• หน้าแรก
  • คุยกับ CP
  • ข่าวเศรษฐกิจ - ธุรกิจ
  • CP เพื่อสังคมที่ยั่งยืน
  • ข้อเท็จจริง CP
  • แวดวง CP
  • เปิดหน้าต่างมองโลก
  • วิดีโอ
  • วารสารบัวบาน
  • ติดต่อเรา

ธปท. เผยเศรฐกิจไทยเดือน ก.ค. ปรับดีขึ้น จับตาจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ -การระบาด COVID-19 ในประเทศรอบ 2 กระทบเศรษฐกิจปี 64


31 สิงหาคม 2563

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนกรกฎาคม 2563 ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายภาครัฐและการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน มูลค่าการส่งออกสินค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลง อย่างไรก็ดีภาวะการลงทุนยังเปราะบาง สะท้อนจากเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวสูงขึ้น ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวหดตัวสูงต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังคงมีอยู่


โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนหดตัวน้อยลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการใช้จ่ายที่ปรับดีขึ้นในเกือบทุกหมวด โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดเมือง และปัจจัยชั่วคราวที่ในเดือนนี้มีวันหยุดยาวมากกว่าระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการประกาศวันหยุดชดเชยวันสงกรานต์ที่เลื่อนมาจากเดือนเมษายน ประกอบกับสถานการณ์การจ้างงาน รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้นบ้าง ส่งผลให้ประชาชนออกมาเดินทางท่องเที่ยวและใช้จ่ายมากขึ้น

ด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัว 11.9% จากระยะเดียวกันปีก่อน หากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกหดตัวที่ 14.3% โดยเป็นการหดตัวน้อยลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนทั้งที่รวมและไม่รวมการส่งออกทองคำ ตามการส่งออกที่ปรับดีขึ้นในหลายหมวดสินค้า อาทิ หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองในหลายประเทศ ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลงในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้น


สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ตามการลงทุนหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ทั้งการนำเข้าสินค้าทุน ยอดจดทะเบียนรถยนต์ และยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการฟื้นตัว รวมทั้งยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก อีกทั้งเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ดี การลงทุนหมวดก่อสร้างขยายตัวเล็กน้อยจากที่หดตัวในเดือนก่อน ตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น


“ในระยะยาวหาเอาการลงทุนกลับมาไม่ได้คิดว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากหากเราไม่สามารถนำการลงทุนให้กลับมาเป็นบวกได้ การที่ประเทศไทยจะพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางแทบไม่มีเลย”

ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัว 25.4% จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในทุกหมวดสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานการนำเข้าน้ำมันดิบและสินค้าทุนที่ต่ำในปีก่อนหมดลง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่แม้ปรับดีขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ในส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศหดตัวสูงต่อเนื่องที่ 100% จากระยะเดียวกันปีก่อนจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4


ด้านการใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่รวมเงินโอนขยายตัวต่อเนื่องจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายลงทุนที่ขยายตัวสูง จากการเบิกจ่ายของทั้งรัฐบาลกลางและรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ดี รายจ่ายประจำหดตัวเล็กน้อยตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ

สำหรับตลาดแรงงานปรับดีขึ้นบ้างสะท้อนจากจำนวนผู้หยุดงานชั่วคราวตามมาตรา 75 ที่ปรับลดลง สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีภาวะการจ้างงานในภาพรวมยังอ่อนแอ ทั้งนี้ปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการในการจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง ผ่านแพลตฟอร์มที่พัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงแรงงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนช่วยเรื่องการจ้างงานได้บ้าง

“ทิศทางการว่างงานมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามตัวเลขที่ธปท. สนใจไม่ใช่ตัวเลขของผู้ว่างงานอย่าเงดียว โดยวิกฤติโควิดนอกจากกระทบกับตำแหน่งงานแล้ว ยังกระทบกับรายได้ด้วย แรงงานที่รายได้ต่ำกว่าปกติหรือทำงานน้อยกว่าปกติยังมีค่อนข่างเยอะในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความน่าเป็นห่วงไม่แพ้กลุ่มที่ตกงาน เนื่องจาแรงงานบางส่วนอาจะเคยอยู่ได้ด้วยโอที แต่ตอนนี้รายได้ส่วนนี้ลดลงเนื่องจากไม่มีกำลงการผลิต ซึ่งทางรัฐบาลมองว่ากลุ่มนี้เป็นเป้าหมายที่ต้องดูแลเช่นกัน”

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลง ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับสูงขึ้นเป็นสำคัญ จากมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐบางมาตรการที่สิ้นสุดลง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุล ตามดุลการค้าที่เกินดุลสูงขึ้นจากการส่งออกทองคำเป็นสำคัญ ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายใกล้สมดุล


นายดอน กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีความเป็นไปได้ 2 ทาง คือหากดูภาวะเศรษฐกิจรายเดือนในช่วงเดือน มิ.ย.-ก.ค. ในภาพรวมถือว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีกว่าที่ ธปท. ประเมินไว้ อย่างไรก็ตามมองไปข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ทั้งในเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจากที่ธปท. ประมาณการณ์ไว้ในรายงานนโยบายการเงินในเดือน มิ.ย. คาดว่านักท่องเที่ยวทั้งปีจะอยู่ที่ 8 ล้านคน แต่ปัจจุบันตัวเลขที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประเมินไว้คือ 6.7 ล้านคน เมื่อเทียบปับประมาณการณ์ของธปท. จะเห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวหายไป 1.3 ล้านคน ซึ่งจะกระทบจีดีพีประมาณ 0.5% 

นอกจากนี้ยังต้องประเมินความเสี่ยงของการระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศ แม้ในช่วงที่ผ่านมาธปท. จะไม่ได้มองถึงปัจจัยในการระบาดรอบ 2 มากนัก อย่างไรก็ตามสถานกาณณ์ล่าสุดได้มีการระบาดในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งทำให้มีความเสี่ยงของการระบาดรอบ 2 ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยในปีหน้ามีความเสี่ยงที่สำคัญกว่าปีนี้ โดยเฉพาะหากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาไม่ได้ เนื่องจาก ธปท.คาดการณ์ว่าในปีหน้าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 16 ล้านคน ขณะที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคาดไว้ที่ 12 ล้านคน ซึ่งถือว่าต่ำมากแล้ว ทั้งนี้ในภาวะปกติรายได้จากการท่องเที่ยวรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวคิดเป็น 20% ของจีดีพี

โดยในเดือน ก.ย. ธปท. จะมีการประกาศประมานกาณ์เศรษฐกิจรอบใหม่ซึ่งจะมีการปรับลดประมานการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวของปีนี้รวมถึงปรับประมานการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ทั้งนี้ยังต้องติดตามโอกาสการระบาดของ COVID-19 รอบ 2 ในประเทศด้วย

“หากนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาไม่ได้ปีหน้าจะเห็นสถานการณ์ของการที่เศรษฐกิจของต่างประเทศฟื้นแต่ประเทศไทยไม่ฟื้น อย่างไรก็ตามการนำนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยสิ่งสำคัญคือทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเลขของการระบาดของ COVID-19 ที่ไม่ใช่ 0 ราย ซึ่งหลายประเทศที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ไม่ใช่ 0 รายยังสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่หากไทยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดไปเหมือนช่วงที่มีการติดเชื้อที่ จ. ระยองจะกระทบกับเศรษฐกิจค่อนข้างหนัก ดังนั้นต้องหาวิธีที่จะอยู่กับตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 ราย ซึ่งภาครัฐต้องมีวิธีที่จะสร้างความมั่นใจให้ประชาชนด้วย”

 ที่มา การเงินธนาคาร

ข่าวยอดนิยม

ประโยชน์ของข้าวแดง หรือ ข้าวซ้อมมือ...

13 ตุลาคม 2558
36407

อาหารจานด่วน-อาหารขยะ ผลเสียต่อสุขภาพ...

22 กรกฎาคม 2558
33604

เอ็มจี เติบโตต่อเนื่อง ทุ่มงบลงทุนกว่าหมื่นล้าน เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห...

08 ธันวาคม 2560
25329

ซีพี-เมจิ ตอกย้ำภาพเบอร์ 1 ตลาดนมพาสเจอร์ไรซ์ พร้อมยกระดับตลาดโยเกิร์ต...

03 กรกฎาคม 2558
18103

แชร์ข่าวสาร

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีขึ้นเวที “Thailand Busi... นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ ชี้ไทยต้องเน้นภาคการผลิตรับวิถีใหม่...

ข่าวที่น่าสนใจ

อ่านข่าวทั้งหมด อ่านข่าวทั้งหมด

เวิลด์แบงก์เตือนหนี้สูงฉุดแผนฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก...

29 ธันวาคม 2564
11609

บริโภค-ลงทุนเอกชนทยอยฟื้นตัว “สศค.” เผยหนุน ศก.ภูมิภาคพ.ย.ปรับดีขึ้น...

29 ธันวาคม 2564
11800

นายกฯ พอใจศักยภาพส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่อง เร่งพัฒ...

28 ธันวาคม 2564
10390

ครม.ทราบมติ คกก.นโยบายการเงินรัฐ ขยับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไม่เกิ...

28 ธันวาคม 2564
10483

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Copyright 2016.
Privacy Policy | Rules & Regulations

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

  • ความรู้คู่คุณธรรม: www.truepookpanya.com
  • CP-Enews ปี 2013: news.cpfworldwide.com
  • CP-Enews ปี 2012: www.cpthailand.com/enews

ติดต่อเรา

สำนักกิจกรรมสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เลขที่ 18 อาคาร ทรู ทาวเวอร์ ชั้น 25 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310

  • โทรศัพท์ : 02-858-6286 / 02-858-2564 / 02-858-3721-2
  • โทรสาร : 02-858-3726
  • อีเมล์ : prcpgroup@cp.co.th