ภาพจาก : http://www.fao.org/3/a-i4756e.pdf
ตามข้อมูลจากหนังสือ Legal Guide on Contract Farming by Unidroit/FAO/IFAD ได้ระบุแนวทางสำคัญในการทำ Contract Farming อย่างรับผิดชอบตามหลักสากล จะต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 6 ประการ
สัญญา Contract Farming ของ CPF ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน เพื่อให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง มีการระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง แนวทางดังกล่าวนี้ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ FAO ยังนำไปเป็นตัวอย่างให้หลายประเทศที่ดำเนินโครงการ Contract Farming ได้ศึกษา เช่น ประเทศปากีสถาน ได้นำตัวอย่างไปสร้างองค์ความรู้ใน Course on ‘Planning and Implementing Contract Farming Operations’ รวมทั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ในอนาคตจะผลักดันกฎหมาย Contract Farming ก็ได้นำตัวอย่างสัญญา Contract Farming ของ CPF ไปเป็นกรณีศึกษา เป็นต้น
ทั้งนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานของสัญญา Contract Farming ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการยืนยันจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า สัญญา Contract Farming ของเครือฯ มีแนวทางมาตรฐานตามหลักสากล โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้นำไปเป็นตัวอย่างให้หลายๆ ประเทศ ได้ศึกษารูปแบบสัญญาที่เป็นธรรมด้วย
ที่มา : UNIDROIT, FAO and IFAD. 2015. UNIDROIT/FAO/IFAD Legal Guide on Contract Farming. Rome
อ้างอิงจาก : วารสารบัวบานฉบับที่ 8