• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

บริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว “สศค.” เผยหนุน ศก.ภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น


29 ธันวาคม 2564

สศค. เผยเศรษฐกิจภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น จากบริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว

นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2564 ปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก และภาคกลาง จากการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนที่ทยอยฟื้นตัว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

ภาคตะวันออก
เศรษฐกิจภาคตะวันออกปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 42.5% และ 37.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -6.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 33.0%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน123% ด้วยจำนวนเงินทุน 3.7 พันล้านบาท จากโรงงานสร้าง ประกอบ ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงสภาพ การทำชิ้นส่วนพิเศษหรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถบรรทุก ทุกประเภท ทั้งที่ใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติหรือไฟฟ้า ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.4% นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47.8 และ 106.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.8 และ 103.4 ตามลำดับ

ภาคกลาง
เศรษฐกิจภาคกลางปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 19.6% และ 20.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -11.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 41.5%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.7% ด้วยจำนวนเงินทุน 1.4 พันล้านบาท จากโรงงานแบ่งบรรจุสินค้า ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.9% นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 43.0 และ 82.1 ตามลำดับ

ภาคตะวันตก
เศรษฐกิจภาคตะวันตกปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะจากการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.8% ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.3% แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย -1.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 77.6% ด้วยจำนวนเงินทุน 0.2 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคาในจังหวัดกาญจนบุรีเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.6% และ 27.4% ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.0 และ 82.1 ตามลำดับ

กรุงเทพฯ ปริมณฑล
เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 6.6% และ 19.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -16.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 28.3%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.4% ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ชะลอลง -15.1% และ -27.9% ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 85.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 42.3 และ 82.1 ตามลำดับ

ภาคเหนือ
เศรษฐกิจภาคเหนือ ปรับตัวดีขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 17.0% และ 14.7% ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -13.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล 9.6%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.6% ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการและจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ยังชะลอตัว นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 47.7 และ 63.7 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46.8 และ 60.9 ตามลำดับ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 6.8% และ 22.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล 25.6%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.9% ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ และจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ยังชะลอตัว นอกจากนี้ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 48.9 และ 77.3 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.0 และ 74.1 ตามลำดับ

ภาคใต้
เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัว 27.8% และ 13.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลง -12.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล 15.8%

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18.3% จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 20.3% ต่อปี แต่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล -8.6% ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังชะลอตัว นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.1 และ 82.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.0 และ 79.9 ตามลำดับ

ที่มา สยามรัฐ

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
35483

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
32643

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
25168

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
17908

แชร์ข่าวสาร

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่... เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

29 ธันวาคม 2564
11272

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒ...

28 ธันวาคม 2564
10149

ครม.ทราบมติ คกก.นโยบายการเงินรัฐ ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เกิ...

28 ธันวาคม 2564
10252

ส่งออกไก่ไทยฉลุย 9 แสนตัน ยืนหนึ่งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สากล...

27 ธันวาคม 2564
10286

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th