ทักษะการโค้ช (Coaching Skill) กับทักษะ การบริหารงาน (Managing Skill) โดยกล่าวถึงหน้าที่ที่สาคัญของ หัวหน้างาน คือ การพัฒนาศักยภาพของลูกน้องซึ่งสามารถทาได้ หลากหลายวิธี และหากเปรียบวิธีการเหล่านี้เสมือนเป็นเครื่องมือ โดยหวั หนา้ งานเหมือนช่างไม้ ช่างไม้ที่ดีจะต้องรู้จักเครื่องมือทุกประเภท รู้จักวิธีใช้เครื่องมือ และสามารถประเมินได้ว่าในสถานการณ์ใดจะเลือก ใช้เครื่องมืออะไรให้เหมาะสมกับงานแต่ละงาน
วิธีการพัฒนาศักยาภาพที่หัวหน้างานส่วนใหญ่คุ้นเคยมีอยู่ 4 วิธีหลัก คือ
1) วิธีการโค้ช (Coaching)
2) วิธีการสอน (Training)
3) วิธีการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง (Mentoring)
4) วิธีการคาดการณ์จากพฤติกรรมในอดีต (Counseling)
ในชีวิตการทํางานนของหัวหน้าจะต้องมีโอกาสได้ใช้เครื่องมือท้ัง 4 ชนิดนี้ อย่างแน่นอน แต่หัวหน้างานส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่ากําลังใช้เครื่องมือเหล่าน้ี อยู่ด้วยซ้ํา โดยเฉพาะอย่างย่ิงการโค้ชซึ่งเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างมีความสับสนอยู่มากในปัจจุบันหากท่านผู้อ่านมีโอกาสบทความหรือวิจัยเก่ากว่าปี พ.ศ. 2550 ลงไปนั้น จะเห็นว่าคํานิยามของการโค้ช แตกต่างไปจากความหมายหรือคำนิยามในปัจจุบันค่อนข้างมาก และเพื่อให้เราสามารถเข้าใจการโค้ชดีขึ้น จะขอเปรียบเทียบเคร่ืองมือทั้ง สามอย่างกับการโค้ชเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนข้ึน
การโค้ชกับการฝึกอบรม (Training)
การโค้ชกับการฝึกอบรมเป็นวิธีการเรียนรู้ท่ีแตกต่างกันมาก เพราะการ ฝึกอบรมมีพื้นฐานเป็นการส่ังสอนจากครูผู้ฝึก โดยครูผู้ฝึกจะควบคุม กระบวนการและเนื้อหาท้ังหมดท่ีจะถ่ายทอดให้กับผู้เรียน ดังนั้น ประสิทธิภาพของการฝึกอบรมจึงมาจากคุณภาพและทัศนคติของ ครูผู้สอนเป็นสําคัญ
ในขณะที่การโค้ชนั้นข้ึนอยู่กับคําถามที่โค้ชถามโค้ชช่ี (ผู้ที่ได้รับการโค้ช) และให้โค้ชชี่คิดหาคําตอบจากส่ิงที่รู้อยู่แล้วแต่อาจจะไม่ได้คิดหรือมอง จากมุมมองนั้น โดยที่โค้ชจะไม่ให้คําแนะนําใดๆ โค้ชจะควบคุมแค่เพียง กระบวนการ แต่ความคิดและการบูรณาการจะเป็นส่วนท่ีโค้ชชี่ต้อง ทําด้วยตัวเอง ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งของการฝึกอบรมคือมักจะ ทําเป็นกลุ่ม ขณะที่การโค้ชต้องทําตัวต่อตัวเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะ ที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่การฝึกอบรมและการโค้ชสามารถใช้ร่วมกันได้ อุปสรรคเพียงอย่างเดียวคือการนําสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจําวัน ในขณะท่ีส่ิงที่โค้ชชี่ได้จากกระบวนการโค้ชสามารถ นําไปใช้ได้ในทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือชีวิตส่วนตัวก็ตาม
การโค้ชกับการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
การโค้ชกับการเป็นพี่เลี้ยงอาจจะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่หัวหน้างานส่วนใหญ่ สับสนในความแตกต่าง เพราะทั้งสองเครื่องมือมีลักษณะที่พูดคุยกัน ตัวต่อตัว และมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคคลเหมือนกันอีกด้วย สิ่งที่การเป็นพี่เลี้ยงต่างออกไปคือผู้ที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงได้จะต้องต้องมีความเป็นพี่หรือพูดง่าย ๆ ก็คือแก่กว่า โดยเฉพาะอย่างงยิ่งในด้าน ประสบการณ์ของสิ่งที่ทําอยู่ ทําให้สามารถทําหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง แบ่งปัน ความรู้และที่สําคัญคือประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับน้องเลี้ยงได้ และจะ พัฒนามาเป็นสัมพันธภาพในระยะยาว การพบปะพูดคุยจะไม่ค่อยเป็นทางการมากนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของน้องเลี้ยงเป็นสำคัญ
ในขณะที่โค้ชจะไม่แบ่งปันหรือแชร์ประสบการณ์ รวมถึงคำแนะนำใดๆ ทั้งสิ้น โค้ชจะตั้งคําถามและสะท้อนความคิดของโค้ชชี่ และเอื้อให้โค้ชช่ีเกิดกระบวนการคดิ และการเรียนรู้ด้วยตัวของโค้ชชี่ หรืออาจจะมีประสบการณ์ในงาน ด้านเดียวกันเป็นระยะเวลานานก็ตาม กระบวนการโค้ชจะช่วยให้โค้ชชี่ จดจ่ออยู่กับส่ิงท่ีเป็นอุปสรรค ณ ปัจจุบัน ทางเลือกในการแก้ไข และการ ลงมือ ทําซึ่ง มักจะอยู่ในเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกัน ดังนั้นการนัดหมายชั่วโมงการโค้ชจึงถูกกําหนดไว้ชัดเจน
การโค้ชกับการให้คาปรึกษาเชิงจิตวิทยา (Counseling)
หัวหน้างานบางท่านไม่ได้ทําหน้าที่แค่เป็นที่ปรึกษาในเรื่องงานแต่เป็น ที่ปรึกษาชีวิตให้กับลูกน้องด้วย เพราะมนุษย์ทุกคนไม่ได้มีชีวิตแค่เรื่อง การทำงาน หลายครั้งที่จังหวะชีวิตของลูกน้องต้องประสบกับวิกฤตชีวิต เช่น การหย่าร้าง การเจ็บป่วยของบุคคลอันเป็นที่รัก ฯลฯ จริงๆ แล้ว การโค้ชและการให้คําปรึกษาเชิงจิตวิทยาใช้ทักษะที่คล้ายกันมาก แต่วัตถุประสงค์และความรู้สึกจะแตกต่างกัน
ตอนนี้คุณพอจะมองเห็นความต่างของแต่ละบทบาทชัดเจนข้ึนแล้ว จากนี้ไปเป็นการฝึกฝนทักษะการโค้ชแต่ละด้านให้เช่ียวชาญและลงมือใช้งาน ซ่ึงเป็นสิ่งที่สําคัญที่สุด เพราะเราไม่เรียนว่ายน้ําแค่ในหนังสือ เท่านั้น ทุกคนต้องลงไปลองว่ายน้ําในสระน้ํา และในช่วงชีวิตหนึ่งทุกคน จะต้องเคยประสบกับเหตุการณ์คับขันที่คุณจะต้องตัดสินใจว่า คุณจะใช้ เครอ่ืงมือใดในการช่วยเหลือลูกน้องหรือสมาชิกในทีมของคุณให้ก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆ ไปให้ได้
อ้างอิงจาก MBA Connected by PIM