• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

เอกชนแนะรัฐปิดจุดอ่อนอีอีซีเร่งดึงดูดการลงทุนแข่งกับเวียดนาม


28 กุมภาพันธ์ 2564

The Rise of Thai Economy in 2020s: กำเนิดใหม่เศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 2020

เอกชน -นักวิชาการ ชี้เวียดนามแซงไทยด้านเศรษฐกิจจากความพร้อมด้านต่าง ๆแนะเร่งลดอุปสรรค สร้างแรงดึงดูดนักลงทุนหันลงทุนไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานหอการค้าไทย ในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม เปิดเผยว่า  แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในขณะนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ส่วนหนึ่งจากการย้ายฐานการผลิตจากจีน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามาก เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามมีโนยายชัดเจนล่าสุดการประชุมของพรรคคอมมิวนิสต์ได้วางนโยบายด้านเศรษฐกิจ 5 ปี เน้นเรื่องอุตสาหกรรมไฮเทค อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพร้อมเปิดประเทศให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น มีการแก้ไขอุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการลงทุนทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆเพื่อเอื้อต่อการลงทุน รวมทั้งไฟเขียวให้แต่ละจังหวัดของประเทศมีการแข่งขันการพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองได้และกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัด ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความสบายใจ

ส่วนการเมืองในประเทศก็มีความต่อเนื่องไม่มีสะดุด ขณะที่การทำเอฟทีเอนั้นเวียดนามมี 17 ฉบับ ครอบคลุม 55 ประเทศ โดยเฉพาะการเข้าร่วมเป็นสมาชิกซีพีทีพีพี ที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ทั้งที่มีความพร้อมน้อยกว่าไทย รวมทั้งการทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปหรืออียู ประกอบกับและอัตราแลกเปลี่ยนเงินดองในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาอ่อนค่า 4 % เทียบกับไทยที่แข็งค่าขึ้น 15% ซึ่งแตกต่างกันมาก แม้ว่าสหรัฐจะจับตาเวียดนามในฐานะเป็นประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงินก็ตาม รวมทั้งความพร้อมด้านแรงงานที่มีมาก ซึ่งเวียดนามไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวเลย ผิดจากประเทศไทยที่ต้องการแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก

“สิ่งเหล่านี้เอื้ออำนวยให้ประเทศเวียดนามพัฒนาเศรษฐกิจไปได้เร็วมาก และเติบโตมาก และเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรม โดยขณะนี้ไทยเองก็เข้าไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้น ทั้งด้านพลังงาน ไฟฟ้า ปิโตรเคมี แม้เวียดนามจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่อัตราขยายตัวด้านเศรษฐกิจโต 7% ขณะที่ไทยติดลบ 6 % จีดีพีก็โตต่อเนื่อง และตั้งเป้าใน 5 ปีข้างหน้าจะต้องโต 6-7%ต่อปี”

นายสนั่น กล่าวว่า ขณะนี้เวียดนามเป็นประเทศที่น่าลงทุนมาก โดยนักธุรกิจไทยต้องไปลงทุนในเวียดนามให้มากไม่ใช่เป็นการย้ายฐานการผลิตแต่เป็นการขยายฐานการผลิต ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลควรส่งเสริมให้ไปลงทุนในต่างประเทศ ปัจจุบันมีบริษัทไทยประมาณ 600 รายที่เข้าไปลงทุน คาดว่าในอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ของเวียดนามจะมีแนวโน้มเติบโตมาก และอุตสาหกรรมเกษตรจะโตแบบก้าวกระโดดและมั่นคงมาก อย่างไรก็ตามประเทศไทยก็เป็นประเทศที่นักลงทุนต้องการเข้ามาลงทุนไม่ต่างกับเวียดนาม เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่บรรยากาศดี ผู้คนอัธยาศัยดี มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อม เป็นต้น และยังได้เปรียบในเรื่องการชายแดนที่ติดต่อกับ 4 ประเทศคือ เมียนมา กัมพูชา ลาวและ มาเลเซีย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงการค้าไปยังประเทศอินเดีย จีน เวียดนาม ได้อีก

สิ่งที่เป็นปัญหามากคือ เสถียรภาพทางการเมืองไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดความกังวลด้านนโยบาย การแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน ความยากง่ายในการทำธุรกิจของไทย (Doingbusiness) การเจรจาความตกลงซีพีทีพีพีที่ยังไม่คืบหน้า การทำเอฟทีเออื่น ส่วนอีอีซีที่เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลก็ดำเนินไปอย่างล่าช้า มีขั้นตอนยุ่งยากมากมาย และคงต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายหลังจากเกิดโควิด-19 เพราะประเทศเพื่อนบ้านเราก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ควรต้องมีด้านสุขอนามัย เทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องเทคโนโลยีด้านไอทีก็ช้ามาเมื่อเทียบกับเวียดนามถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการลงทุน เร่งพัฒนาเนชั่นแนล ซิงเกิ้ล วินโดว์ หรือ การผลักดันความสะดวกด้านศุลกากรว่าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว ก็ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนในประเทศไทย

“หากปรับปรุงแก้ไขในสิ่งที่เป็นอุปสรรค ทำให้นักลงทุนเกิดความสบายใจ มีความสะดวกสบาย ในการเข้ามาลงทุน พร้อมเร่งเจราซีพีทีพีพีเพื่อสร้างแรงจูงใจ และดึงดูดนักลงทุน ดังนั้นจำเป็นต้องเร่งรัดเรื่องเหล่านี้และพยายามในการผลักดันหรือส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งการดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานประเทศด้วย”

นายสนั่น กล่าวว่า ไทยกับเวียดนามเป็นประเทศที่น่าลงทุนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ เพียงอยู่ตรงที่ประเทศไทยจะเหมาะสมกับการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ แรงงานขาดแคลน ซึ่งในอนาคตจะเป็นปัญหาใหญ่มากทำให้เสียเปรียบกับเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่กลับมาฟื้นตัวจากผลกระทบโควิดที่ต้องใช้แรงงานถึง 7 แสนคน

 ที่มา กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
26294

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
23329

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
18621

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
16069

แชร์ข่าวสาร

ดีอีเอส เตือนโซเชียลมีเดียเตรียมให้พร้อม กฎหมายข้อมูลส่วนบุค... กระทรวงแรงงาน เร่งช่วยเหลือแรงงานพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

ก.เกษตรเอี่ยวคุมกัญชงกัญชา ผุด “มอก.” เครื่องดื่ม-วัสดุก่อสร้าง...

11 เมษายน 2564
30

โควิด-19 รอบใหม่พ่นพิษให้สงกรานต์ไม่คึกคักอย่างที่คิด พบโรงแรมยกเลิกจอ...

11 เมษายน 2564
31

พาณิชย์ ห่วง “ไข่ไก่-ทุเรียน” ทะลัก ฉุดราคาร่วง...

11 เมษายน 2564
30

โควิดระบาดรอบ 3 ทุบเศรษฐกิจไทยให้โตช้าอีก คนเบามือไม่อยากใช้จ่าย...

08 เมษายน 2564
273

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th