คำว่า “ผูกขาดทางธุรกิจ” คือการกีดกันไม่ให้คู่แข่งได้เกิดและทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก เพื่อสร้างผลกำไรเกินควร ซึ่งความจริงคือทุกวันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดเสรีทางการค้า มีบริษัทขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในทุกกลุ่มธุรกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ไม่ได้มีอำนาจและไม่สามารถกีดกันคู่แข่งได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องทำธุรกิจและทำการตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ ๆ ระดับโลกที่เข้ามาครองตลาดในบ้านเรา ดังตัวอย่างเช่น
• ธุรกิจอาหาร : นอกเหนือจากบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหารแล้ว ยังมีบริษัทข้ามชาติที่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ ๆระดับโลก ทั้ง Nestle สวิสเซอร์แลนด์)ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดในโลก, Kraft Foods(USA), Tyson (USA), JBF (USA), BRF-Brazil Foods (บราซิล), Smithfield (USA), New Hope (จีน) ,General Mills(USA), ConAgra Foods (USA), Hormel Foods (USA)รวมทั้ง McDonald's, KFC และ Pizza Hut (ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Pepsi), Coca Cola เเละ ผู้เล่นในระดับประเทศ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทชั้นนำ หรือ เป็นสาขาของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย อาทิ คาร์กิลล์ เบทาโกร สหฟาร์ม ไทยฟู้ดส์ ไทยยูเนี่ยน ซีเฟรชอินดัสตรี GFPT และ GFS เป็นต้น
• ธุรกิจค้าปลีก โมเดิร์นเทรด : นอกเหนือจาก CP All ที่มี 7-11 และ Makro แล้ว ยังมีบริษัทขนาดใหญ่อีกหลายรายในประเทศ เช่น Tops, Big C ในเครือเซ็นทรัลจากฝรั่งเศส Tesco Lotus และTesco Express จากอังกฤษ , Watson (ของ Li Ka Shing และ Temasek ของรัฐสิงคโปร์) ร้านเพื่อสุขภาพและความงามรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก, Family Mart เครือเซ็นทรัลจากญี่ปุ่น และ Lawsonของสหพัฒน์ฯ จากญี่ปุ่นซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้ออันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายราย
• ธุรกิจสื่อสาร : นอกจากกลุ่มทรูแล้ว ยังมีเอไอเอส ของ Singtel จากสิงคโปร์ และดีแทคของเทเลนอร์ จาก นอร์เวย์ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใหญ่ระดับโลก
ทั้งนี้หากพิจารณาเรื่องส่วนแบ่งการตลาดค้าปลีกทั้งหมด 7-11 มีส่วนเเบ่งตลาด เพียงประมาณ 10% เท่านั้น ซึ่ง 7-11 มี 8,000 สาขา ขณะที่ร้านขายของโชห่วย มีถึงประมาณ 800,000 ร้านทั่วประเทศ ยังไม่รวม modern trade อื่นที่กล่าวถึงข้างต้น และขณะที่เดียวกันเครือเจริญโภคภัณฑ์ยังมีแม็คโครที่ทำธุรกิจศูนย์ค้าส่งซึ่งช่วยส่งเสริมโชห่วยในประเทศไทย
ส่วนกลุ่มสื่อสารนั้น เรื่องส่วนแบ่งการตลาดคงเป็นที่รับทราบกันดีอยู่แล้ว แม้เป็นน้องเล็กสุด เเต่ก็เป็นกลุ่มเเรกที่บุกเบิก 3G เเละ 4G ให้กับประเทศไทย เพื่อให้ประเทศพร้อมที่จะเเข่งขันในโลกยุคการค้าเสรี และมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทัดเทียมนานาชาติ
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดของ CPF มีส่วนแบ่งตลาด เฉลี่ยอยู่ ที่ประมาณ 17% เท่านั้น (ไข่ไก่ประมาณ 12% ไก่เนื้อประมาณ 17% สุกรประมาณ 24%) ซึ่งเป็นเท่านี้มานานเเล้ว เพราะเป็นนโยบายของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ที่จะไม่ให้ขนาดของส่วนเเบ่งการตลาดเกินกว่านั้น แต่ให้เอาความรู้ความสามารถข้ามชาติไปขยายสู่ตลาดต่างประเทศ ทุกวันนี้ CPF ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปกว่า 40 ประเทศทั่วโลก
นอกจากประเทศไทยที่เป็นบ้านเกิดแล้ว เครือเจริญโภคภัณฑ์มีการลงทุนไปใน 16 ประเทศ ค้าขายไปทั่วโลกกว่า 100 ประเทศ ทุกประเทศที่เครือเข้าไปเครือประสบความสำเร็จอย่างดี ได้รับเกียรติได้รับการยกย่องเป็นธุรกิจไทยที่สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจเทียบชั้นธุรกิจใหญ่บนเวทีโลก ซึ่งการขยายตลาดไปต่างประเทศนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ยังคงยึดหลัก 3 ประโยชน์เช่นกัน คือ 1.ประโยชน์ต่อประชาชน 2. ประโยชน์ต่อประเทศ 3.ประโยชน์ต่อบริษัทบนความเชื่อที่ว่าถ้าส่วนรวมไม่ดีเเล้วบริษัทฯจะดีได้อย่างไร