• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

บทที่ 29 : สานต่อความฝันที่ไม่สิ้นสุด...“เปลี่ยนเกษตรกรสู่ผู้ถือหุ้น”


โดย Nikkei My Personal History

21 กันยายน 2559

เพื่อทำความฝันที่ยิ่งใหญ่ให้เป็นจริง ผมได้ทดลองโครงการใหม่ขึ้นที่หมู่บ้านผิงกู่ (Pinggu) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตชานเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครปักกิ่ง นั่นคือ “โครงการไก่ไข่ 3 ล้านตัวผิงกู่” ที่เริ่มการผลิตในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555

โครงการแห่งนี้คือโรงงานผลิตไข่ไก่ที่ครบวงจรและทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่ง โดยสร้างเป็นโรงเรือนระบบปิดทั้งหมดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่โรงเรือน ไก่ไข่จำนวน 3 ล้านตัวสามารถผลิตไข่ได้วันละ 2.4 ล้านฟอง ทุกขั้นตอนการผลิตตั้งแต่การผสมอาหารสัตว์ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก จนถึงการส่งไข่ไก่ออกจากโรงงานซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย จะควบคุมด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation) ทั้งหมด กล่าวคือ อาหารสัตว์จะถูกลำเลียงผ่านท่อไปยังฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ แล้วนำส่งไปเลี้ยงไก่ เมื่อไก่ออกไข่แล้ว ไข่จะถูกส่งด้วยสายพานลำเลียงไปสู่พื้นที่จัดเก็บและคัดแยก ภายในโรงงานมีแขนกลเหมือนที่ใช้ในโรงงานประกอบรถยนต์ (Robotics) ค่อยๆ นำไข่ไก่ขึ้นวางบนชั้น กระบวนการผลิตเหล่านี้ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

ส่วนมูลจากไก่ 3 ล้านตัว จะถูกนำไปทำปุ๋ยชีวภาพและนำไปใช้ในสวนผลไม้ที่อยู่ใกล้เคียง ไก่แก่ที่ไม่สามารถออกไข่ได้แล้วจะถูกนำไปแปรรูปอาหาร และชิ้นส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเป็นอาหารจระเข้ ซึ่งการเลี้ยงจระเข้ยังสามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับโครงการอีกด้วย จะเห็นว่าการนำทรัพยากรกลับมาหมุนเวียนใช้อย่างคุ้มค่า สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง และยังช่วยบริหารต้นทุนการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้โครงการนี้จะตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยแรงงาน แต่เราก็ใช้พนักงานเพียงไม่กี่สิบคน ส่วนเกษตรกรจำนวนเกือบ 5,000 คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้นจะอยู่ในฐานะผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง ผู้ถือหุ้นก็มีหลักประกันว่าจะได้รับค่าเช่าที่ดินในอัตราที่แน่นอน และหากโครงการมีผลประกอบการที่ดีก็จะได้รับเงินปันผลเป็นการเพิ่มเติมด้วย

สำหรับเครือเจียไต๋แล้ว โครงการผลิตไข่ไก่นี้จะได้กำไรหรือไม่ อาจไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่สุด เนื่องจากยังมีธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การผลิตอาหารสัตว์ การผลิตไก่พันธุ์ การแปรรูปอาหาร และการค้าปลีกที่เป็นธุรกิจปลายน้ำก็สามารถสร้างผลกำไรได้ แต่ในอีก 20 ปีข้างหน้า เราจะโอนกรรมสิทธิ์โครงการแห่งนี้ให้แก่สหกรณ์ซึ่งมีเกษตรกรเป็นสมาชิก

อาจเกิดคำถามว่า เครือเจียไต๋มีจุดมุ่งหมายอย่างไรที่ไปสร้างโครงการที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติในหมู่บ้านที่มีแรงงานเพียบพร้อมอยู่แล้ว คำตอบคือรูปแบบการบริหารแบบนี้มีข้อดี 2 ประการ คือ 

ประการที่หนึ่ง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น เพราะให้เกษตรกรเป็นเถ้าแก่และผู้ถือหุ้น มากกว่ารับจ้างใช้แรงงาน ผู้ถือหุ้นจะมีรายได้จากส่วนแบ่งกำไร มีหลักประกันในชีวิต เกษตรกรที่ต้องการมีรายได้มากขึ้นก็ยังสามารถไปทำงานอื่นๆ นอกโครงการได้ ซึ่งลำพังการรับจ้างทำงานในโรงงานทั่วไปเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่สามารถสร้างรายได้ที่ดีเท่านี้    

ประการที่สอง เป็นการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่จะเกิดขึ้นจากการที่ประเทศจีนใช้ “นโยบายลูกคนเดียว” มาอย่างยาวนานซึ่งเพิ่งได้รับการยกเลิกไปเมื่อปีพ.ศ. 2558  ทำให้ในอนาคตจะมีช่วงเวลาที่แรงงานวัยหนุ่มสาวของจีนทั้งในเขตเมืองและชนบทมีจำนวนลดน้อยลง 

งานในอนาคต

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดต่ำ และนับวันปัญหาจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นในทวีปเอเชีย โรงงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิตยังสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและปัญหาจากคนงานใหม่ซึ่งยังไม่ได้รับการฝึกฝนให้ชำนาญพอ จนอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของงานอีกด้วย

ผมสนใจติดตามความก้าวหน้าเรื่องหุ่นยนต์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะยิ่งมนุษย์ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นเท่าใด กำลังการผลิตก็ยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น เมื่อก่อนคุณพ่อของผมทำงานโดยไม่มีวันหยุดเลยตลอด 7 วันใน 1 สัปดาห์ แต่หลังจากที่ผมมารับช่วงต่อ บริษัทก็ได้เริ่มให้มีวันหยุด 1 วัน และเพิ่มเป็น 2 วันมาจนทุกวันนี้ ที่เราสามารถทำเช่นนี้ได้ก็เพราะเทคโนโลยีการผลิตด้วยเครื่องจักรกลทำให้ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น และในอนาคตหากมีการนำหุ่นยนต์มาช่วยทำงานเพิ่มมากขึ้น เราอาจจะเพิ่มวันหยุดเป็น 3 วันต่อสัปดาห์ก็เป็นได้

ศตวรรษที่ 21 จะเป็นยุคที่หุ่นยนต์ปลดปล่อยมนุษย์จากการใช้แรงงานที่ยาวนานและเหนื่อยยาก ระบบคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมเป็นรูปแบบของสังคมในอุดมคติ แต่การขาดแคลนอาหารและปัจจัยต่างๆ ไม่สามารถจะนำไปสู่สังคมในอุดมคติได้ ระบบอัตโนมัติแก้ปัญหาการขาดแคลนแล้วยังสร้างผลผลิตส่วนเกินได้อีกด้วย จึงทำให้มนุษย์เดินตามเส้นทางสู่สังคมที่ใฝ่ฝันได้ซึ่งผมเองก็อยากมีส่วนช่วยการเดินตามความฝันนี้ด้วยการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าสืบไป

 

แปลและเรียบเรียงโดย :

- คุณภรณี จิรวงศานนท์ สำนักประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

- มร. หวง เหวยเหว่ย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท ซีที อินฟราสตรักเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด

ที่มา : http://www.nikkei.com/article/DGXKZO05418740Z20C16A7BC8001/

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26647

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21966

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20583

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12704

แชร์ข่าวสาร

บทที่ 28 : มิตรภาพนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจ... บทที่ 30 : การสร้างครอบครัวของผม...
  • CP Group
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • นิกเคอิ
  • Nikkei
  • My Personal History
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • ผิงกู่
  • Pinggu

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3902

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3638

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4405

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4230

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th