• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

Animal Welfare สวัสดิภาพสัตว์ ที่มากกว่าความเป็นอยู่ที่ดี


โดย น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการด้านมาตรฐานการผลิตสัตว์ปีก และผู้เชี่ยวชาญสวัสดิภาพสัตว์ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

08 กุมภาพันธ์ 2560

สวัสดิภาพสัตว์ หรือ Animal Welfare เป็นเรื่องที่โลกให้ความสนใจ และตื่นตัวต่อการ ผลิตอาหารโปรตีนจากสัตว์ที่ปลอดภัยและต้องไม่มาจากการทรมานสัตว์ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ พฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป หรือ EU ที่เปลี่ยนไปโดยไม่เพียงอาหารที่ทานต้องสะอาด มีความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety) มีรสชาติถูกปากเท่านั้น แต่ยังมีความเข้มงวดในการนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ โดยกำหนดให้มีระเบียบการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดีปลอดภัยต่อการบริโภค

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนของกรมปศุสัตว์ที่ผลักดันเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีซีพีเอฟเป็นผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จนกลายเป็นผู้นำด้านการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ปีกครบวงจร ที่มุ่งยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของสัตว์ปีกให้สูงขึ้น ด้วยการนำหลักสวัสดิภาพสัตว์ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (Organization for Animal Health : OIE) และมาตรฐานหลักปฏิบัติและกฎระเบียบของ EU มาเป็นแนวปฏิบัติ ตั้งแต่ปี 2532 หรือนานกว่า 28 ปี เพราะเชื่อว่าการใช้หลักการดังกล่าวในอุตสาหกรรมไก่เนื้อ จะทำให้ได้เนื้อไก่ที่ได้มาตรฐานสากล ที่สำคัญการเลี้ยงดูสัตว์ให้มีความสบาย ถูกสุขลักษณะ จะส่งผลให้อาหารที่ส่งมอบสู่ผู้บริโภคทั่วโลกมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด

Five freedom ... หลักการสำคัญสร้างสวัสดิภาพสัตว์

ในกระบวนการเลี้ยง “ไก่เนื้อ” ของซีพีเอฟจะยึดหลักอิสระ 5 ประการ หรือ Five freedom มาปฏิบัติในฟาร์มเลี้ยง โดยเริ่มตั้งแต่

1.การไม่ให้สัตว์เกิดความหิวและกระหาย ด้วยระบบการให้อาหารและน้ำอัตโนมัติที่เหมาะกับความต้องการสัตว์ตลอดเวลา

2.การไม่ให้สัตว์เกิดความเจ็บป่วย บาดเจ็บและโรคภัย สัตว์ทุกตัวจะได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดประกอบกับเทคโนโลยีภายในโรงเรือนระบบปิดสามารถป้องกันการติดต่อและแพร่ระบาดจากสภาพแวดล้อมภายนอก

3.การให้สัตว์มีอิสระในการแสดงพฤติกรรม โดยสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยงจะถูกจัดให้มีพื้นที่เพียงพอตามความต้องการของตัวสัตว์ เพื่อให้สัตว์อยู่ไม่แออัดพร้อมแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่

4.ไก่เนื้อต้องปราศจากความไม่สะดวกสบาย โดยเลี้ยงในโรงเรือนระบบปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำหรือที่เรียกว่า EVAP (Evaporative Cooling System) ทำให้โรงเรือนมีอากาศเย็นอุณหภูมิ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต มีระบบการจัดการแสงสว่างและชั่วโมงการพักผ่อนที่เหมาะสมไม่ต่างกับมนุษย์ที่ต้องมีเวลากิน นอน หรือเล่น โดยกำหนดให้ชั่วโมงพักผ่อนประมาณ 6-8 ชั่วโมง ตลอดจนมีระบบการขนส่งที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking System เพื่อมั่นใจว่าเส้นทางการขนส่งถูกต้องและตรงเวลา 

ที่สำคัญมีการลงทุนระบบ Modular System เป็นระบบขนส่งที่ช่วยลดความตื่นตระหนกและความแออัดของสัตว์ปีก ซึ่งเรื่องนี้ได้รับคำชื่นชมจากคณะกรรมการ EU ว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นการสร้างมาตรฐานการผลิตที่สูงขึ้น และแสดงให้เห็นถึงความสำคัญกับหลักสวัสดิภาพสัตว์ ที่ส่งผลถึงความเชื่อมั่นในด้านอาหารปลอดภัยจากประเทศไทยด้วย

และ 5.ไก่เนื้อต้องไม่เกิดความกลัวและความทุกข์ทรมาน ไม่ให้รับการบาดเจ็บ และเครียดน้อยที่สุด โดยต้องมีการปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความเอาใจใส่และปฏิบัติต่อสัตว์อย่างนุ่มนวล สร้างความเชื่อมั่นต่อนานาชาติให้ประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมไก่เนื้อคุณภาพชั้นนำระดับโลก

ด้วยการผนวกหลักอิสระ 5 ประการ เข้ากับ 5 หัวใจการผลิต ทั้งสายพันธุ์สัตว์ที่ดี อาหารที่มีโภชนาการ วิธีการเลี้ยงที่ถูกต้อง การบริหารจัดการฟาร์มให้ได้มาตรฐาน และการป้องกันโรคอย่างเข้มข้นทำให้ไก่ที่ไม่เครียดสามารถเติบโตได้ตามความสามารถของสายพันธุ์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเร่งการเจริญเติบโตและสารฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตใดๆทั้งสิ้น

ซีพีเอฟเป็นบริษัทแรก นอกกลุ่มประเทศยุโรปที่ได้รับ การรับรองระบบการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ (Assured Chicken Production: ACP) ที่ให้ความสำคัญต่อหลักการเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันยังมีโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิภาพสัตว์และคุณภาพเนื้อสัตวปีก (Poultry Welfare Trainers) ซึ่งดำเนินการร่วมกับ Bristol University ประเทศอังกฤษ พร้อมต่อยอดพัฒนา เจ้าหน้าที่สวัสดิภาพสัตว์ (Poultry Welfare Officer) ประจำทุกหน่วยงานมาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน เพื่อดูแลกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานกรมปศุสัตว์ ข้อกำหนดของอียูและทั่วโลก

นอกจากนี้ หลักสวัสดิภาพสัตว์ที่ดีถือเป็นการช่วยสร้างเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดีแข็งแรง นั่นคือเป็นการลดความเสี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ เท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงการเกิดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะไปโดยปริยาย

ทั้งหมดเป็นหนึ่งตัวอย่างของการพัฒนาภาคปศุสัตว์ ตามเป้าหมายการเป็น ‘ครัวของโลก’ จากการดำเนินกิจการสอดคล้องมาตรฐานสากล เพื่อผลิตอาหารคุณภาพและปลอดภัยส่งมอบสู่ประชากรทั่วโลก

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

พ.ร.บ.เกษตรพันธสัญญา ความหวังสู่การพัฒนาระบบ ที่เป็นสากล... ในปี 2560 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ด้วยแรงขับเคลื่อน...
  • Animal Welfare
  • สวัสดิภาพสัตว์
  • พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล
  • เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th