• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เส้นทางนวัตกรรมนำองค์กร สู่ความสำเร็จของซีพีแรม


โดย วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู

05 กรกฎาคม 2562

หากพูดถึงคำว่า “นวัตกรรม” หลายท่านอาจนึกถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือสินค้าล้ำๆ ที่ช่วยให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น แต่แท้ที่จริง แล้วคำว่านวัตกรรมไม่ได้ถูกจำ กัดอยู่เพียงแค่นั้น หากยังหมายรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่กระบวนการทางความคิดและการจัดการที่ขับเคลื่อนให้โลกของเราก้าวไปข้างหน้าได้ดียิ่งขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม

บนเส้นทางของซีพีแรม ใช่ว่าจะโรยด้วยกลีบกุหลาบ เราก็เคยเผชิญหน้ากับวิกฤติหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 หรือวิกฤติมหาอุทกภัยปี 2554 แต่เพราะเตรียมความพร้อมและมองหาโอกาสอยู่เสมอ จึงทำให้เราผ่านวิกฤติเหล่านั้นมาได้ ซีพีแรมก่อตั้งมาเมื่อปี 2531 พร้อมกับ 7-ELEVEn ตลอด 25 ปี เราใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไป เพราะแต่ละช่วงลูกค้าก็มีความต้องการไม่เหมือนกัน

ยุคแรก เรียกยุคนี้ว่า “ยุคก่อร่างสร้างตัว” ช่วงปี 2531-2535 เป็นยุคที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เราทำทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการของลูกค้า

ยุคที่สอง หรือ “ยุคพัฒนา” ช่วงปี 2536-2540 มุ่งเน้นพัฒนามาตรฐาน มีการนำมาตรฐานทางอุตสาหกรรมอาหารมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสินค้า และในยุคนี้เองที่เราเจอวิกฤติหนักครั้งแรก นั่นคือวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งในวิกฤติยังมีโอกาสสำหรับผู้ที่ไม่ยอมแพ้เสมอ ช่วงปี 2540 เป็นช่วงที่ต่างชาติเข้ามาเมืองไทยเพื่อเลือกสินค้ากลับไปขาย แล้วเขาก็สนใจที่จะนำสินค้าของเราไปขายยังต่างประเทศ ซึ่งหากโอกาสมาถึงแต่เราไม่พร้อมก็คงเปล่าประโยชน์ แต่ด้วยความที่ซีพีแรมเข้มงวดเรื่องมาตรฐานสินค้า จึงทำให้หลังจากที่ต่างชาติเข้ามาเยี่ยมโรงงานแล้วเกิดความมั่นใจจนสั่งสินค้าเราไปขาย และนั่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งออกสินค้าของซีพีแรมไปยังต่างประเทศ

ยุคที่สาม หรือ “ยุคสู่สากล” ช่วงปี 2541-2545 หลังจากที่ส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ก็พบความจริงข้อหนึ่งที่ทำให้กลยุทธ์ของเราเปลี่ยนไป นั่นคือการพัฒนาตัวสินค้าให้ได้มาตรฐานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป หากแต่ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอีกด้วย

ยุคที่สี่ หรือ “ยุคสู่ความเป็นเลิศ” ช่วงปี 2546-2550 ยุคแห่งการเพิ่มปริมาณการผลิต ด้วยการสร้างโรงงานไปยังที่ต่างๆ และเพิ่มคุณภาพการผลิต โดยการใช้เครื่องจักรที่มีคุณภาพสูงขึ้น

ยุคที่ห้า หรือ “ยุคเติบโตอย่างมั่นคง” ช่วงปี 2551-2555 หลังจากที่เรามีความเป็นเลิศเรื่องของสินค้าและบริการ เราก็มองถึงการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรนั่นคือการพัฒนาคน เพราะคนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับต้นๆ ในการขับเคลื่อนองค์กร

ยุคที่หก หรือ “ยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม” ช่วงปี 2556-2560 เมื่อสินค้าพร้อม คนพร้อม จึงจะสามารถผลิดอกออกผลด้านนวัตกรรมได้ ซึ่งสำหรับซีพีแรม เราให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมในทุกด้าน ด้วยการใช้องค์ความรู้จากหลายๆด้าน หรือที่เรียกว่า Cross-functional Team

ในส่วนของยอดขาย เรามีเป้าหมายชัดเจนที่จะเติบโตปีละ 15% โดยปีนี้มีเป้าการขายอยู่ที่ 11,500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังลงทุน สร้างโรงงานใหม่ถึง 3 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งเรามุ่งเน้นนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบและผลิต ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือโรงงานใหม่ที่จังหวัดชลบุรี หรือ CPRAM Innovation Center and Chonburi Plant ถ้ามองจากภายนอก อาจดูไม่ออกว่านี่คือโรงงานผลิตอาหาร เพราะนอกจากจะใช้ที่นี่เป็นโรงงานในการผลิตอาหารพร้อมรับประทานแล้ว ยังใช้เป็นศูนย์นวัตกรรมที่จะททำให้ลูกค้าและบุคคลทั่วไปมีโอกาสได้รู้จักธุรกิจของซีพีแรมมากขึ้น พร้อมทั้งมีโอกาสได้สัมผัสนวัตกรรมอีกด้วย ในโรงงานจะถูกแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ สำหรับโซนที่น่าสนใจมากคือ โซนประสบการณ์ลูกค้า หรือ Customer Experience Zone จะถูกจัดทำขึ้นเป็นลักษณะห้อง สัมมนาแบบ 72 ที่นั่ง มีการนำเสนอความเป็นมาของธุรกิจซีพีแรมแบบ 3 มิติ ยิ่งไปกว่านั้นผู้เยี่ยมชมยังสามารถนั่งรถกอล์ฟเพื่อดูนวัตกรรมต่างๆ ของซีพีแรมบนพื้นที่กว่า 400 ตารางเมตร ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมกระบวนการ หรือ Process Innovation เป็นกระบวนการผลิตที่ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ โดยวิศวกรของซีพีแรมร่วมคิดค้นกับผู้ผลิตมากว่า 2 ปี ซึ่งหนึ่งในเครื่องจักรที่เรียกได้ว่าเป็นความภูมิใจของชาวซีพีแรมทุกคนคือการสร้างเครื่องจักรผลิตอาหารสำเร็จรูปที่ทันสมัยที่สุดในโลก ก่อนกลับจะได้แวะห้องทานอาหารที่เรามีไว้ให้ทุกท่านได้ลองชิมสินค้านวัตกรรมแห่งปีและอีกหนึ่งสิ่งที่ถือเป็นความน่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่เราใส่เข้าไป นั่นคือ Digital Count เป็นตัวนับชิ้นซาลาเปาที่ผลิต เพื่อให้แขกที่มาเยี่ยมชมได้ทราบว่า ณ วันที่มาเยี่ยมชมเป็นวันที่ผลิตซาลาเปาลูกที่เท่าไหร่นับตั้งแต่วันที่ก่อตั้งซีพีแรม โดยแต่ละวันเราผลิตซาลาเปากว่า 5 แสนลูก

สำหรับกลยุทธ์ในการขาย ซีพีแรมพยายามสร้างนวัตกรรมคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนยอดขาย โดยในส่วนของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) ซีพีแรมถือว่า หากเรารู้ความต้องการของลูกค้าแล้วสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้ เรียกว่าดี แต่ถ้าสามารถให้สิ่งที่เกินความคาดหวังของลูกค้าได้ อันนี้ถึงจะเรียกว่าดีมาก ดังนั้นเราจึงต้องหาความต้องการของลูกค้าให้เจอและตอบสนองให้ลูกค้าเกินความคาดหวัง วิธีหนึ่งที่ใช้คือการคิดค้นและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เบอเกอร์ข้าวเหนียวหมูย่าง ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก ในส่วนของนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation)ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เรามีการสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ มาตอบความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Central Kitchen ซึ่งเป็นการจัดเตรียมสินค้าพร้อมรับประทานส่งร้าน 7-ELEVEn เพื่อช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการปรุงที่ร้าน เช่น แซนด์วิชอบร้อน อีกหนึ่งสินค้าที่ขายดีของร้าน Central Kitchen เข้าไปมีบทบาทในการเตรียมแซนด์วิชให้เรียบร้อยแล้วจัดส่งไปที่ร้าน 7-ELEVEn เมื่อลูกค้าสั่ง พนักงานมีหน้าที่เพียงแค่อุ่นร้อนให้ลูกค้าเท่านั้น เป็นการลดระยะเวลาการให้บริการ เพื่อตอบโจทย์ความเป็นร้านอิ่มสะดวกของคนไทย อันเป็นปณิธานของร้าน 7-ELEVEn อีกสิ่งที่ซีพีแรมเล็งเห็นถึงความสำคัญและโอกาสที่จะสนับสนุนยอดขายคือในปัจจุบันมีงานอีเวนต์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นแทบทุกวัน เราจึงมีบริการ Food Van เพื่อให้บริการอาหารพร้อมรับประทานถึงงานอีเวนต์ด้วย

“คน” ก็เป็นอีกปัจจัยที่ซีพีแรมให้ความสำคัญอย่างมาก เรามุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่อง ในการปลูกฝังและหล่อหลอมบุคลากร ซีพีแรมมีหลักการง่ายๆ ที่เรียกว่าเป็น CPRAM Value อยู่ 2 หลัก คือหลัก 4 ใจ และหลัก 5 กล้า สำหรับหลัก 4 ใจ ได้แก่เข้าใจ ต้องรู้ว่าทุกคนมีความรู้ ความสามารถไม่เหมือนกัน แต่ทุกคนล้วนแต่มีประโยชน์ต่อองค์กร เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจจุดแข็งของแต่ละคน จูงใจ ทำให้ทุกคนมองเห็นศักยภาพและพร้อมจะทำงาน สานใจ มุ่งเน้นให้เกิดการยอมรับ ได้ใจ สร้างความรักและผูกพันกับองค์กร ส่วนหลัก 5 กล้า ได้แก่กล้าเรียนรู้ ทุกคนต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กล้าคิด เปิดโอกาสให้ทุกคนได้คิดสร้างสรรค์ กล้านำเสนอ เมื่อคิดแล้วต้องกล้าบอกให้คนอื่นรับรู้ด้วย มิเช่นนั้นความคิดนั้นจะไม่เกิดประโยชน์อะไร กล้าทำ ต้องลงมือทำจริง กล้ารับผิดชอบ เน้นให้ทุกคนมีความรับผิดชอบ

นอกจากนี้มีกิจกรรมสร้างบรรยากาศดีในการทำงาน เช่น โครงการ Happy work place มีการจัดตั้งชมรมเพื่อให้พนักงานเข้าร่วมตามความสนใจ โครงการใจประสานใจที่จัดขึ้นเพื่อทลายกำแพงแบ่งกั้นระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง อีกสิ่งที่เตรียมไว้คือการเตรียมคน เนื่องจากในปี 2560 จะมีผู้บริหารระดับสูงตั้งแต่ระดับผู้จัดการทั่วไปขึ้นไปเกษียนอายุกว่าครึ่ง เราจึงมีการจัดทำ Individual Development Plan มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อเตรียมบุคลากรขึ้นสู่ระดับบริหาร

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ซีพีแรมยืนหยัดและก้าวเดินต่อไปได้อย่างมั่นคงคือ Creating Share Value หรือ CSV นั่นคือการที่องค์กรต้องให้ความสำคัญกับทั้งคุณค่าทางธุรกิจ (Creative Business Value) และคุณค่าทางสังคม (Creative Social Value)

CSV นั้นไม่เหมือนกับ CSR (Corporate Social Responsibility) เพราะการทำ CSR นั้น เน้นทำเพื่อสร้างคุณค่าให้กับของสังคมเป็นหลัก แต่การทำ CSV เป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันทั้งธุรกิจและสังคม ตัวอย่างที่เห็นง่ายๆ อย่าง Food Waste หรือขยะจากอาหาร ซึ่งเป็นขยะส่วนใหญ่ในโลก Food Waste หลักมาจากครัวเรือน เพราะพฤติกรรม 3 อย่างของผู้บริโภค ได้แก่ ซื้อเหลือ ปรุงเหลือ กินเหลือ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหาร เราจึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหานี้เช่นกัน ดังนั้นในอาหารสำเร็จรูปที่เราผลิต มีการคำนวณอาหารในปริมาณที่พอดี เช่น เมนูสปาเก็ตตี้ ปริมาณซอสและเส้นถูกคำนวณให้อยู่สัมพันธ์กัน ไม่ใช่เส้นเยอะ ซอสน้อย เพราะเมื่อมองในมุมด้านคุณค่าต่อสังคม ถือเป็นการช่วยลดขยะรักษาสิ่งแวดล้อม ในทางกลับกัน ถ้ามองในมุมของคุณค่าทางธุรกิจ ถือเป็นการลดความเสียหายทางธุรกิจและเพิ่มผลตอบแทนทางธุรกิจอีกด้วย แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่ทำกิจกรรม CSR เลย เรายังทำอยู่หลายกิจกรรม เช่น โครงการเรียนฟรีมีรายได้ ถึงวันนี้เข้าปีที่ 4 แล้วและยังคงทำต่อไป หรือการเปิดตลาดนัดชุมชนให้ชาวบ้านในชุมชนใกล้โรงงานสามารถมาขายผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในครัวเรือนภายในบริเวณโรงอาหารได้ทุกวันศุกร์ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้ต้องอาศัยนวัตกรรมในทุกด้านและสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคืออย่ามุ่งให้ความสำคัญแต่กับคุณค่าทางธุรกิจเท่านั้น ต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าทางสังคมด้วย


ABOUT THE AUTHOR
คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด
ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม

 

 

 

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20471

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

“หลักการ 3 วงกลม” (The Three – circle Principle) : วิสัยทั... ทรู ร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย... ก้าวสู่ Smart University...
  • ซีพีแรม
  • นวัตกรรมนำองค์กร
  • ธุรกิจยั่งยืน

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th