• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

บทที่ 14 : นำเข้าไก่เนื้อจากสหรัฐอเมริกา


โดย Nikkei My Personal History

30 สิงหาคม 2559

เมื่อผมได้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว ผมมีปัญหาหนึ่งข้อที่จำเป็นต้องแก้ไขนั่นก็คือ ทำให้ขนาดของไก่เนื้อเท่ากัน ในช่วงที่ผมทำงานที่สหพันธ์สหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย ผมเคยคิดจะนำเครื่องจักรเข้ามาใช้ ทำให้การแปรรูปถอนขนไก่เนื้อเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สาเหตุก็เนื่องมาจากขนาดของไก่พื้นเมืองของประเทศไทยนั้นไม่เท่ากัน

ดร.ชำนาญ ยุวบูรณ์ ซึ่งเคยเป็นประธานสหกรณ์ค้าไข่แห่งประเทศไทย เคยชี้แนะผมว่า “ควรจะเลี้ยงไก่เนื้อให้มีขนาดเท่ากัน” สมัยนั้นสหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้าในการเลี้ยงไก่เนื้อให้มีขนาดเท่ากันอย่างแพร่หลาย โดยได้มาจากการผสมและพัฒนาไก่พันธุ์ ลูกไก่ที่ได้รับการผสมแล้ว ใช้เวลาในการเลี้ยงให้โตเพียง 8 สัปดาห์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมเท่าๆ กันอีกด้วย

ความสัมพันธ์นำมาซึ่งธุรกิจ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารเชส แมนฮัตตัน (Chase Manhattan Bank) ของสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันคือ เจพี มอร์แกนเชส : J.P. Morgan Chase) ธนาคารแห่งนี้เป็นผู้ดูแลงบบัญชีนำเข้าและส่งออกของเครือฯ โดยธนาคารฯ ได้แนะนำให้ผมรู้จักกับบริษัท อาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) ซึ่งเป็นบริษัทไก่พันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ และอาร์เบอร์ เอเคอร์ส กับธนาคารเชส แมนฮัตตันก็มีความเกี่ยวข้องกัน

ประธานของธนาคารเชส แมนฮัตตันในสมัยนั้นคือ David Rockefeller ซึ่งเป็นหลานชายของ John D. Rockefeller ราชาค้าน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ส่วนพี่ชายของ David Rockefeller ก็คือ Nelson Rockefeller เป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในสมัยประธานาธิบดี Gerald Ford (สิงหาคม พ.ศ. 2517-มกราคม พ.ศ. 2520) และเป็นนักธุรกิจ ซึ่ง Nelson Rockefeller ได้เข้าซื้อบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส และด้วยความสัมพันธ์กับธนาคารเชส แมนฮัตตัน ในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2513 ผมจึงได้มีโอกาสไปดูกิจการไก่พันธุ์ที่สหรัฐฯ สมัยนั้นการเดินทางไปสหรัฐฯ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ผมปรึกษากับท่านประธานจรัญ ท่านสนับสนุนผมเต็มที่และพูดกับผมว่า “เธอต้องไปดูงานที่อเมริกา” ถ้าไม่มีคำพูดของท่านคำนั้น อาจจะไม่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์เช่นในวันนี้ก็เป็นได้

หลังจากที่ไปถึงสหรัฐอเมริกาแล้ว ผมไปเยี่ยมชมเมืองนิวยอร์ค (New York) ก่อน หลังจากนั้นได้ไปรัฐเมน (Maine) ซึ่งที่นั่นเป็นแหล่งเลี้ยงไก่เนื้อของสหรัฐฯ แต่ไก่เนื้อที่เกิดจากการผสมสองสายพันธุ์จะไม่สามารถนำไปผสมพันธุ์ต่อได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องนำเข้าไก่พ่อแม่พันธุ์ด้วย

ที่สหรัฐอเมริกา การเลี้ยงไก่เนื้อกลายเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ไปแล้ว บริษัทอาหารสัตว์จะซื้อไก่ที่ผสมแล้วจากบริษัทไก่พันธุ์ก่อน จากนั้นจะเซ็นสัญญากับผู้เลี้ยงไก่ ให้ผู้เลี้ยงไก่เป็นผู้เลี้ยง บริษัทอาหารสัตว์ไม่เพียงแต่จัดหาอาหารสัตว์ให้ผู้เลี้ยง แต่ยังให้ยาที่ใช้ป้องกันโรคด้วย เมื่อไก่โตแล้ว บริษัทอาหารสัตว์ก็จะรับซื้อไก่เนื้อกลับไป

ผมได้เห็นไก่อายุ 8 สัปดาห์ มีน้ำหนักถึง 1.5 กิโลกรัม แม้ว่าจะมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย แต่ก็สามารถเลี้ยงไก่ได้เป็นจำนวนมาก โดยขณะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ของไทย 1 ราย สามารถเลี้ยงไก่ได้มากที่สุดเพียง 100 ตัวเท่านั้น ในขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ของอเมริกา 1 ราย สามารถเลี้ยงไก่ได้มากถึง 10,000 ตัว ยิ่งไปกว่านั้น อาหารที่ไก่เนื้อกินก็น้อยกว่าไก่พื้นเมืองมาก

ผมตัดสินใจนำเข้าไก่พันธุ์มาเมืองไทย ช่วงนั้นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส คือ Rodman Rockefeller ซึ่งเป็นลูกชายของ Nelson Rockefeller ซึ่งต้องขอบคุณ David Rockefeller ที่เป็นคนนัดหมายให้ผมได้พบกับ Rodman และหลังจากที่ได้ประชุมกันแล้ว Rodman Rockefeller ก็ตกลงร่วมลงทุนกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทันที

ในปีพ.ศ. 2513 เครือเจริญโภคภัณฑ์กับบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส ร่วมกันตั้งบริษัทร่วมทุน และพัฒนาธุรกิจไก่พันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส ก็มีกิจการไก่เนื้อที่ประเทศอินเดียอยู่ด้วย เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงใช้วิธีนำเข้าไก่พันธุ์มาจากอินเดีย 

ภายหลังครอบครัว Rockefeller ได้ขายหุ้นบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส แต่ผมกับครอบครัว Rockefeller ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจนมาถึงวันนี้ การร่วมมือทำธุรกิจกับธนาคารเชส แมนฮัตตันและครอบครัว Rockefeller เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในชีวิตของผม

 

แปลและเรียบเรียงโดย :

- คุณภรณี จิรวงศานนท์ สำนักประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

- มร. หวง เหวยเหว่ย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท ซีที อินฟราสตรักเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด

ที่มา : http://www.nikkei.com/article/DGXKZO04791380T10C16A7BC8001/

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26576

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21873

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20474

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12443

แชร์ข่าวสาร

บทที่ 13 : จากกิจการครอบครัวสู่องค์กรทางธุรกิจ... บทที่ 15 : การผลิตแบบครบวงจร จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร...
  • CP Gruop
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • นิกเคอิ
  • Nikkei
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • My Personal History

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3787

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3530

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4298

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4175

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th