องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE), กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมโรค และนักวิชาการ ย้ำ เนื้อหมูบริโภคได้ไม่ต้องกังวล แนะรับประทานตามหลักสุขอนามัย “ปรุงสุก กินร้อน ช้อนกลาง” ปลอดภัยแน่นอน
จากกรณีที่มีการทำลายหมูในพื้นที่ภาคเหนือไม่กี่ตัว ซึ่งสงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ASF โดยกรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้ตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ทราบและดำเนินมาตรการปัองกันอย่างเคร่งครัดและรัดกุม เพื่อควบคุมโรคให้อยู่วงจำกัด ตามแนวทางการปัองกันและควบคุมโรคของกรมฯ
น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมฯมีมาตรการเฝ้าระวังทุกจังหวัดขอให้ผู้บริโภครับประทานเนื้อหมูตามปกติด้วยการปรุงสุก อย่าตระหนกกับข่าวโรค ASF ในสุกร เนื่องจากโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน แต่ติดต่อเฉพาะในสุกรเท่านั้น
นอกจากนี้ กรมฯได้อบรมให้ความรู้กับเกษตรกรในการเฝ้าระวังและปัองกันสุกรในฟาร์มตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง และเป็นเครือข่ายในระดับหมู่บ้าน อำเภอ เพื่อแจ้งข่าวเตือนไปยังปศุสัตว์จังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ตามมาตรฐานสากลในการป้องกันการระบาดของโรค
ก่อนหน้านี้ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่เชื่อถือได้และยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อนทุกครั้ง เพื่อทำลายเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อน และควรล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารทุกมื้อ
น.สพ.ดร.นิติพงศ์ หอมวงษ์ ภาควิชาสัตวบาล ศูนย์วิจัและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ยืนยันว่า ASF ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์อื่น ผู้บริโภคสามารถรับประทานเนื้อหมูได้โดยไม่ต้องกังวล แต่ควรบริโภคผ่านการปรุงสุก และหลีกเลี่ยงการทานเนื้อหมูดิบ มั่นใจได้ปลอดภัยแน่นอน
ทางด้าน OIE ให้รายละเอียดกับผู้บริโภคว่า ASF ไม่ติดต่อคน ผู้บริโภคสามารถบริโภคเนื้อหมูได้ ไม่เกิดอันตราย เชื้อโรคได้โดยผ่านการปรุงสุก ที่สำคัญคือ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ในส่วนของเกษตรกรมีข้อกำหนดเคร่งครัด คือ ห้านคนนอกเข้าฟาร์ม ต้องรู้แหล่งที่มาของสุกร และงดให้อาหารสุกรด้วยเศษอาหารจากคน
สำหรับ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีมาตรฐานการป้องกันโรคเข้มงวด มีการซ้อมแผนฉุกเฉินป้องกันโรคในฟาร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการป้องกันโรคเพิ่มความชำนาญและปฏิบัติการอย่างแม่นยำให้กับเจ้าหน้าที่ และเลี้ยงสุกรด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Bio Security) ช่วยป้องกันโรค และอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของไทย
น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านธุรกิจสุกร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ฟาร์มสุกรทั้งหมดของบริษัทฯเป็นการเลี้ยงด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ ซึ่งเป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่นเลี้ยงในระบบโรงเรือปิด ตรวจสอบแหล่งวัตถุดิบรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ควบคุมรถขนส่งเข้า-ออก ฟาร์ม (มีระบบฆ่าเชื้อ) กำหนดจุดส่งมอบสินค้าแยกจากฟาร์ม เป็นต้น ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้กับเกษตรกรในคอนแทรคฟาร์มของบริษัทฯทั่วประเทศครบทุกรายแล้ว และดำเนินการอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยของเนื้อสุกรสู่ผู้บริโภค