• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เก่งแล้วไม่ขยัน จะไม่มีวันเก่งจริง ตำราชีวิตจาก ธนินท์ เจียรวนนท์ เส้นทางสู่ยอดเขา ของลูกจีนเยาวราช ก่อนเป็นเจ้าสัวซีพี


27 กรกฎาคม 2560

ธนินท์ เจียรวนนท์ เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายนต์ 2482 ปีนี้ อายุของเขาเข้าสู่วัย 78 ปิแล้ว เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เมื่อมองย้อนกลับไป  มีหลายเหตุการณ์ ราวกับเพิ่งจะผ่านพ้นเมื่อวันวาน 

คุณพ่อของธนินท์คือ “เจี่ย เอ็กชอ” ชาวจีนโพ้นทะเลจากเมืองแต้จิ๋ว ผู้นำกระสอบเมล็ดพันธุ์ผักถุงใหญ่มาถึงเมือง ”หมั่งก๊ก” หรือบางกอก แล้วเปิดร้านขายเมล็ดพันธุ์ชื่อว่าร้าน “เจี่ยไต๋จึง” บนถนนเยาวราช

“เจียไต๋” เป็นภาษาจี๋ว ถ้าเป็นภาษาจีนกลางจะเรียกว่า “เจิ้งต้า” หมายถึงความซื่อสัตย์ ยุติธรรม เที่ยงตรง ซึ่งกลายมาเป็นฐานรากธุรกิจของ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” จนถึงทุกวันนี้

เจี่ย เอ็กซอ เป็นนักพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ตัวยง เมื่อมีสวนผักทั้งที่เมืองแต้จิ๋ว และเมืองหมั่งก๊ก ก็คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีจากสวนผักทั้งสองแห่ง มาขยายผลต่อ

มีสุภาษิตของโบราณของจีน ที่กล่าวถึงความสัมพันธุ์ของการอ่านตำราหมื่นเล่ม กับการเดินทางไกลหมื่นลี้ เพื่ออธิบายว่าความรู้ทั้งจากตำราและประสบการณ์ล้วนสำคัญ แต่สำหรับ เจี่ย เอ็กซอ ผู้มีโอกาสเรียนรู้จากโลกกว้าง  การเรียนรู้จากโลกกว้างสำคัญยิ่งกว่าตำรา

อิทธิผลจากความคิดของพ่อ

ช่วงทีเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาระหว่าง พ.ศ.2484-2488 ญี่ปุ่นขยายแนวรบเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจี่ย เอ็กซอ ต้องพาครอบครัวหนีเครื่องบินทิ้งระเบิดจากเยาวราชไปปอยู่ถนนตก ซึ่งเวลานั้น ยังเป็นชานเมืองกรุงเทพฯ

ชิวิตย์ชานเมืองกับเป็ดไก่ไก่และไร่นา ทำให้ธนินท์ในวัย 3 ขวบ เกิดความรู้สึกผูกพันถึงขั้นที่ว่าเมื่ออายุ 9 ขวบ ได้ตัดสินใจนำเงินแต๊ะเอียไปซื้อไก่ชน เพราะหลงไหลในความสวยงาม แข็งแรงและบึกบึนของมัน

อาจเป็นเพราะชะตาฟ้าลิขิตให้รู้สึกผูกพันกับสัตว์ปีกแต่วัยเยาว์ เมื่อวันหนึ่งกิจการเมล็ดพันธุ์ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็น ”เจริญโภคภัณฑ์” (ซีพี)  ขยายมาทำอาหารสัตว์จนลงตัวที่ธุรกิจเลี้ยงไก่ ธนินท์ได้รับมอบหมายให้เป็นทัพหน้าคอยประคบประหงมกิจการเกิดใหม่

แนวคิดสำคัญที่ ”ต้องทำ” ธุรกิจใหม่นี้คือ “ทำอาหารสัตว์ หากไม่เลี้ยงสัตว์ให้ดู ใครจะเชื่อถืออาหารสัตว์ที่ทำขึ้นมา”

 ยุคนั้นเป็นยุคเนื้อไก่เป็นของดีมีราคา คนส่วนใหญ่ได้กินเพียงโปรตีนจากไข่เป็นของดีราคาถูก เนื่องจากการเลี้ยงไก่ใช้ต้นทุนสูงมาก ทั้งมีข้อจำกัดเต็มไปหมด ตั้งแต่ปริมาณไก่ที่เลี้ยงไปจนถึงค่าใช้จ่ายยิบย่อยต่างๆนานา 

เพื่อไม่ให้ไก่กลายเป็นอาหารเกินเอื้อม ธนินท์ ศึกษาจนค้นพบคำตอบหนึ่งเดียวว่าการเลี้ยงไก่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง แต่เกษตรกรณ์ที่เลี้ยงไก่ในเวลานั้นยังไม่ได้ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ซีพีจึงตัดสินใจนำเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) มาวางรากฐานธุรกิจการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ ในประเทศไทย 

เกิดเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเลี้ยงไก่ในประเทศไทยว่า สามารถเพิ่มผลิตผลได้ 100 เท่า นั่นก็คือจากเดิมที่เกษตรกร 1 คนเลี้ยงไก่ได้ 100 ตัว กลายเป็น 1 คนเลี้ยงได้จาก 10,000 ตัว โดยในยุค 4G เช่นในปัจจุบันสามารถเลี้ยงได้ มากถึง 170,000 ตัวหรือคิดเป็น17 เท่าของยุคเดิม

หลังปักธงความสำเร็จในกิจการเลี้ยงไก่ ธนินท์กับพี่ๆ น้องๆ ก็เริ่มขยายการลงทุนออกไปทั้งแนวกว้างและแนวลึก รวมไปถึงการกระจายเงินลงทุนไปยังในหลายๆประเทศ  บนพื้นฐานความคิดที่ว่า  ต้องส่งเสริมการลงทุนในต่างแดนของนักธุรกิจไทย เพื่อประกาศให้ต่างชาติรู้ว่า คนไทยก็มีความรู้ความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคนรู้ดีว่าการทำธุรกิจ ย่อมมีผิดพลาด ซึ่งในมุมมองของธนินท์นั้นความผิดพลาดคือค่าเล่าเรียน ถ้าผิดพลาด 30% สำเร็จ 70% ให้ถือว่า 30% เป็นค่าเล่าเรียนเพื่อให้ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด ธนินท์เรียนรู้จากข้อผิดพลาดนับตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน เช่นครั้งไปบุกเบิกตลาดฮ่องกง ในช่วงฮ่องกงมีปัญหาในการขาดแคลนอาหารเนื้อสัตว์ทั้งไก่และหมูจะต้องมีการนำเข้าจากประเทศไทย 

ซีพีโดยธนินท์ มีแนวคิด แหวกแนวกว่าเจ้าอื่นๆ นั่นคือเช่าเหมาเครื่องบิน การบินไทยขนไก่เป็นๆไปส่งให้ฮ่องกง โดยพี่ๆได้มอบหมายให้ธนินท์ เป็นผู้ควบคุมการขนส่งครั้งนี้  

บทเรียนล้ำค่าที่ธนินท์ได้รับโดยไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อกัปตันเห็นว่าผู้โดยสารของเที่ยวบินนี้เป็นไก่ จึงปิดแอร์ในห้องผู้โดยสาร แล้วจัดให้ธนินท์มานั่งด้านหน้าร่วมกับนักบิน เมื่อไก่ขาดอากาศ ก็ค่อยๆคอพับตายไปทีละตัวสองตัว เมื่อธนินท์เห็นได้ขอให้นักบินผู้ช่วยออกมาเปิดแอร์ให้ไก่แต่กระนั้นไก่ก็ตายไปเกินครึ่ง ธนินท์จึงเข้าใจซึ้งถึงคำว่า ขาดทุนตั้งแต่เครื่องยังไม่แลนดิ้ง นับเป็นบทเรียนที่มีผลต่อการก้าวย่างของซีพีจนถึงวันนี้ 

อีกครั้งที่ธนินท์ ได้รับมอบงานสำคัญคือรับผิดชอบขนหมูส่งฮ่องกงทางเรือ ซึ่งเวลานั้นมีปัญหาว่า ทุกครั้งที่เรือถึงฮ่องกง จะมีหมูตายจำนวนมากพี่ชายจึงส่งธนินท์ไปทดลองในการแก้ไขปัญหาโดยขอให้ข้อเนอว่า ถ้ามีหมูตายน้อยลง 1 ตัว เขาจะได้รับเงินพิเศษ 100 บาท 

ธนินท์ทำการบ้านโดยพยายามสังเกตุหาสาเหตุจนพบว่าการตายของหมูเชื่อมโยงกับการโคลงเคลงของเรือ ตามทิศทางลมของแต่ละฤดู เขาจึงทดลองจัดวางในตำแหน่งใหม่ โดยนำหมูไปวางตรงกลางเรือในช่วงหน้าร้อนและย้ายหมูไปท้ายเรือในช่วงหน้าหนาวแลสะหมูก็ตายน้อยลง

ประสบการณ์แต่ละครั้งเป็นครู

ในทัศนะของธนินท์ คนไทยเก่งเรื่องภาคเกษตร และมีโอกาสมากจากผลผลิตเกษตรด้านอาหารมาตลอด แม้กระทั่งอาหารไทยก็เป็นที่รู้จักได้รับความนิยมไปทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยมานานแล้ว

ที่น่าสนใจ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้สนใจร่วมพัฒนาไบโอเทคโนโลยีอาหารเพื่อสุขภาพแก่ผู้สูงอายุกับซีพีโดย ซีพี เป็นบริษัทแรกของโลกที่อยู่นอกเหนือกลุ่มยาที่เป็น โครงการวิจัยพัฒนาหลักของฮาร์วาร์ด

ในเร็ววันนี้ อาหารสุขภาพที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดร่วมพัฒนากับซีพีจะตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัยของประเทศ เพื่อให้ผู้สูงวัยมีโอกาสใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับสุขภาพที่ดีขึ้นและมีอายุยืนยาวกว่าที่ผ่านมา

ธนินท์ เห็นว่าโลกในยุค 4.0 นี้ ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมทุกสาขาต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชั้นสูงโดยภายใต้สังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่ดีและเร็วขึ้นเรื่อยๆการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีจำเป็นต้องก้าวไปด้วยกันเพื่อเป็นอาวุธสำคัญในการแข่งขันกับโลกภายนอกซึ่งนับเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง

กล่าวได้ว่าบทสรุปบนเส้นทางสู่ความสำเร็จของ ธนินท์ คือ "เก่งแล้วไม่ขยัน จะไม่มีวันเก่งจริง" เพราะการทำงานหรือประสบการณ์นั้นหาไม่ได้จากห้องเรียน ต่อให้มีความรู้ความจำเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แต่เมื่อไม่ลงมือปฏิบัติไม่สั่งสมประสบการณ์ก็ไม่สามารถคว้าความสำเร็จได้ผู้ประสบความสำเร็จระดับโลกไม่ว่าจะเป็นบิลเกตส์หรือจักมาล้วนประสบความสำเร็จจากประสบการณ์และการปฏิบัติจริงทั้งสิ้น

 

จากนิตยสาร a day Bulletin ฉบับที่ 487 ประจำวันที่ 22 May 2017

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21872

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20471

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12442

แชร์ข่าวสาร

เมล็ดพันธุ์ “นวัตกรรม” ที่เติบใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ “ซี... ประธานอาวุโส เครือซี.พี.แสดงวิสัยทัศน์บนเวทีระดับโลก BRICS B...
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • Dhanin Chearavanont
  • เจิ้งต้า
  • เจี่ย เอ็กชอ

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4174

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th