หลายคนคงเคยได้ยินถึงการก้าวเข้ามาของภาคเอกชนในการให้ความร่วมมือกับภาคการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยก้าวสู่ Smart University ซึ่งหนึ่งในภาคเอกชนที่มีความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนก็คือ กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ กรรมการผู้จัดการใหญ่(ร่วม) บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ ที่ได้มาเล่าถึงทีมาและความตั้งใจที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภาคการศึกษา ให้พร้อมรับมือยุคดิจิทัล ต้องการสร้างให้เกิด smart university
ถาม : มีแนวคิดอย่างไร ที่นำทรูบุกเข้าในตลาดมหาวิทยาลัย
ดร.กิตติณัฐ : ผมมองว่า ภาคเอกชนควรมีบทบาทในภาคการศึกษาบ้าง เพราะความร่วมมือกับภาคการศึกษาจะเป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดสร้างสิ่งใหม่ๆให้กับระบบทั้งระบบการศึกษาและระบบในภาคธุรกิจ ซึ่งภาพรวมก็จะเป็นผลดีกับประเทศเราโดยรวม
ถาม : คนอาจมองได้ว่าภาคเอกชนเข้ามา ก็เพื่อหาผลประโยชน์หรือหารายได้
ดร.กิตติณัฐ : ก็ต้องค่อยๆสร้างความเข้าใจกันนะครับ กลุ่มบริษัททรูถือว่าเป็นกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล หรือ infrastructure ของประเทศ ซึ่งการลงทุนในด้าน infrastructure ของประเทศถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ผมคิดว่าทุกๆท่านคงได้ยินวิวัฒนาการกันมา เราเคยอยู่ในยุค 2G 3G 4G เรากำลังไปสู่ยุค5G การลงทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนมหาศาล ที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล มูลค่าการลงทุนมหาศาล ซึ่ง การลงทุนเหล่านี้จริงๆไม่ได้เป็นการลงทุนของภาคเอกชนแต่ฝ่ายเดียว แม้บริษัทจะผู้ออกเงินลงทุน แต่จริงๆแล้วมันถือว่าเป็นต้นทุนของประเทศ การที่จะทำให้ประเทศเรามีขีดความสามารถในด้านการแข่งขันเป็นเรื่องสำคัญ เพราะต้นทุนที่สูง ก็จะหมายถึงต้นทุนของสินค้าและบริการที่สูงตาม และทำให้ราคาแพงอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราสร้างคุณค่าเพิ่มจากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล หรือองค์รวมทางด้านไอทีแบบนี้ได้ไม่มากพอ ก็จะก่อให้เกิดเป็นสินค้าราคาแพง ที่ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันประเทศอื่นได้
ถาม : อันนี้เลยเป็นที่มา ที่ทรูมาเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อทำให้สิ่งที่ลงทุนไปมีค่ามากขึ้น ??
ดร.กิตติณัฐ ถูกครับ เพราะหากเรามีกลยุทธ์ในการวางแผนและการใช้ประโยชน์ในดิจิทัล infrastructure เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็จะเป็น Output สำคัญของประเทศในการแข่งขันกับนานาประเทศเช่นกัน จึงเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับกลุ่มทรู
ถาม : การพิจารณาเลือกความร่วมมือกับแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นพิจารณาจากอะไรบ้าง
ดร.กิตติณัฐ : ทุกมหาวิทยาลัย มีศักยภาพมีความพร้อมมาก ผมว่าเป็นเรื่องของเวลาและโอกาส ซึ่งกลุ่มทรูเองพร้อมและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะมีสว่นร่วมกับทุกมหาวิทยาลัยในหลากหลายด้าน ที่ผ่านมาเราก็สนับสนุนมหาวิทยาลัยไปในหลายเรื่อง ทั้งการจัดตั้งโครงการทรูแล็บ ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้ว10กว่ามหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นพื้นที่ศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม ในรูปแบบของ Open Innovation โดยทรูสนับสนุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของบุคลากร รวมถึงการสนับสนุนทุนวิจัยในด้านต่างๆ และล่าสุด เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุค 5G กลุ่มทรูก็ได้มีความร่วมมือกับหลายๆมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพันธมิตรภาคการศึกษาเพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนาให้เกิด UseCase/ Show case 5G นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการสนับสนุนเรื่องของ E-Sport ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย
ถาม : นอกจากความร่วมมืออย่างทรูแล็บและ 5G หรือ E-Sport แล้ว ยังมีโอกาสที่จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในด้านอื่นๆอะไรได้อีก
ดร.กิตติณัฐ : ขอยกตัวอย่าง ความร่วมมือล่าสุดของกลุ่มทรู ที่ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในการสร้างศักยภาพในเรื่องของระบบการศึกษา ภาคธุรกิจและจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศของเราด้วย ซึ่งมี ความร่วมมือหลักๆ จะมีเรื่องสังคมไร้เงินสด การจัดสร้างTrue Lab ความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เรียนรู้การทำงานในสภาพแวดล้อมจริงกับระบบบริษัท
ถาม : เรื่องสังคมไร้เงินสดน่าสนใจมาก แต่สงสัยว่า ในมหาวิทยาลัย จะเป็นไปได้อย่างไรครับ
ดร.กิตติณัฐ : ผมคิดว่าในโลกปัจจุบัน เราอยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลงที่ถือว่าสปีดในการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นทุกวัน เรามีธุรกิจต่างๆพร้อมที่จะถูก disrupt ตลอดเวลา สังคมไร้เงินสด เป็นเรื่องหนึ่งที่ผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในหลายๆประเทศก็เปลี่ยนแปลงไป ก้าวหน้าไปกว่าประเทศไทยอย่างชัดเจนหลาย 10 ปี ในแพลตฟอร์มของกลุ่มทรู เราก็มีอีวอลเล็ท แพลตฟอร์ม ซึ่งเราในบริการอยู่มากกว่า 6 ประเทศ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอีวอลเล็ท แพลตฟอร์มกว่า 21 ล้านคน ในประเทศไทยมากกว่า 7 ล้านคน สังคมไร้เงินสดก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่จะ disrupt ภาคธุรกิจตัวสำคัญอีกเรื่องนึง ซึ่งผมคิดว่านักธุรกิจไทยและก็นักศึกษาโดยเฉพาะภาควิชาไอที หรือภาควิชาธุรกิจก็จำเป็นที่จะต้องตามให้ทัน และก็รู้ให้ถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการใช้ประโยชน์ในเรื่องของสังคมไร้เงินสด
ถาม : ประโยชน์ของสังคมไร้เงินสดคืออะไรได้บ้าง
ดร.กิตติณัฐ : ความสะดวกสบายแน่นอนครับ เป็นประโยชน์เบื้องต้นของสังคมไร้เงินสด Privileges Benefit ต่างๆ ประโยชน์เบื้องต้นของสังคมไร้เงินสด สังคมไร้เงินสดยังต่อยอดไปถึงธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สังคมไร้เงินสดยังต่อยอดไปถึงในการทำ credit scoring การประเมินเครดิตในระดับบุคคล ซึ่งต่อไปก็จะไปถึง transaction การประเมินในสังคมไร้เงินสด รวมไปถึง นาโนไฟแนนซ์ ไมโครไฟแนนซ์ ซึ่ง ecosystem ของสังคมไร้เงินสดเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญ ผมคิดว่าในประเทศไทยเพิ่งจะอยู่ในจุดเริ่มต้น เพราะฉะนั้นเรามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ให้นักศึกษาทุกคนได้เข้าถึง cashless society รวมทั้งผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย หรือรอบๆมหาวิทยาลัยให้สามารถเข้าถึง cashless society ได้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เราจะได้ค่อยๆเรียนรู้กับการที่เราปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีไปด้วยกัน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ผมถือได้ว่ากลุ่มทรูถือว่ามีแพลตฟอร์ม มีประสบการณ์ในหลายประเทศ และก็จะนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างสังคมไร้เงินสดให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยได้อย่างแน่นอน
ถาม : ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สามารถใช้ cashless society ได้อย่างไรบ้าง
ดร.กิตติณัฐ : ทุกครั้งของการใช้จ่ายก็จะได้สิทธิพิเศษและประโยชน์ ทั้งจากการจ่ายค่าเทอม ที่ไม่ต้องใช้เงินสด การซื้ออาหารในแคนทีน การขึ้นรถโดยสารต่างๆก็จะเข้าสู่ยุค cashless ซึ่งจะมาพร้อมกับการต่อยอด ผม คิดว่า อาจารย์ และนักศึกษาเองก็จะได้คิดไปด้วยว่า เมื่อเรามีดิจิทัล infrastructure เหล่านี้แล้ว เราจะสร้างประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้เพิ่มเติมได้อย่างไรอีก
ถาม : แล้วความร่วมมืออื่นๆ คืออะไร
ดร.กิตติณัฐ : อีกหนึ่งความร่วมมือที่สำคัญ คือเรื่องของการสร้าง TrueLab ขึ้นมาในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กลุ่มบริษัททรู นั้นให้ความสำคัญเรื่องของนวัตกรรม การสร้าง innovation เรามีหน่วยงานที่เฉพาะเรื่องของ Innovation และเราก็ให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนานวัตกรรม สินค้า บริการ ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้เป็น innovative culture กลุ่มทรูเองได้สร้าง ทรูดิจิทัลพาร์คขึ้นมาถือว่าเป็น tech community ที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia อยู่ที่สุขุมวิท 101 พื้นที่ในเฟสแรกก็กว่า 5 หมื่นตารางเมตร ในเฟสที่สอง ก็จะมากกว่า1 แสนตารางเมตร ก็จะมีบริษัท tech company ชั้นนำในระดับโลกเข้ามาเปิดสำนักงานอยู่ที่ทรูดิจิทัลพาร์ค ตั้งแต่ Google Amazon Huawei ก็จะมีอีกหลายๆบริษัท รวมถึงเป็นที่พื้นที่ทำงานของ Startup Company มีบริษัท We Work ซึ่งก็ถือว่าเป็น co working space ซึ่งใครเป็น member ของ We Work ก็สามารถใช้ออฟฟิศของ We Work ได้ทั่วโลก ผ่านแอปพลิเคชั่น สิ่งเหล่านี้ก็จะคงอยู่ที่ทรูดิจิทัลพาร์ค ภายในทรูดิจิทัลพาร์คเองก็จะร่วมกับ Microsoft ร่วมกับทาง Epson ร่วมกับทาง ricoh และก็บริษัท tech company หลายๆแห่งทำให้เกิดเป็น working space ที่มีดิจิทัล infrastructure แบบครบวงจรและทันสมัยที่สุด และบริษัทที่อยู่ในทรูดิจิทัลพาร์คเองก็สามารถเข้าถึงสิทธิพิเศษของ BOI Plus one คือให้ Benefit มากว่า BOI ปกติ เพื่อให้สมกับการที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
นอกจาก ทรูดิจิตอลพาร์ค ทรูแล็บ แล้วกลุ่มทรูก็มีทรูอินคิวบ์ ซึ่งทรูอินคิวบ์เราถือว่าเป็น Mentor เราจะเสาะแสวงหา Start up / Innovator ของประเทศไทย และก็ในต่างประเทศด้วย ซึ่งเราก็จะ provide seed fund เข้าไป และเราก็จะเข้าไปร่วมทุนในการพัฒนาต่อยอดให้ innovator เหล่านั้นประสบความสำเร็จ
ถาม : แล้ว innovation ระดับนักศึกษาที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มทรูคืออะไรได้อีก
ดร.กิตติณัฐ : ในระดับที่เป็น innovator ที่น้องๆนักเรียนนักศึกษาจะเข้าถึงได้คือ TrueLab ซึ่งTrueLab จะเป็น community แรกเป็น touch point แรกเลยสำหรับน้องๆนักศึกษาที่จะสร้างตัวเองให้เป็น innovator จะเอื้อให้กับใครที่อยากจะเป็นนวัตกร ใครที่อยากจะมีความคิด มีผลงานวิจัย และอยากที่จะเข้าถึง ทั้งในมุมของการเป็นที่ปรึกษาในด้านของงานวิจัย และ mentor ต่างๆในเรื่องของการสร้าง startup หรือแม้กระทั่ง Seed fund ที่จะให้เงินลงไปให้งานวิจัย หรือให้แนวความคิดที่เป็นต้นของงานวิจัย อีกอันนึงในเรื่องของ thinking ที่ทางเราจะมาคิดกันต่อว่า thinking นั้นจะเป็นความจริงได้ขนาดไหน ก็จะผ่านทรูแล็บ เพื่อที่จะได้มีactivity กันต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการทำ assessment ให้น้องนักศึกษา ซึ่งกลุ่มบริษัท ทรูเอง มีแบบประเมินภายในเพื่อค้นหา competency ของแต่ละตัวบุคคล ซึ่งได้ใช้สำหรับวัดพนักงานทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในองค์กร ทำให้รู้ได้เลยว่า competency ของแต่ละคนเป็นอย่างไร ซึ่งแบบวิจัยนี้ จะมีอยู่ที่ทรูแล็บ ซึ่งน้องๆนักศึกษาที่จะเข้ามาใช้บริการทรูแล็บ สามารถทำ assessment ได้ ก็จะรู้ตัวตนของตัวเอง ว่าตัวเองมีจุดแข็ง จุดอ่อนเรื่องอะไร จะได้ปรับปรุง จะได้วางแผนในเรื่องของการต่อยอด วางแผนในเรื่องของการ manage ต่างๆที่เราจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมได้ สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าก็น่าจะเป็นสิ่งที่ผสมผสานอยู่ในโครงการของทรูแล็บ ที่เราต่อสะพานจากทรูดิจิทัลพาร์คมาสู่ในระดับของมหาวิทยาลัย
ถาม : ก็เรียกได้ว่าความร่วมมือครอบคลุมไปในหลายด้านจริงๆ
ดร.กิตติณัฐ : นอกจกานี้ กลุ่มทรูก็ยังมี infrastructure อีกหลายอย่างที่พร้อมสนับสนุนมหาวิทยาลัย รวมทั้งในเรื่องของ benefit ต่างๆที่จะทำกับคณาจารย์ และนักศึกษา รวมถึงองค์ความรู้ด้วย อย่างปีที่ผ่านมาเราเป็นผู้สนับสนุนกีฬาสาธิตมหาวิทยาลัยทางด้าน esport จนได้บรรจุเป็นกีฬามหาวิทยาลัยในปีนี้ และทรูเองก็ยังเป็นผู้สนับสนุนหลัก ในระหว่างระยะเวลาจนไปถึงการแข่งขันกว่า 120 มหาวิทยาลัย ซึ่งอันนี้ก็สามารถที่จะสร้าง community ของ esport ร่วมกันได้ ซึ่งในเรื่องของเกมนั้น ทางกลุ่มทรูก็ได้มี การร่วมทุนร่วมกับแคนนาดาก่อตั้งบริษัท ทรูแอกซิออน อินเตอร์แอกทีฟ จำกัด สร้างสตูดิโอเกมระดับโลก ซึ่งเราก็ดึง บุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกมจากหลากหลามาร่วมงานกับคนไทยเพื่อพัฒนา ผลงานเกมระดับโลก ผมมมองว่า ทรูแล็บจะสร้าง innovator ใหม่ๆขึ้นมาให้กับประเทศของเรา และเป็น gateway ที่ให้นักเรียน นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงได้ รวมทั้งจะเป็น touch point แรก ที่จะเข้ามานำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดจากสิ่งที่เรียนรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ในเรื่องของการเรียนรู้ในภาคธุรกิจที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันด้วย ซึ่งความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเหล่านี้ เป็นเรื่องของการช่วยกันสร้าง Knowledge ซึ่งประโยชน์ที่ได้ก็จะร่วมกันทั้งภาคมหาวิทยาลัยและภาคของเอกชน และที่สำคัญคือจะเป็นรูปแบบที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นได้จริง