกหมูป่วยแล้วเท่านั้น ซึ่งจะอยู่ภายใต้การควบคุมโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตกค้างหรือส่งผลกระทบใดๆ ต่อการบริโภค 

ก่อนส่งสุกรไปยังโรงชำแหละจะมีระยะหยุดยาเพื่อสัตวแพทย์ต้องมั่นใจว่าปราศจากสารตกค้างใดๆ และเมื่อไปถึงโรงชำแหละ สุกรจะถูกตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่าต้องปลอดจากสารตกค้างจริงๆ จึงจะมีสิทธิเข้ารับการชำแหละได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความปลอดภัยสูง

เอาล่ะ..ตอนนี้มาทำความรู้จัก "โคลิสติน" กัน ยาตัวนี้เป็นยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้รักษาอาการท้องเสียในสัตว์ ที่ให้ผลดีมากตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นเหมือน "ยาผีบอก" เลย ทีเดียว 

ต่อมาในปี 2559 กรมปศุสัตว์ได้ออกบันทึกขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ให้ลดการใช้ยานี้ จากรายงานของต่างประเทศที่ว่า "ยาโคลิสตินสามารถก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ หากใช้อย่างไม่ถูกต้อง" ประกอบกับข้อมูลทางห้องแล็บก็พบว่าเชื้อที่เคยใช้ยานี้แล้วได้ผลดีนั้นก็มีอัตราการดื้อยาสูงขึ้น และยาโคลิสตินก็เป็นยาทางเลือกตัวสุดท้ายที่ใช้ในคนกรณีที่ใช้ยาอื่นๆ รักษาแล้วไม่ได้ผล

องค์กรที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก และมุ่งมั่นจะเป็นครัวของโลกอย่างซีพีเอฟ ซึ่งต้องการที่จะเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคอย่างแท้จริง จึงกำหนดนโยบายยกเลิกการใช้ยาโคลิสตินที่ผสมในอาหารสัตว์ มาตั้งแต่กลางปี 2559 และยกเลิกการใช้ยาโคลิสตินในรูปแบบยาฉีดและยาละลายน้ำเพื่อรักษาอาการท้องเสียในลูกหมูด้วย

ปกติแล้วการสั่งซื้อยาของบริษัทจะใช้ระบบการสั่งซื้อทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีรายการชื่อยาระบุไว้ ปัจจุบันบริษัทได้ทำการยกเลิกคำสั่งซื้อยาโคลิสตินในระบบการสั่งซื้อออกไปแล้ว

ขอย้ำว่าการใช้ยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของซีพีเอฟจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มอย่างใกล้ชิด ให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต และตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ 

ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่า "CPF ไม่มีการใช้ยาโคลิสตินผสมในอาหารสัตว์ และไม่มีการใช้ยาเถื่อน" รับประทานเนื้อหมูซีพีได้อย่างสบายใจครับ


ABOUT THE AUTHOR
นายสัตวแพทย์ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ 
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส 
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20473

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

เมื่อการโค้ชไม่ใชการสอนงาน... “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ช่วยเกษตรกรปลูกข้าวโพดยั่งยืน...
  • food safety
  • โคลิสติน
  • อาหารปลอดภัย

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th