• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

วิธีการสร้าง 'ห่วงโซ่อุปทาน' (Supply Chain) ที่มี ความรับผิดชอบ ในยุคโลกาภิวัตน์ 4.0 ในมุมมองของ ซีอีโอ เครือซีพี


โดย ศุภชัย เจียรวนนท์

15 กรกฎาคม 2562

ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลกใบนี้ ล้วนพึ่งพาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อการส่งมอบสินค้าและบริการไปทั่วโลกแบบไร้รอยต่อร่วมกันทั้งสิ้น 

ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกล้วนเกี่ยวพันกับชีวิตรวมถึงความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของบรรดาธุรกิจต่างๆ  เกษตรกร และผู้บริโภคจำนวนมาก ความรับผิดชอบและการแสดงออกถึงหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งพวกเขาต้องยึดถือ นั่นคือต้องแน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกมีบทบาทในการบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม ตลอดจนยังประโยชน์แก่ทุกชีวิตในห่วงโซ่คุณค่านั้น

ในภูมิภาคเอเชียเอง นอกจากความท้าทายซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและความจำเป็นในการหาแนวทางบริหารจัดการให้สอดคล้องกับนโยบายทางการเมือง การค้า และเศรษฐกิจที่ซับซ้อนแล้วนั้น ยังมีความท้าทายทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ห่วงโซ่อุปทานโลกมีส่วนเกี่ยวโยงด้วยอีกมากมาย  อีกทั้งมลพิษพลาสติกที่เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่มีข้อมูลจากศึกษาวิจัยระบุว่า  5 ประเทศในภูมิภาคนี้ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทรรวมกันมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลกที่เหลือ

มลพิษทางอากาศและน้ำที่รุนแรงทำให้บางเมืองในทวีปเอเชียเป็นสถานที่ซึ่งมีมลพิษมากที่สุดในโลก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาพอากาศอันรุนแรงและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การใช้แรงงานทาสในปัจจุบันก็ยังคงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ซึ่งมีผลกับคนกว่า 40 ล้านชีวิต โดย 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ได้รับผลกระทบอยู่ในทวีปเอเชีย

การแก้ปัญหาบรรจุภัณฑ์พลาสติก ของเสีย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิแรงงาน ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก แต่ด้วยความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทานโลก สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับองค์กรต่าง ๆ ในการแก้ไขเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้นประชากรโลกซึ่งคาดว่าจะแตะ 9 พันล้านคน และการผลิตอาหารโลกที่จะต้องเพิ่มขึ้น 60% ภายในปี 2593 จากการคาดการณ์ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ อุปสงค์ซึ่งเพิ่มขึ้นนี้จะผลักดันให้ปริมาณการผลิตอาหารสูงขึ้นอย่างมหาศาล อันจะนำไปสู่ความท้าทายอื่น ๆ อาทิ อุปทานน้ำ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพอันเกินดุล

การสร้างดุลยภาพของความต้องการเหล่านี้จำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจอันแน่วแน่ต่อการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน

เราสามารถช่วยเพิ่มความโปร่งใสให้กับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรและซัพพลายเออร์ เราเชื่อว่าภาคธุรกิจต่างๆ สามารถทำงานร่วมกับรัฐบาล รวมถึงองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหามากมายที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ผ่านช่องทางทั้ง 3 นี้

ประการแรก เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและแรงงานซึ่งกล่าวถึงก่อนหน้านี้ไม่สามารถแก้ไขได้ง่ายโดยองค์กรใดหรือประเทศใดเพียงลำพัง ทว่าต้องการความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนทั่วโลก สิ่งนี้คือแรงจูงใจให้กลุ่มซีพีเป็นหัวหอกในสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยขององค์การสหประชาชาติ เพื่อผลักดันโครงการด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต เครือข่ายนี้เติบโตขึ้นในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันมีบริษัท 40 แห่งในประเทศไทยทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามหลักปฏิบัติขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในการประกอบกิจการผ่านการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน การหารือ และการฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมให้มีแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารทะเล เราได้เห็นผลการดำเนินงานของ Seafood Taskforce หรือพันธมิตรความร่วมมือระหว่างบริษัทค้าปลีกอาหารทะเลชั้นนำจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป  ผู้ผลิตอาหารทะเลไทย และองค์กรระหว่างประเทศอิสระ ในการพัฒนาและส่งเสริมระบบตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการทำประมงเกินขนาด 

นอกจากนี้เราเห็นถึงความสำคัญของการมีคณะพัฒนาระบบการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงไทย(Thai Sustainable Fisheries Roundtable หรือ TSFR) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของบรรดาสมาคมอุตสาหกรรมการประมง  องค์กรเพื่อการทำการประมงอย่างยั่งยืน และกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาแนวทางการจับปลาอย่างยั่งยืนในอ่าวไทย และทะเลอันดามันด้วย

ประการที่สอง เทคโนโลยี กระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ยังเป็นกำลังสำคัญในการนำความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกได้มากขึ้น เราได้เห็นผลกระทบเชิงบวกอย่างมหาศาลจากเทคโนโลยีการผสมผสานชั้นสูง อาทิ หุ่นยนต์ การตรวจสอบแบบเรียลไทม์ และเซ็นเซอร์ เพื่อช่วยให้ฟาร์มไก่และไข่  ฟาร์มสุกรแบบผสมผสาน และโรงงานผลิต ถูกสุขอนามัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบบดาวเทียมช่วยให้เกษตรกรหาทำเลพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมได้ ส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต (IoT) ก็จะสามารถช่วยให้ระบบชลประทานจัดการการใช้น้ำได้ดีขึ้น ในขณะที่เครือข่ายการเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชนช่วยให้ห่วงโซ่อุปทานมีความโปร่งใส โดยทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถติดตามสินค้าได้ตลอดกระบวนการผลิต กล่าวถึงการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเทคโนโลยีดาวเทียม เทคโนโลยีชีวภาพ  นาโนเทค และหุ่นยนต์ ยังได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการปรับใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมแล้ว อาจมีผลอย่างมากในการช่วยให้เราเข้าใจโรคภัยต่างๆ ที่เกิดกับสัตว์  ระบาดวิทยา รวมถึงวงจรชีวิตของสินค้า เพื่อรับประกันว่าฟาร์มของเรามีความยั่งยืนมากขึ้น

ประการสุดท้าย การฝึกอบรมและการมีส่วนร่วมของพนักงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน มีบทบาทสำคัญในการประกันว่ามีการนำหลักการความรับผิดชอบมาใช้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เราได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้นำรุ่นใหม่ และนั่นคือเหตุผลที่เราฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นตัวแทนของความยั่งยืน และให้อำนาจแกพวกเขาให้นำความรู้และเป้าหมายกลับไปพัฒนาภาคส่วนต่างๆ ของธุรกิจ เราได้ก่อตั้งสถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อฝึกอบรมผู้บริหารรุ่นใหม่ในแต่ละปีเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจไปพร้อมกับการเห็นคุณค่าของความรับผิดชอบต่อสังคม เราให้พวกเขาได้ลงมือทำโครงการธุรกิจจริงเพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงออกถึงวิธีคิดใหม่ๆ  รวมถึงมีความเข้าใจในผลลัพธ์ทางสังคมหรือคุณค่าต่อสังคมของธุรกิจของเรา เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงทิศทางใหม่ๆ ของเหล่านวัตกร ผู้มองเห็นประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง (Disruptor)  พนักงาน และผู้บริโภครุ่นต่อไปของเรา เพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา และปรับตัวเข้ากับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 

ภาคธุรกิจสามารถเป็นกำลังให้เกิดสิ่งดี ๆ ในห่วงโซ่อุปทานโลกได้ หากเราเร่งสร้างพันธมิตรที่มีประสิทธิภาพให้ก้าวหน้าอย่างมั่นคง รวมถึงใช้ประโยชน์จากกระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยี และฟังเสียงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา

ผมเชื่อว่าภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีบทบาทในการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานอันยั่งยืน และเราจำเป็นต้อง กำหนดเหตุผลทางธุรกิจ (Business Case) เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร และผู้จัดส่งสินค้าวัตถุดิบ (supplier) ยินดีและเต็มใจเป็นผู้จัดส่งผลิตภัณฑ์วัตถุดิบที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น

รวมถึงส่งเสริมสนับสนุน ให้บริษัทต่าง ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานของเราดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบมากขึ้น  และทั้งหมดนี้คือ ด้วยการทำงานร่วมกันเท่านั้นจะทำให้เราสามารถสร้างความแตกต่างสู่สิ่งที่ดีกว่าได้อย่างแน่นอน ซึ่งหมายถึงการสร้างแรงจูงใจให้บรรดาเกษตรกรและซัพพลายเออร์มีความรับผิดชอบมากขึ้น

รวมถึงสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานของเรายึดแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบมากขึ้น มันคือการทำงานร่วมกันเพื่อรังสรรค์สิ่งที่แตกต่าง

 

ที่มา : World Economic Forum
https://www.weforum.org/agenda/2019/07/how-to-create-responsible-supply-chains-in-the-age-of-globalization-4-0/?fbclid=IwAR26dTdNJIMZUxxdE2fIoxpCSTIyBtqYjAIMWDr0CLfcSy7rrDvdOwhUC-o


ABOUT THE AUTHOR
คุณศุภชัย เจียรวนนท์  
ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

เกษตรพันธสัญญา เพื่อนร่วมทาง... สู่ความยั่งยืน... 6 หลุมพรางของ 'แบรนด์' ในยุค​ 'กับดัก Digitizing​ Creativity...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th