• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ซีพีเอฟ ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมปลอดภัยจากสารตกค้าง เน้นการเลี้ยงที่สะอาด ลดเสี่ยงเป็นโรค


16 พฤศจิกายน 2559

นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาธุรกิจสัตว์น้ำ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้ปรับปรุงพันธุ์ปลาทับทิมให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงในประเทศไทยและตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และได้ส่งเสริมเป็นอาชีพการเลี้ยงปลาทับทิมให้แก่เกษตรกร เริ่มส่งเสริมเฮียกู้เริ่มเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง ซึ่งได้ผลผลิตที่ดี ปลาเนื้อแน่น และไม่มีกลิ่นโคลน ต่อมาบริษัทฯ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรรายอื่นได้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคทั่วไปนิยมนำปลาทับทิมมาทำเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ส่งผลให้ปลาทับทิมกลายเป็นปลาเศรษฐกิจจนถึงปัจจุบัน

“ซีพีเอฟสนับสนุนเกษตรกรในการพัฒนาแหล่งเลี้ยงที่เหมาะสม ได้มาตรฐานฟาร์มปลา GAP (Good Agriculture Practices) ของกรมประมง พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมระบบการเลี้ยง “โปรไบโอติก” เป็นระบบที่ใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อปลา ให้สามารถปรับความสมดุลและภูมิต้านทานโรคได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้วัคซีน ยา หรือสารเคมีใดๆ” นายอดิศร์กล่าว  

ด้าน นายวรชัย แสงวณิช หรือ เฮียกู้ เจ้าของ “กอกวงฮวดฟาร์ม” เล่าว่า ตนเป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังลุ่มน้ำแม่กลองในจังหวัดสมุทรสงคราม นับเป็นผู้เลี้ยงปลาทับทิมในกระชังรายแรกของประเทศไทย ปัจจุบันเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่มั่นคงมาตลอด 18 ปี เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคว่าเป็นผู้ที่เลี้ยงปลาที่มีคุณภาพ และปลอดภัยจากสารตกค้าง ย้ำเกษตรกรต้องใช้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรงจากบริษัทเพาะพันธุ์ลูกปลาที่เชื่อถือได้  ใช้ระบบการเลี้ยงที่ดีช่วยให้ปลาแข็งแรง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ใช้วัคซีน ยาและสารเคมีในการเลี้ยง

เฮียกู้ เล่าต่อถึงที่มาของการเลี้ยงปลาทับทิม ว่าดั้งเดิมตนเลี้ยงปลาดุกและปลาช่อนในกระชังแม่น้ำแม่กลองมาก่อน เพราะจุดที่เลี้ยงยังเป็นน้ำจืดอยู่ ต่อมาเปลี่ยนมาเลี้ยงปลากะพงในน้ำจืดตามการส่งเสริมของกรมประมง แต่ต้องประสบกับการขาดแคลนลูกพันธุ์ปลากะพงทำให้ต้องหยุดเลี้ยง จึงทดลองนำปลาทับทิมตามคำแนะนำของซีพีเอฟในปี 2541 ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นปลาที่ใหม่สำหรับตลาดของไทย  ซีพีเอฟอยู่ในช่วงแนะนำเข้าสู่ตลาดผู้บริโภค ช่วงแรกเริ่มต้นเลี้ยงปลา 6 กระชัง และร่วมกับซีพีเอฟขยายตลาดปลาทับทิมเข้าสู่ช่องทางจัดจำหน่ายต่างๆ เริ่มจากที่ไม่มีคนสนใจ จนปลาทับทิมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจนไม่พอขาย สามารถขยายการเลี้ยงจนถึงปัจจุบันรวม 100 กระชัง 

เฮียกู้ กล่าวต่อว่า กระบวนการผลิตปลาทับทิมที่ประสบความสำเร็จ ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพลูกพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพสูง และมาตรฐานการเลี้ยง ใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการที่ดีมาใช้ การผลิตปลาทับทิมของฟาร์มฯ เริ่มจากนำลูกพันธุ์ปลามาอนุบาลในบ่อปูน ใช้เวลาอนุบาล 2 เดือนจึงย้ายมาเลี้ยงต่อในกระชัง ให้อาหาร “โปรไบโอติก” ตามช่วงอายุ หากได้ลูกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง และระบบการเลี้ยงที่ดี ช่วยลดโอกาสการเป็นโรค แข็งแรง เติบโตเร็ว ที่ฟาร์มจึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือยารักษาโรคเลย ไม่เพียงลดต้นทุนการผลิตแล้วยังช่วยให้เนื้อปลาปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย 

เฮียกู้ แนะนำต่อว่า สำหรับการเลี้ยงปลาในช่วงฤดูร้อน ทำให้อุณหภูมิน้ำในแม่น้ำร้อนมาก เกษตรกรควรลดจำนวนการปล่อยปลาเลี้ยงในกระชังลงประมาณ 20-30% ในช่วงปกติปล่อยปลาเลี้ยงในกระชัง 40 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร พอถึงฤดูร้อนจะปล่อยปลาในกระชังลดลง 25-30 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร และปล่อยให้กระชังว่าง เลี้ยงเพียง 80% ของกระชัง เพิ่มพื้นที่ไหลผ่านของน้ำ เพื่อช่วยให้ปลาอยู่ได้สบาย ไม่อึดอัด ไม่เครียด กินอาหารได้ปกติ เติบโตได้คุณภาพ ลดอัตราการสูญเสียของผลผลิตที่เกิดจากอากาศร้อนได้ดี  

“ผู้เลี้ยงปลาทับทิมต้องใส่ใจการเลี้ยงตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี ทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเคมีโดยไม่จำเป็นทั้งในการเลี้ยงและระหว่างการขนส่ง เพราะนอกจากเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตแล้ว ตลาดเป็นปัจจัยสำคัญของการผลิตปลาทับทิม ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลาทับทิมจึงให้ความสำคัญกับมาตรฐานและความปลอดภัยของปลาอย่างต่อเนื่อง” เฮียกู้กล่าว

ปัจจุบัน กอกวงฮวดฟาร์มยังได้พัฒนาเป็นรีสอร์ทที่พักให้สำหรับนักท่องเที่ยวได้เดินทางมาพักผ่อนหรือรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นการทำธุรกิจต่อยอดจากฟาร์มปลาทับทิมที่ช่วยรายได้ที่ยั่งยืนแล้ว และยังเป็นการให้บริการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ให้กับผู้ที่สนใจศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาทับทิมที่ปลอดภัยอีกด้วย

ข่าวยอดนิยม

ความจริงเรื่องนมอัดเม็ดจิตรลดาที่ร้าน 7-Eleven...

21 พฤษภาคม 2558
55250

7-Eleven ชี้แจง “เปิดสาขาติดกัน”...

20 พฤษภาคม 2558
24169

“เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นบริษัทฯ ที่ผูกขาด” จริงหรือ?...

19 พฤษภาคม 2558
12883

ตามไปดูธุรกิจปลาดอรี่ ครบวงจร ของ ซีพี เวียดนาม...

27 พฤศจิกายน 2557
12202

แชร์ข่าวสาร

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญกับนโยบาย Food Safety ไม่ใช้ย... กระบวนการเลี้ยงสัตว์ปลอดภัยไม่มีโคลิสติน...
  • CPF
  • ซีพีเอฟ
  • อดิศร์ กฤษณวงศ์
  • ปลาทับทิม
  • กอกวงฮวดฟาร์ม
  • ยาปฏิชีวนะ
  • Antibiotics
  • อาหารปลอดภัย

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เครือเจริญโภคภัณฑ์ชี้แจงข่าวลือ กรณีมีผู้เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเรื่...

14 ตุลาคม 2564
3572

เตือนอย่าหลงเชื่อเว็บไซต์ปลอม อ้าง CP หลอกลงทุนบิทคอยน์...

17 กันยายน 2564
2972

ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว “เซเว่น อีเลฟเว่น” ชนะคดีกรณีถูกกล่าวหาก็อปปี้สินค้...

08 กันยายน 2564
2821

ทรู ชี้แจงลูกค้าข้อความส่วนลดเน็ตบ้านและมือถือเป็นข่าวปลอม อย่าหลงเชื่...

30 กรกฎาคม 2564
2164

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th