• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เครือเจริญโภคภัณฑ์ “ข้าว-ปลา-ปาล์ม” ศูนย์เรียนรู้เกษตรทันสมัย รับการเกษตรอนาคต


20 กรกฎาคม 2558

นายขุนศรี ทองย้อย  รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ จำกัด กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซี.พี.) เปิดเผยว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร มีความต้องการยกระดับรายได้เกษตรกรไทย จึงนำแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมประการณ์จากการอยู่ในภาคเกษตรมายาวนานหลายสิบปี รวมถึงการได้ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจข้าวของประเทศไทย และการได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์เยี่ยมชมการปลูกข้าวจากทั่วทุกมุมโลกโดยเฉพาะในประเทศจีน 

ด้วยเหตุนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์(ซี.พี.)โดยนายธนินท์  เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร จึงได้มีนโยบายให้จัดดำเนินโครงการเกษตรทันสมัย ขึ้นในหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร  ต.เทพนคร และ ต.คณฑี อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์เรียนรู้เกษตรทันสมัย ข้าว-ปลา-ปาล์ม”  เป็นการทำนาด้วยนวัตกรรมใหม่ที่สุดในโลก ระบบเกษตรอินทรีย์ หรือ ระบบธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่ใช้น้ำฆ่าแมลงแทน ทำให้น้ำในนาปลอดสารพิษ สามารถเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นรายได้เสริมช่วงปลูกข้าวได้

“ศูนย์เรียนรู้เกษตรทันสมัย ข้าว-ปลา-ปาล์ม”  ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 เพื่อให้เกษตรกรไทยได้เรียนรู้ด้านเกษตรทันสมัย เป็นการพัฒนาเกษตรกรให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกระบวนการผลิต การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  เพื่อยกระดับรายได้ให้เกษตรกรให้สูงขึ้นเหมือนในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่เกษตรกรสามารถไปเที่ยวทั่วโลกได้   ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรรมที่ทำอยู่ปัจจุบัน เกษตรกรถึงจะลืมตาอ้าปากได้ เป็นการเกษตรสมัยใหม่ที่สามารถสร้างผลผลิต  สร้างรายได้ที่สูงขึ้น ลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้ทาง กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ได้จัดรูปที่ดินจำนวน 290 ไร่ แบ่งออกเป็น
- พื้นที่เก็บสำรองน้ำและชลประทานภายในโครงการ 24 ไร่ เก็บน้ำได้ 145,000 ลูกบาศก์เมตร พร้อมเลี้ยงปลาเพื่อสร้างรายได้

- พื้นที่สำรองน้ำและอนุบาลลูกปลา ลูกกุ้ง ขนาด 2 ไร่ 3 บ่อ ปริมาณน้ำบ่อละ 12,000 ลูกบาศก์เมตร รวม 36,000 ลูกบาศก์เมตร เพื่ออนุบาลไว้ 2 เดือนก่อนปล่อย

- พื้นที่ปลูกข้าว 4 แปลง รวม 136 ไร่ แต่ละแปลงมีขนาด 90 X 600 เมตร หรือแปลงละ 34 ไร่ ออกแบบให้รถเก็บเกี่ยวขนาดหน้ากว้าง 3 เมตร วิ่ง 15 รอบ เก็บเกี่ยวหมดแปลงพอดี

- พื้นที่เลี้ยงปลานิลและกุ้งก้ามกราม รอบแปลงข้าว ในลักษณะขาวัง คือ ช่วงบนกว้าง 9.6 เมตร ช่วงล่างกว้าง 6 เมตร ความลึก 1.5 – 2 เมตร พื้นที่รวม 9 ไร่ ปริมาณน้ำบ่อละ 28,800 ลูกบาศก์เมตร

- พื้นที่ถนน กว้าง 12 เมตร สูงจากระดับแปลงนา 2 เมตร เพื่อเป็นคันนา ที่สามารถปลูกปาล์มน้ำมันหรือมะพร้าวได้ 2 แถว โดยรถเครื่องจักรการเกษตรเข้าทำงานได้

การจัดรูปที่ดินมีความต่างระดับ จากพื้นที่เก็บสำรองน้ำ ลงไปทางท้ายแปลงนา เพื่อเพิ่มและลดระดับน้ำในแปลงนาได้ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงแทนการใช้พลังงาน สามารถปล่อยน้ำเข้าท่วมต้นข้าวได้ภายใน 4 – 6 ชั่วโมง

ด้วยการวางแผนบริหารจัดการอย่างลงตัวระหว่างการปลูกข้าว เลี้ยงปลา และเลี้ยงกุ้งหลังจากปักดำข้าวพันธุ์ CP333 ประมาณ 7 วัน จะเริ่มปล่อยลูกปลานิล จำนวน 400,000 ตัว และลูกกุ้งก้ามกรามตัวผู้ จำนวน 400,000 ตัว จากบ่ออนุบาล ลงเลี้ยงในแปลงข้าว ทั้ง 4 แปลง ระหว่างที่ต้นข้าวกำลังเจริญเติบโต ระดับน้ำเลี้ยงต้นข้าวจะสูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร หากมีแมลงระบาดในนาข้าว จะเพิ่มระดับน้ำให้สูงท่วมต้นข้าวเพื่อให้แมลงตายลอยน้ำ และปลามากินแมลง จากนั้นไม่เกิน 4-6 ชั่วโมง จะปล่อยน้ำออกให้อยู่ในระดับเดิม แมลงศัตรูข้าวจึงถูกกำจัดโดยไม่ต้องใช้สารเคมี

เมื่อถึงระยะการเก็บเกี่ยวข้าว หรือประมาณ 4 เดือน จะลดระดับน้ำบนแปลงนา คงเหลือไว้เฉพาะคูน้ำโดยรอบ เพื่อให้เครื่องจักรลงเก็บเกี่ยวได้ เมื่อการเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ จะปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลงทั้งหมด ความสูงน้ำประมาณ 120 เซนติเมตรจากระดับแปลงนา เพื่อให้ปลาและกุ้งเจริญเติบโตต่อเนื่องไปอีก 2 เดือน

วิธีการเช่นนี้ยังช่วยตัดวงจรโรคและแมลงได้ในส่วนของแนวถนนหรือคันนา ปลูกปาล์มน้ำมัน ลูกผสม CP Super Ghana ระยะปลูก 8 เมตร จำนวน 600 ต้น มะพร้าวลูกผสม ชุมพร2 และลูกผสม สวี1 ระยะปลูก 6 เมตร จำนวน 900 ต้น โดยใช้ระบบให้น้ำและธาตุอาหารแบบสปริงเกอร์

ในส่วนของปาล์มและมะพร้าวเริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 4 อายุเก็บเกี่ยว 20 ปี

รูปแบบดังกล่าว จะสามารถปลูกข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลาและกุ้งก้ามกรามได้ ปีละ 12 รอบ และเมื่อต้นปาล์มน้ำมันและมะพร้าว อายุปลูกครบ 4 ปี สามารถเก็บเกี่ยวปาล์ม ได้เฉลี่ย 15 วัน/ครั้ง และ มะพร้าว เฉลี่ย 20 วัน /ครั้ง

ทั้งนี้เมื่อหักต้นทุนการผลิตแต่ละชนิด ประมาณการว่าในแต่ละปี พื้นที่ 1 ไร่สามารถสร้างรายได้จากการปลูกข้าว10,500บาท ปลานิล 14,500 บาท กุ้งก้ามกราม 17,100 บาท ปาล์มน้ำมัน 7,200 บาท (เริ่มปีที่ 4) และมะพร้าว 6,700 บาท  (เริ่มปีที่ 4 ) หรือรวมรายได้จากผลผลิตต่างๆ ประมาณไร่ละ 56,000 บาท / ปี

ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เกษตรทันสมัย ข้าว-ปลา-ปาล์ม เริ่มดำเนินการเกษตรตามแผนงาน ซึ่งคาดว่าศูนย์แห่งนี้ จะสามารถเป็นแปลงสาธิตการทำเกษตรทันสมัย เป็นแหล่งทดลองปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานพึ่งพาซึ่งกันและกัน และเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรและผู้สนใจศึกษาดูงาน เพื่อนำสู่การพัฒนาต่อยอดให้ภาคการเกษตรของไทยมั่นคง และก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

 

 

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
35468

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
32622

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
25164

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
17907

แชร์ข่าวสาร

ซีพีเอฟร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ มุ่งมั่นใช้อย่างคุ้มค่าและเพิ... อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...
  • เครือเจริญโภคภัณฑ์
  • ศูนย์เรียนรู้เกษตรทันสมัย
  • ข้าว-ปลา-ปาล์ม

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

29 ธันวาคม 2564
11264

บริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว “สศค.” เผยหนุน ศก.ภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น...

29 ธันวาคม 2564
11458

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒ...

28 ธันวาคม 2564
10144

ครม.ทราบมติ คกก.นโยบายการเงินรัฐ ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เกิ...

28 ธันวาคม 2564
10246

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th