โดย สรัญญา จันทร์สว่าง
องค์กรยักษ์ใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ภายใต้การกุมบังเหียนของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) รับบท “เจ้าสัวใหญ่” คุมอาณาจักรธุรกิจกว่า 200 บริษัท ที่มีการลงทุนใน 20 ประเทศทั่วโลก ทำการค้าครอบคลุม 120 ประเทศทั่วโลก พนักงาน 3.5 แสนคน
การให้สัมภาษณ์ระหว่างนำทีมเครือซีพีพบปะทีมบริหารเครือเนชั่น เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ศุภชัยบอกว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ธุรกิจ 5-10 ปีของซีพี ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำ "ยุทธศาสตร์ 3+2” ประกอบด้วย 1.โลจิสติกส์ 2.คลาวด์เทคโนโลยี และโรโบติก 3.ไบโอเทคโนโลยี และไบโอฟู้ด เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต 2 ด้าน คือ Organic Growth หรือ โดยธรรมชาติด้วยกำลังของบริษัทเอง และการเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth
“3 เดือนที่ผ่านมาใช้เวลาในการวางแผน สิ่งที่ต้องมองควบคู่กัน คือ วิชั่นของประธานอาวุโส และความเป็นโกลบอลเพลเยอร์ เป้าหมายการเติบโตทั้ง 2 ด้านจะเป็นอย่างไร”
“ยุทธศาสตร์ 3+2” สอดคล้องไปกับวาระแห่งชาติ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งแนวทางดังกล่าวยังเป็นนับเป็นวาระ (agenda) สำคัญของโลกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันซีพีมี 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจเกษตรและอาหาร ค้าปลีกและดิสทริบิวชั่น โทรคมนาคมและมีเดีย ออโตโมทีฟ การเงินและการลงทุน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยาในประเทศจีน และล่าสุดคือ อีบิสิเนส
“อาจจะมีการแยก (Spin off) หรือจัดตั้งสายธุรกิจขึ้นใหม่ หากเราไม่ปรับเปลี่ยนก็ Out of service เพราะทุกอย่างเปลี่ยนเร็วตลอดเวลา"
อย่างไรก็ดี ศักยภาพของแต่ละกลุ่มธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้ดีอยู่แล้ว แต่จะต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน และจำเป็นต้องเตรียมการรองรับอนาคต ในประเด็นสำคัญต่างๆ
วาง 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน
ศุภชัย กล่าวว่า องคาพยพของซีพีกรุ๊ปวางแนวทางเดินไปพร้อมกันภายใต้ 4 กรอบหลัก เรื่องแรก เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ ดิจิไทเซชั่น (Digitization) ที่จะเป็นเครื่องมือทำให้กระบวนการธุรกิจ กระบวนการบริหารจัดการ การให้บริการ การขายของให้ลูกค้า เรียกว่าทุกอย่างต้อง ดิจิไทเซชั่น เพื่อประสิทธิผลที่ดี
เบื้องต้น เริ่มจากพนักงาน 3.5 แสนคนทั่วโลกของเครือซีพี ในการนำข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านการทำงาน การวางแผน นำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการจะทำให้เกิดการบริหารจัดการให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นตัวอย่างของการขยับไปพร้อมกันทั้งองค์กรและบุคลากร
“ธุรกิจต้องพร้อมและเร็ว ต้องขยับไปพร้อมๆ กัน ขณะที่คนอื่นวิ่งไป เรามัวแต่เดินไม่ได้”
เรื่องที่สอง ธุรกิจต้องก้าวไปในระดับโลกในพื้นที่ที่จะเสริมสร้างศักยภาพ นอกจากตลาดหลักไทยและจีน คือการขยายเครือข่ายเข้าไปในตลาดสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญ นำสู่การต่อยอดเสริมสร้างประสิทธิภาพหลายด้าน โดยเฉพาะนวัตกรรม เทคโนโลยี ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องใหม่
เรื่องที่สาม “บุคลากร” หรือ คน เครือซีพีจะพัฒนา ทาเลนท์ (Talent) หรือความสามารถ ดึงศักยภาพ พรสวรรค์ต่างๆ ของบุคลากรออกมาใช้อย่างเต็มที่ได้อย่างไร จะต้องมีการเชื่อมโยงและพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันในระดับโลก
“เป็นสิ่งที่ท่านประธานอาวุโสให้ความสำคัญมาก กลุ่มซีพีมีการลงทุนใน 20 ประเทศ รวมสหรัฐ และการค้าขายเกินกว่า 100 ประเทศทั่วโลก จึงต้องเน้นเรื่องนี้ให้มาก เพราะในที่สุดการสร้างการเปลี่ยนแปลงก็คือ คน”
สุดท้าย ความยั่งยืน-การกำกับดูแล-ธรรมาภิบาล ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก จะต้องปรับวิธีคิดในการดำเนินธุรกิจที่ไม่ใช่เพียงมุ่งดำเนินการตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์มาตรฐานแต่ละประเทศ แต่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changemaker) ในการสร้างและยกระดับมาตรฐานต่างๆ ให้สูงขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ศึกษาโมเดลยูนิลีเวอร์
แนวทางขับเคลื่อนธุรกิจผงาดเวทีโลก เจ้าสัวศุภชัยบอกว่า ได้ศึกษาโมเดลธุรกิจในฐานะผู้นำภาคเอกชนของ “ยูนิลีเวอร์” ซึ่งได้เรียนรู้หลายอย่างจากยักษ์ใหญ่อุปโภคบริโภคระดับโลกรายนี้ โดยซีพีมี “ซีพีเอฟ” ซึ่งเป็นธุรกิจอาหาร ที่นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ต้องการผลักดันให้เข้าถึงตลาดมากขึ้น ถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือ end user เพื่อเติบโตสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
การเติบโตของยูนิลีเวอร์ยังสะท้อนแนวทางธุรกิจที่สำคัญของซีพีด้วยว่า “ต้องเติบโตในที่ที่ไปลงทุนแล้วมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดี สามารถขยาย เพิ่มมูลค่า สร้างแบรนดิ้งมากขึ้น”
ธุรกิจซีพีจากยุค 3.0 สู่ 4.0 และก้าวสู่ระดับโลก ต้องมุ่งสร้างผลกำไรที่ดีด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้า
“องค์กรที่ไประดับโลกต่อไปต้องมาร์จิ้นสูงขึ้น มีแวลูและสร้างแบรนด์ เพิ่มคุณค่าให้ตลาด"
ย้ำภาพซีพีผู้นำ “อาหาร-บริการ-เทคโนฯ”
ภายใต้วิสัยทัศน์ 3+2 ภายใต้การกุมบังเหียนของเจ้าสัวใหญ่ศุภชัย ต้องการสะท้อนภาพลักษณ์ทีี่ชัดเจนของซีพีในการเป็นผู้นำทางด้าน “อาหาร-บริการ-เทคโนโลยี” เป็นองค์กรที่่ขับเคลื่อนด้วยคุณภาพ และแอดวานซ์เทคโนโลยี
ยกตัวอย่างเรื่อง “อาหาร” ไม่ใช่แค่ถูกสุขลักษณะ มีคุณภาพ แต่อาหารของเครือจะต้องทำให้ “สุขภาพดี” เหมาะสมกับลักษณะทางพันธุกรรม หรือเหมาะสมกับผู้ป่วยบางโรค
เป็นสิ่งที่ซีพีจะมีการลงทุนต่อเนื่องทางด้าน “ไบโอฟู้ด” และ “ไบโอเมดิคัล” ที่จะมาตอบโจทย์เรื่องสุขภาพ
สำหรับเรื่อง “บริการ” แน่นอนว่าอนาคตจะเป็น ดิจิไทซ์ (Digitize) ทั้งหมด ตอบสนองความสะดวกสบาย ใช้บริการได้ด้วยตนเอง
องค์กรยักษ์ใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ภายใต้การกุมบังเหียนของ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) รับบท “เจ้าสัวใหญ่” คุมอาณาจักรธุรกิจกว่า 200 บริษัท ที่มีการลงทุนใน 20 ประเทศทั่วโลก ทำการค้าครอบคลุม 120 ประเทศทั่วโลก พนักงาน 3.5 แสนคน
การให้สัมภาษณ์ระหว่างนำทีมเครือซีพีพบปะทีมบริหารเครือเนชั่น เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ศุภชัยบอกว่า ภายใต้วิสัยทัศน์ธุรกิจ 5-10 ปีของซีพี ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำ "ยุทธศาสตร์ 3+2” ประกอบด้วย 1.โลจิสติกส์ 2.คลาวด์เทคโนโลยี และโรโบติก 3.ไบโอเทคโนโลยี และไบโอฟู้ด เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต 2 ด้าน คือ Organic Growth หรือ โดยธรรมชาติด้วยกำลังของบริษัทเอง และการเติบโตอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Growth
“3 เดือนที่ผ่านมาใช้เวลาในการวางแผน สิ่งที่ต้องมองควบคู่กัน คือ วิชั่นของประธานอาวุโส และความเป็นโกลบอลเพลเยอร์ เป้าหมายการเติบโตทั้ง 2 ด้านจะเป็นอย่างไร”
“ยุทธศาสตร์ 3+2” สอดคล้องไปกับวาระแห่งชาติ “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งแนวทางดังกล่าวยังเป็นนับเป็นวาระ (agenda) สำคัญของโลกด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างการเติบโตทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
ปัจจุบันซีพีมี 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจเกษตรและอาหาร ค้าปลีกและดิสทริบิวชั่น โทรคมนาคมและมีเดีย ออโตโมทีฟ การเงินและการลงทุน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยาในประเทศจีน และล่าสุดคือ อีบิสิเนส
“อาจจะมีการแยก (Spin off) หรือจัดตั้งสายธุรกิจขึ้นใหม่ หากเราไม่ปรับเปลี่ยนก็ Out of service เพราะทุกอย่างเปลี่ยนเร็วตลอดเวลา"
อย่างไรก็ดี ศักยภาพของแต่ละกลุ่มธุรกิจสามารถขับเคลื่อนได้ดีอยู่แล้ว แต่จะต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน และจำเป็นต้องเตรียมการรองรับอนาคต ในประเด็นสำคัญต่างๆ
วาง 4 กลยุทธ์ขับเคลื่อน
ศุภชัย กล่าวว่า องคาพยพของซีพีกรุ๊ปวางแนวทางเดินไปพร้อมกันภายใต้ 4 กรอบหลัก เรื่องแรก เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ ดิจิไทเซชั่น (Digitization) ที่จะเป็นเครื่องมือทำให้กระบวนการธุรกิจ กระบวนการบริหารจัดการ การให้บริการ การขายของให้ลูกค้า เรียกว่าทุกอย่างต้อง ดิจิไทเซชั่น เพื่อประสิทธิผลที่ดี
เบื้องต้น เริ่มจากพนักงาน 3.5 แสนคนทั่วโลกของเครือซีพี ในการนำข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านการทำงาน การวางแผน นำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ เป็นส่วนหนึ่งของการมีส่วนร่วมในการจะทำให้เกิดการบริหารจัดการให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นตัวอย่างของการขยับไปพร้อมกันทั้งองค์กรและบุคลากร
“ธุรกิจต้องพร้อมและเร็ว ต้องขยับไปพร้อมๆ กัน ขณะที่คนอื่นวิ่งไป เรามัวแต่เดินไม่ได้”
เรื่องที่สอง ธุรกิจต้องก้าวไปในระดับโลกในพื้นที่ที่จะเสริมสร้างศักยภาพ นอกจากตลาดหลักไทยและจีน คือการขยายเครือข่ายเข้าไปในตลาดสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญ นำสู่การต่อยอดเสริมสร้างประสิทธิภาพหลายด้าน โดยเฉพาะนวัตกรรม เทคโนโลยี ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องใหม่
เรื่องที่สาม “บุคลากร” หรือ คน เครือซีพีจะพัฒนา ทาเลนท์ (Talent) หรือความสามารถ ดึงศักยภาพ พรสวรรค์ต่างๆ ของบุคลากรออกมาใช้อย่างเต็มที่ได้อย่างไร จะต้องมีการเชื่อมโยงและพัฒนาขีดความสามารถร่วมกันในระดับโลก
“เป็นสิ่งที่ท่านประธานอาวุโสให้ความสำคัญมาก กลุ่มซีพีมีการลงทุนใน 20 ประเทศ รวมสหรัฐ และการค้าขายเกินกว่า 100 ประเทศทั่วโลก จึงต้องเน้นเรื่องนี้ให้มาก เพราะในที่สุดการสร้างการเปลี่ยนแปลงก็คือ คน”
สุดท้าย ความยั่งยืน-การกำกับดูแล-ธรรมาภิบาล ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก จะต้องปรับวิธีคิดในการดำเนินธุรกิจที่ไม่ใช่เพียงมุ่งดำเนินการตามกฎหมายหรือกฎเกณฑ์มาตรฐานแต่ละประเทศ แต่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changemaker) ในการสร้างและยกระดับมาตรฐานต่างๆ ให้สูงขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง