• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

อาหารและบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ผู้บริโภคมั่นใจได้


โดย นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

24 มีนาคม 2564

กว่า 1 ปีที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งคาดว่ามีต้นตอมาจากค้างคาว แต่ยังมีบางกระแสระบุว่าการแพร่ระบาดนั้นมาจากอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์อาหาร จึงทำให้เกิดข้อสงสัยในประเด็นนี้

โดยปกติไวรัสต้องอยู่ในเซลล์ร่างกายของคนหรือสัตว์ หากอยู่ในสภาพแวดล้อมนอกร่างกายคนจะอ่อนแอลง แต่โดยทั่วไปไวรัสชนิดนี้จะสามารถอยู่ได้ 2-3 ชั่วโมง บนพื้นผิวราบเรียบ และสามารถอยู่ในสภาพอากาศหนาวและความชื้นที่เหมาะสมได้ 2-3 วัน เชื้อไม่สามารถทนต่อรังสี UV ความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส ต่อเนื่อง 30 นาที แอลกอฮอล์ 75 % และน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของคลอรีน มีข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าเชื้อไวรัส SARS - CoV2 สามารถมีชีวิตรอด และส่งผ่านเชื้อได้หากติดตามอากาศและพื้นผิวต่าง ๆ ดังนี้ 1) ฝอยละอองที่เกิดจากการไอหรือจาม ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ในฝอยละออง/Aerosol ได้ 3 ชั่วโมง 2) พื้นผิวของทองแดง ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 4 ชั่วโมง 3) พื้นผิวของกระดาษลัง - พัสดุไปรษณีย์ ไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง 4) พื้นผิวของพลาสติก - สแตนเลส เป็นพื้นผิวที่ไวรัสอยู่ได้นานที่สุดคือ 72 ชั่วโมงหรือ 3 วัน

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานโดยตรงว่าอาหารทะเลหรืออาหารแช่แข็งเป็นแหล่งระบาดของโรคโควิด -19 และยังไม่พบรายงานผู้ป่วยโรคโควิด -19 ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร การสัมผัสอาหารและบรรจุภัณฑ์ของอาหาร สาเหตุหลักการติดต่อของเชื้อไวรัสเป็นการติดเชื้อจากคนสู่คน ผ่านละอองฝอยน้ำลายของผู้ป่วยที่มาจากการไอ จาม พูด หรือแม้กระทั่งการหายใจ ถึงแม้จะมีรายงานการตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อในอาหารทะเล อาหารแช่แข็ง และบรรจุภัณฑ์ หรือการตรวจพบพนักงานในโรงงานผลิตอาหารติดเชื้อโควิด -19 ก็ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ผลิตจากโรงงานดังกล่าว

จากข้อมูลการเก็บตัวอย่างอาหารของสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ตั้งแต่วันที่ 7 - 21 มกราคม 2564 เพื่อตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในอาหาร ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทรายแดง ปลาซาบะ ปลาทู ปลาอินทรีย์ ปลาใบขนุน ปลาน้ำดอกไม้ หอย หมึก กุ้ง เป็นต้น สำหรับบรรจุภัณฑ์ เช่น กระป๋อง กล่องกระดาษ จำนวน 117 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง

สรุปว่าการตรวจพบไวรัสในอาหารแช่แข็งมีสาเหตุมาจากการสัมผัสอาหารระหว่างการผลิตและขนส่ง โดยพนักงานที่ติดเชื้อนั้นยังไม่มีข้อมูลที่จะยืนยันได้ ซึ่งหลักการการป้องกันที่ดีที่สุดของการผลิตอาหาร การปรุง ประกอบอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี Good Manufacturing Practice (GMP) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วโลกว่าเป็นวิธีการที่ดีสำหรับการผลิตในทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับอาหาร ว่าจะทำให้ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย

สำหรับคำแนะนำในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ในอาหาร คือทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่ทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ ไม่ทานอาหารร่วมกัน แยกอุปกรณ์ แก้วน้ำ จาน ชาม เป็นต้น ความปลอดภัยของอาหารจะเริ่มจาก สุขลักษณะที่ดีของผู้ผลิต/สัมผัสอาหาร โดยอาหารต้องไม่ปนเปื้อน การจัดเก็บอาหารต้องอยู่ในอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม อุปกรณ์หรือภาชนะต้องสะอาด สถานที่ผลิต ประกอบและจำหน่ายอาหาร ต้องทำความสะอาดสม่ำเสมอ และควรปฏิบัติตาม 4 ขั้นตอนของอาหารปลอดภัยคือ 1) ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์เมื่อซื้อหรือจับบรรจุภัณฑ์อาหาร ก่อน ระหว่าง และหลังการเตรียมอาหาร รวมทั้งก่อนการรับประทานอาหาร ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ มีด เขียง และบริเวณที่เตรียมอาหารด้วยสบู่ ล้างผัก/ผลไม้ โดยให้น้ำไหลผ่าน 2) ใช้ภาชนะ อุปกรณ์ และเขียง แยกกันระหว่างอาหารที่ปรุงสุกและอาหารดิบเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ควรแยกเก็บอาหารดิบและอาหารสุก รวมถึงขณะซื้ออาหารควรแยกรถเข็นอาหารสุกและอาหารดิบ 3) ปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น เนื้อสัตว์ ใช้ความร้อนในการปรุงอย่างน้อย 63 องศาเซลเซียส ผัก ใช้ความร้อนในการปรุงอย่างน้อย 57 องศาเซลเซียส เป็นต้น

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวยอดนิยม

ความจริงเรื่องนมอัดเม็ดจิตรลดาที่ร้าน 7-Eleven...

21 พฤษภาคม 2558
54994

7-Eleven ชี้แจง “เปิดสาขาติดกัน”...

20 พฤษภาคม 2558
23972

“เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทฯ ที่ผูกขาด” จริงหรือ?...

19 พฤษภาคม 2558
12633

ตามไปดูธุรกิจปลาดอรี่ ครบวงจร ของ ซีพี เวียดนาม...

27 พฤศจิกายน 2557
12016

แชร์ข่าวสาร

ซีพี ออลล์ ยืนยันเดินหน้าขยายธุรกิจกัมพูชา ลาว ตามแผน... ซีพีออกแถลงด่วน ไม่เกี่ยวข้องกับCPTPPเตรียมดำเนินคดีผู้มีเจต...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เครือเจริญโภคภัณฑ์ชี้แจงข่าวลือ กรณีมีผู้เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเรื่...

14 ตุลาคม 2564
3205

เตือนอย่าหลงเชื่อเว็บไซต์ปลอม อ้าง CP หลอกลงทุนบิทคอยน์...

17 กันยายน 2564
2645

ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว “เซเว่น อีเลฟเว่น” ชนะคดีกรณีถูกกล่าวหาก็อปปี้สินค้...

08 กันยายน 2564
2486

ทรู ชี้แจงลูกค้าข้อความส่วนลดเน็ตบ้านและมือถือเป็นข่าวปลอม อย่าหลงเชื่...

30 กรกฎาคม 2564
1946

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th