• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

บทที่ 24 : เข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคม...เศรษฐกิจไทยขาขึ้น


โดย Nikkei My Personal History

13 กันยายน 2559

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ในประเทศไทยได้แก่ ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจโทรคมนาคม อันที่จริงผมไม่ได้ตั้งใจจะทำธุรกิจโทรคมนาคมตั้งแต่แรก จากในอดีตความหลากหลายทางธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ล้วนแต่พัฒนามาจากพื้นฐานการเกษตร กล่าวคือ อาหารสัตว์ กิจการเลี้ยงไก่ กิจการเลี้ยงหมู ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมเลย

เข้าสู่ธุรกิจโดยไม่คาดฝัน

จากจุดเริ่มต้นเรื่อยมาจนถึงทศวรรษที่ 2520 กิจการด้านโทรศัพท์ในประเทศของไทยนั้น อยู่ภายใต้การบริหารและให้บริการโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพียงองค์กรเดียวเท่านั้น รูปแบบเช่นนี้มีจุดอ่อนหลายประการ เช่น ประการแรก การที่องค์การโทรศัพท์เป็นผู้ให้บริการรายเดียวจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขยายการใช้งานโทรศัพท์ไปสู่ครัวเรือนที่ทำได้ช้ามาก ประการที่สอง การขอติดตั้งโทรศัพท์ต้องรอคิวนานหลายปี ทั้งหมดนี้ทำให้โทรศัพท์ไม่เป็นที่แพร่หลายในครัวเรือนเท่าที่ควร กระทั่งในปีพ.ศ. 2531 หลังจากประเทศไทยมีการเลือกตั้ง และพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ จึงได้เริ่มการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมขึ้น

รัฐบาลไทยตัดสินใจเปิดเสรีกิจการโทรคมนาคมให้บริษัทและภาคเอกชนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้โทรศัพท์ในวงกว้าง ซึ่งบริษัทธุรกิจโทรคมนาคมรายใหญ่ๆ ของประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส ต่างก็สนใจเข้ามาร่วมประมูลด้วย

สังคมต่างก็คาดหวังให้มีบริษัทของไทยเข้าร่วมประมูลครั้งนี้ แต่เนื่องจากการเข้าร่วมประมูลจำเป็นต้องชำระเงินประกันก้อนใหญ่ ซึ่งสมัยนั้นนอกจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทยแล้ว ก็มีเพียงเครือเจริญโภคภัณฑ์เท่านั้นที่มีคุณสมบัติในการเข้าร่วม ภายหลังบริษัทปูนซิเมนต์ไทยได้ถอนตัวไป ผลปรากฎกว่าเครือฯ สามารถชนะการประมูลบริษัทต่างชาติ และได้รับสิทธิ์ในการบริหารกิจการบริการโทรศัพท์พื้นฐานให้กับคนไทยได้ในที่สุด

ต่อมาเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ลงทุนในธุรกิจโทรศัพท์ด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ถึงแม้ว่าระหว่างนั้นจะมีการเปลี่ยนบริษัทต่างชาติที่มาร่วมลงทุนกับเราบ้าง แต่ก็กล่าวได้ว่านับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เครือฯ ได้มีส่วนปฏิรูปและสร้างคุณูปการให้กับกิจการโทรคมนาคมของประเทศ ทำให้การใช้โทรศัพท์พื้นฐานแพร่หลายในกรุงเทพฯ จากเดิมที่ต้องรอการติดตั้งโทรศัพท์หลายปี ก็สามารถร่นเวลาทำได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 สัปดาห์เท่านั้น ธุรกิจโทรคมนาคมเติบโตขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของเครือฯ ภายใต้การบริหารของ True Corporation หรือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ในช่วงดังกล่าว เรายังไม่ได้สนใจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งหากเราร่วมประมูลและได้รับสิทธิ์ในการบริหาร ผมเชื่อว่าธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเราจะเติบโตและให้บริการลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่งกว่านี้มาก

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เริ่มพัฒนากิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบครบวงจร เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เราก้าวจนตามทันบริษัทที่เข้าสู่ธุรกิจนี้ก่อนหน้าเรา 2 บริษัทได้ด้วยนวัตกรรมรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงอัตราค่าบริการพิเศษ ทรู (True) จึงกลายเป็นบริษัทที่บริหารกิจการโทรคมนาคมครอบคลุมทุกด้านเพียงรายเดียวในประเทศไทย เกิดเป็น “True Convergence” ซึ่งประกอบด้วยโครงข่ายโทรศัพท์ เคเบิลทีวี และอินเทอร์เน็ต

เมื่อเร็วๆ นี้ ทรูยังได้ประมูลคลื่น 4G หรือระบบสื่อสารไร้สายความเร็วสูงระยะที่ 4 โดยได้รับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ต (MHz) ทำให้นอกจากทรูจะเป็นผู้ให้บริการ 4G รายแรกแล้ว ยังทำให้ทรูเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ถือครองคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย นับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายฐานลูกค้าและยกระดับความสามารถด้านการให้บริการของเราได้ดียิ่งขึ้น

เดิมทีผมไม่คิดว่าธุรกิจโทรคมนาคมจะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของเครือเจริญ-โภคภัณฑ์อย่างธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร และธุรกิจค้าปลีก แต่ปัจจุบันกลับมีบทบาทเป็นอย่างมาก เราสามารถซื้อซิมการ์ดชนิด prepaid ของทรูและโทรศัพท์มือถือได้ที่ร้าน 7-Eleven การได้สิทธิ์ในการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคม ยังทำให้เครือฯ มีโอกาสเข้าสู่ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และธุรกิจเคเบิลทีวีอีกด้วย

บทเรียนที่ขื่นขม

ช่วงปลายทศวรรษ 2520 ถึงต้นทศวรรษ 2530 เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเป็นร้อยละ 10 มาโดยตลอด จนถูกขนานนามว่า “ความมหัศจรรย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” เครือเจริญโภคภัณฑ์เองก็ขยายธุรกิจตามการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเช่นกัน ช่วงเวลานั้นทุกอย่างดูดีเกินความเป็นจริง หลายบริษัทในประเทศไทยรวมถึงเครือฯ ต่างเร่งขยายการเติบโตทางธุรกิจ และเพิ่มการกู้เงินจากต่างประเทศ แต่วิกฤตการเงินเอเชียในปี 2540 ทำให้ผมตระหนักว่านั่นไม่ใช่การเติบโตที่แท้จริง

 

แปลและเรียบเรียงโดย :

- คุณภรณี จิรวงศานนท์ สำนักประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

- มร. หวง เหวยเหว่ย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท ซีที อินฟราสตรักเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด

ที่มา : http://www.nikkei.com/article/DGXKZO05138540S6A720C1BC8001/

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26324

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21542

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20134

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
11613

แชร์ข่าวสาร

บทที่ 23 : ธุรกิจค้าปลีกและการกระจายสินค้า...เริ่มต้นขึ้นได้... บทที่ 25 : ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย...
  • CP Group
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • นิกเคอิ
  • Nikkei
  • My Personal History
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • 7-11
  • กลุ่มทรู
  • TRUE

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3329

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3201

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
3914

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
3888

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th