• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

บทที่ 1 : กำเนิดในจีน เติบโตในไทย วิสัยทัศน์ระดับโลก


โดย Nikkei My Personal History

05 สิงหาคม 2559

เครือเจริญโภคภัณฑ์ถือกำเนิดมาจากร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักที่คุณพ่อของผมก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2464 บนถนนเยาวราช กรุงเทพฯ ปัจจุบันผมดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ เป็นผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ รุ่นที่ 3 บริหารองค์กรซึ่งมีธุรกิจหลากหลายในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก 

เครือเจริญโภคภัณฑ์ คือหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีธุรกิจหลัก 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครอบคลุมธุรกิจอาหารสัตว์ กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย (ร้านสะดวกซื้อและ ร้านค้าปลีกอื่นๆ) และกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม อาทิ โทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยข้อมูล ณ ปีพ.ศ. 2558 มียอดขายทั่วโลกมูลค่ารวม 45,000 ล้านดอลลาร์ (1,620,000 ล้านบาท) มีการลงทุนใน 20 ประเทศ และเครือข่ายการค้าตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ไปจนถึงยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 300,000 คน 

ข้อมูลและตัวเลขข้างต้น เป็นเพียงส่วนเดียว ซึ่งอาจจะยังไม่สื่อถึงความเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์อย่างครบถ้วน จึงขอยกประเทศญี่ปุ่นมาเป็นตัวอย่าง

หากนึกถึงชั้นวางอาหารสำเร็จรูปในร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น จะเห็นว่ามีสินค้าของซีพีอยู่ทั่วไป อาทิ อาหารสำเร็จรูปที่ผลิตจากเนื้อไก่ และเนื้อหมู ซึ่งถูกบรรจุในถุงบรรจุอาหารที่มีการปิดผนึกอย่างมิดชิด หากท่านลองพลิกดูด้านหลังบรรจุภัณฑ์นั้น และเห็นตราสัญลักษณ์วงกลมสีเหลืองที่มีตัวอักษร ซีพี สีแดงอยู่ในวงกลม นั่นก็คือสินค้าที่ผลิตโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทหลักของเครือฯ สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่แปรรูปเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปในไทย แล้วส่งออกไปยังญี่ปุ่น ภายใต้ความร่วมมือระหว่างเครือฯ กับบริษัทอาหารและร้านสะดวกซื้อของญี่ปุ่น

“คงจะไม่เป็นการกล่าวอ้างเกินไป ถ้าจะขนานนามว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็น บริษัทที่ปฏิวัติโต๊ะอาหารของประเทศญี่ปุ่น” จากการเริ่มส่งออกเนื้อไก่ไปยังญี่ปุ่นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 และในราวทศวรรษที่ 2520 หลัง
จากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในประเทศไทยได้เริ่มธุรกิจเลี้ยงกุ้งจนประสบความสำเร็จแล้ว ก็ได้เริ่มส่งออกกุ้งไปยังญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา ซีพี ก็ได้ขายเนื้อไก่และกุ้งในราคาที่เป็นธรรมให้ชาวญี่ปุ่น ทำให้ไก่ทอดและกุ้งทอดกลายเป็นเมนูประจำบนโต๊ะอาหารของชาวญี่ปุ่น

การแสวงหาโอกาสใหม่ๆ อยู่ในดีเอ็นเอของเรา 

หลังจากจีนเริ่มเปิดประเทศในปี พ.ศ. 2521 ซีพี เป็นบริษัทต่างชาติบริษัทแรกที่เข้าไปลงทุน อีกทั้งเป็นบริษัทต่างชาติบริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนการค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง ตั้งแต่นั้นมาเราก็ใช้ชื่อ เจียไต๋ กรุ๊ป หรือที่ภาษาจีนกลางอ่านว่า “เจิ้งต้า”1 ในการดำเนินธุรกิจที่ประเทศจีน ซึ่งก็ได้กลายเป็นชื่อที่คุ้นหูของชาวจีนในประเทศจีนเป็นอย่างมาก

ในประเทศจีนนั้น ซีพี ก็จัดเป็นบริษัทขนาดใหญ่ เฉพาะธุรกิจของเครือฯ ในจีนมีมูลค่าเกือบ 40% ของยอดขายรวมของเครือเจริญ-โภคภัณฑ์ทั่วโลก สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมบริษัทของไทยอย่าง ซีพี จึงสามารถเข้าไปดำเนินธุรกิจในจีนมากถึงขนาดนั้น คุณพ่อของผมมีส่วนอย่างสำคัญ 

คุณพ่อของผมชื่อนายเจี่ย เอ็กชอ เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดในมณฑลกวางตุ้ง คุณพ่อเดินทางไปหลายประเทศ ทั้งประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ขยายกิจการออกไปเรื่อยๆ ด้วยการที่คุณพ่อมีเชื้อสายจีน เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับประเทศจีนไปด้วย

แม้ว่าผมและพี่น้องจะเกิดในประเทศไทย แต่คุณพ่อของผมก็ตั้งชื่อภาษาจีนให้ลูกๆ ทุกคน พี่ชายคนที่ 1 ของผมชื่อ “เจิ้งหมิน” พี่ชายคนที่ 2 ชื่อ “ต้าหมิน” พี่ชายคนที่ 3 ชื่อ “จงหมิน” และผมชื่อ “กั๋วหมิน” เมื่อนำคำแรกของชื่อทั้ง 4 คนมารวมกัน จะได้คำว่า “เจิ้งต้า” และ “จงกั๋ว”1 หรือแปลว่า ยุติธรรม และประเทศจีน

คุณพ่อไม่เพียงแต่ส่งลูกๆ ไปเรียนในโรงเรียนไทย แต่ยังได้ส่งพวกเราไปเรียนในเมืองจีนด้วย ดังนั้นพี่น้องของผมทั้ง 12 คน จึงสามารถพูดภาษาไทยและภาษาจีนได้อย่างคล่องแคล่ว และหลังจากที่พวกเราได้สืบทอดกิจการต่อจากรุ่นคุณพ่อ เรายังคงติดต่อกับชาวจีนและชาวจีนโพ้นทะเลเรื่อยมา ซึ่งทำให้กิจการของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ขยายออกไปทั่วประเทศจีนและในประเทศอื่นๆ ที่มีชาวจีนโพ้นทะเล

ที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศไทยให้การสนับสนุนเครือเจริญโภคภัณฑ์ และยอมรับตระกูลเจียรวนนท์ที่เป็นคนต่างถิ่นย้ายมาพำนัก และให้โอกาสในการทำมาหากินอย่างเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าในยุคหนึ่งประเทศไทยจะมีข้อขัดแย้งด้านการเมืองกับประเทศจีน แต่รัฐบาลไทยก็ไม่เคยขับไล่ชาวจีนโพ้นทะเลออกจากประเทศไทย และในช่วงที่มีการปฏิวัติวัฒนธรรมจีนในประเทศจีน คุณพ่อของผมต้องสูญเสียกิจการที่ลงทุนในจีนไป แต่ที่เมืองไทยคุณพ่อของผมยังคงรักษากิจการของครอบครัวไว้ได้ นับว่าเป็นโชคดีของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่คุณพ่อของผมเลือกตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย หากวันนั้นคุณพ่อเลือกตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศจีน เราอาจไม่มีเครือเจริญโภคภัณฑ์เช่นในวันนี้

กล่าวโดยสรุปสำหรับความเป็นมาของเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็คือเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้เข้ามาตั้งรกราก ประกอบอาชีพ และดำเนินชีวิตในประเทศไทยได้อย่างมีความสุข เป็นเพราะคนไทยยินดีเปิดรับคนต่างชาติ ซึ่งผมหวังว่าประสบการณ์กว่าครึ่งชีวิตของผมจะเป็นประโยชน์และเป็นข้อคิดให้แก่คนรุ่นหลังได้ไม่มากก็น้อย

*  “เจิ้งต้า มาจากสุภาษิตจีน “เจิ้งต้ากวงหมิง” แปลว่า ซื่อสัตย์ ยุติธรรม เที่ยงตรง,“จงกั๋ว แปลว่า ประเทศจีน 

แปลและเรียบเรียงโดย :

- คุณภรณี จิรวงศานนท์ สำนักประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

- มร. หวง เหวยเหว่ย ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาโครงการ บริษัท ซีที อินฟราสตรักเจอร์ ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด

ที่มา : Nikkei - http://www.nikkei.com/article/DGXKZO04275130Q6A630C1BC8001/

ข่าวยอดนิยม

เครือเจริญโภคภัณฑ์บริษัทข้ามชาติแห่งแรกในจีนจดทะเบียนการค้าหมายเลข 000...

17 พฤษภาคม 2560
26572

การบริหารงานบุคคลของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในยุค 4.0...

08 พฤศจิกายน 2560
21869

โครงการเลี้ยงไก่ไข่อาหารกลางวันนักเรียน การ “ให้” อย่างมีคุณค่า ทั้งด้...

03 กรกฎาคม 2558
20470

Cage Free Eggs ไข่จากแม่ไก่ที่เลี้ยงแบบธรรมชาติ เพื่อสุขภาพของผู้บริโภ...

18 กรกฎาคม 2562
12431

แชร์ข่าวสาร

“Awareness” จุดเริ่มต้นของธุรกิจยั่งยืน สังคมยั่งยืน... บทที่ 2 : จากเมืองแต้จิ๋ว สู่การตั้งรกรากที่กรุงเทพฯ...
  • Nikkei
  • นิกเคอิ
  • CP Group
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ธนินท์ เจียรวนนท์
  • My Personal History

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

“มาริษา เจียรวนนท์” บนเส้นทางรังสรรค์ อาหารเพื่อสังคม ผ่านมูลนิธิ CHEF...

23 พฤศจิกายน 2564
3781

สูตรรอด 'CPF' อยู่ร่วมโควิด กระจายความเสี่ยง 47 ประเทศ...

30 สิงหาคม 2564
3526

ทำความรู้จัก “สบขุ่นโมเดล”: CP ร่วมพัฒนา พลิกเขาหัวโล้นให้กลายเป็นผืนป...

13 กรกฎาคม 2564
4294

CP ชูกลยุทธ์ขับเคลื่อน Social Enterprise ผู้นำหญิงนักพัฒนา ก้าวสู่ชุมช...

07 กรกฎาคม 2564
4173

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th